ดาวน์โหลดแอป

ความเชื่อที่มักเข้าใจผิดในการนอนเตียงเดียวกันกับลูก

มองไปข้างหน้า

ความเชื่อที่มักเข้าใจผิดในการนอนเตียงเดียวกันกับลูก

ดร. เจมส์ แมคเคนนา อาจารย์ภาควิชามนุษวิทยาที่มหาวิทยาลัยโนเทรอดาม และผู้อำนวยการ แลปการนอนหลับสำหรับแม่และเด็ก Mother-Baby Behavioral Sleep Laboratory กล่าวว่าการนอนร่วมเตียงกันอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับครอบครัว

ต่อไปนี้คือเรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการนอนหลับร่วมกับลูก ตามความคิดเห็นของเขา

ความเชื่อที่ 1: การนอนหลับร่วมกับลูกนั้นเป็นสิ่งอันตรายเสมอ
เป็นเรื่องปกติที่คุณจะกลัวการนอนหลับร่วมกับลูก ยิ่งมีหน่วยงานที่เชื่อถือได้อย่างสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาออกมาบอกว่าการให้ลูกนอนหลับร่วมกับพ่อแม่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการทารกเสียชีวิตกระทันหัน(SIDS) ก็ยิ่งดูน่ากลัวขึ้น

แต่ที่จริงแล้วมีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่และลูกจะสามารถนอนหลับร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ทางหนึ่งคือการให้ลูกนอนในห้องนอนด้วยกัน แต่นอนบนเตียงเด็กแยกที่อยู่ข้าง ๆ เตียงของคุณแม่

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีนอนร่วมเตียงกับคุณพ่อคุณแม่ แต่แนะนำให้นอนในเตียงเด็กข้าง ๆ เตียงพ่อแม่ในระยะห่างไม่เกินแขนเอื้อม สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการทารกเสียชีวิตกระทันหันได้

ความเชื่อที่ 2: เพื่อนของคุณพ่อคุณแม่ไม่มีใครทำ
ดร. แมคเคนนากล่าวว่า 80% ของแม่ที่กำลังให้นมลูกนอนหลับร่วมกับลูก เพราะฉะนั้นถ้า ลูกนอนบนเตียงของคุณแม่หรือเตียงข้าง ๆ ก็คงไม่ใช่เด็กคนเดียวที่นอนแบบนี้

ความเชื่อที่ 3: เด็ก ๆ ที่นอนหลับร่วมกับพ่อแม่เป็นเด็กนิสัยไม่ดีที่ถูกตามใจ
ดร. แมคเคนนากล่าวว่าการนอนกับคุณแม่ไม่ได้เกี่ยวกับการถูกตามใจ มันเป็นเรื่องของชีวะวิทยา “ลูกจะสงบเมื่ออยู่ข้างคุณแม่ ไม่ว่าจะนอนหลับกับคุณแม่หรือว่าแค่ถูกคุณแม่อุ้ม” เขากล่าวต่อว่า “เด็กทารกถูกออกแบบมาให้ทำแบบนี้ และมันสำคัญต่อพัฒนาการของเขาด้วย เขาเชื่อใจแม่”

ความเชื่อที่ 4: ถ้าให้ลูกนอนด้วยกัน เขาจะไม่มีวันเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตัวเอง
“งานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่าเด็กที่นอนหลับร่วมกับพ่อแม่จะโตมาเป็นเด็กที่กล้าหาญและพึ่งพาตัวเองได้มากกว่าเด็กที่นอนหลับคนเดียว” ดร. แมคเคนนากล่าว

ความเชื่อที่ 5: การให้ลูกมานอนร่วมห้องจะทำให้ความโรแมนติกระหว่างคุณพ่อกับคุณแม่ลดลง
ดร. แมคเคนนากล่าวว่า “ผู้ที่โยนความผิดให้ลูกหากชีวิตคู่ไม่ราบรื่นกำลังเลี่ยงที่จะพูดถึงปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คุณพ่อคุณแม่หลายคนบอกว่าการที่ให้ลูกนอนร่วมห้องด้วยป็นการบังคับให้พวกเขาต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาพื้นที่ส่วนตัวเพื่อมีเซ็กซ์กัน” แล้วบางทีก็สนุกดีนะ

ความเชื่อที่ 6: ลูกจำเป็นต้องนอนหลับคนเดียว
ห้องนอนที่เงียบสนิทอาจไม่ได้ทำให้เด็กเล็กหรือเด็กทารกหลับสนิทนัก การอยู่ในห้องนอนที่เงียบสนิทไม่ค่อยจะเป็นธรรมชาตินัก ดร. แมคเคนนากล่าวว่า “ลูกต้องการได้ยินเสียง ฟังเสียง และมีปฏิกริยาโต้ตอบกับผู้ดูแล ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่หรือคุณพ่อ” การที่ลูกได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่จะทำให้เขาสบายใจ ถึงแม้ว่าจะได้ยินแค่เสียงกรนก็ตาม

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน