ดาวน์โหลดแอป

คลอดธรรมชาติ มีลำดับขั้นตอนอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง

วันคลอด

คลอดธรรมชาติ มีลำดับขั้นตอนอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง

การคลอดบุตรของคุณแม่เป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ไม่มีการคลอดบุตรครั้งใดที่เหมือนกัน

และไม่มีทางใดที่จะคาดเดาเหตุการณ์ว่าการคลอดของคุณแม่จะเป็นไปอย่างไร อย่างไรก็ตาม คุณแม่สามารถทราบขั้นตอนของกระบวนการคลอดและสิ่งที่สามารถคาดหมายได้โดยทั่วไป

การคลอดธรรมชาติแบ่งได้เป็น 3 ขั้น

ขั้นตอนแรก: เป็นเวลาของการเริ่มต้นของกระบวนการคลอดที่แท้จริง จนกว่าปากมดลูกจะเปิดได้ถึง 10 ซม. ขั้นตอนแรกของการคลอดจะกินระยะเวลายาวนานที่สุดสำหรับคุณแม่ ระยะนี้สามารถกินเวลาประมาณ 6 – 36 ชั่วโมง ทั้งหมดแบ่งเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะการคลอดในช่วงต้น เริ่มตั้งแต่มีอาการเจ็บไปจนกว่าปากมดลูกจะขยายไปถึง 3 ซม. ระยะการคลอดในขั้นต้นจะใช้เวลาประมาณ 8 – 12 ชั่วโมง และการบีบตัวของมดลูกมักไม่รุนแรง แต่จะค่อย ๆ แรงขึ้น และบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30-45 วินาที และคุณแม่อาจมีเวลาพักระหว่างการบีบตัวในแต่ละครั้งตั้งแต่ 5 – 30 นาที
    คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนปวดหลังส่วนล่างคล้ายการปวดประจำเดือน และค่อย ๆ เคลื่อนมาบริเวณอุ้งเชิงกราน ถ้าน้ำคร่ำแตก มีการบีบตัวของมดลูกเป็นจังหวะสม่ำเสมอทุกๆ 5 นาที ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ก็ถึงเวลาที่คุณแม่จะต้องไปโรงพยาบาลแล้ว
  2. ระยะการเริ่มการคลอด การเริ่มการคลอดจะใช้เวลาประมาณ 3 – 5 ชั่วโมง และปากมดลูกจะขยายจาก 4 ซม. เป็น 7 ซม. นับเป็นประมาณ 1 ซม.ต่อชั่วโมง การบีบตัวของมดลูกในระยะนี้จะแรงขึ้นอีก และถี่มากขึ้น จะใช้เวลาประมาณ 45 – 60 วินาที และจะมีเวลาพัก 3 – 5 นาทีในระหว่างนั้น เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอาจเจ็บปวดมาก คุณแม่หลาย ๆ คนจึงขอให้มีการใช้ยาแก้ปวดหรือบล็อคหลังในช่วงนี้
  3. ระยะของการเปลี่ยน นี่เป็นช่วงที่ท้าทายที่สุด และก็ยังเป็นระยะที่สั้นที่สุด การเปลี่ยนถ่ายจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง และปากมดลูกจะขยายตัวจาก 8 ซม. ถึง 10 ซม. การบีบตัวของมดลูกในระยะนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 60 – 90 วินาที และจะมีเวลาพักระหว่าง 30 วินาที ถึง 2 นาที การบีบตัวจะยาวนาน แรงขึ้น และสามารถซ้อนกันได้ คุณแม่อาจจะมีอาการร้อนวูบวาบ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีแก๊ส

ขั้นตอนที่ 2 การเบ่งคลอด และการคลอดบุตร: ระยะที่สอง อาจกินเวลาตั้งแต่ 20 นาที ถึง 2 ชั่วโมง การบีบตัวจะใช้เวลาประมาณ 45 – 90 วินาที และมีช่วงเวลาพักระหว่าง 3 – 5 นาที คุณแม่จะมีแรงเบ่งเองตามสัญชาตญาณ และคุณแม่จะรู้สึกกดดันอย่างหนักที่บริเวณทวารหนัก คุณแม่มีแนวโน้มที่จะมีอาการลำไส้บีบตัว หรือปัสสาวะราดได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการคลอด ศีรษะของลูกจะปรากฏให้เห็น ในระหว่างนั้นคุณแม่อาจจะรู้สึกถึงความแสบร้อน สูติแพทย์อาจจะบอกไม่ให้คุณแม่เบ่งในช่วงนี้

เมื่อปากมดลูกของคุณแม่เปิดเต็มที่ และศีรษะของลูกโผล่ออกมาแล้ว โดยปกติศีรษะและลำตัวของลูกจะหันไปทางหลังของคุณแม่ คือคว่ำลง ขณะที่เขาคลอดออกมา

เมื่อศีรษะของเขาคลอดออกมาแล้ว ศีรษะและลำตัวของลูกจะถูกหันไปทางด้านข้างอีกครั้ง เพื่อให้เขาคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 การคลอดรก: เป็นขั้นตอนที่สั้นที่สุด เวลาที่ใช้ในการคลอดรกของคุณแม่ อาจอยู่ในช่วง 5 – 30 นาที หลังจากคลอดบุตรแล้ว สูติแพทย์จะรอให้เกิดการหดตัวเล็ก ๆ เพื่อเริ่มต้นอีกครั้ง การบีบตัวจะบ่งบอกว่ารกของคุณแม่กำลังจะแยกออกจากผนังมดลูก และพร้อมที่จะคลอดออกมา

สูติแพทย์อาจใช้การบีบนวดลงบริเวณมดลูกของคุณแม่เพื่อผลักดัน และอาจดึงสายสะดือออกมาอย่างนุ่มนวล ผลที่ได้คือการคลอดรก หรือเรียกอีกอย่างว่า การคลอดหลังการคลอดบุตร คุณแม่อาจมีอาการสั่นเล็กน้อยถึงรุนแรงหลังจากที่รกของคุณแม่คลอดออกมา นี่เป็นอาการทั่วไปและไม่ใช่สาเหตุที่ต้องกังวล

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดของการคลอดบุตร สูติแพทย์อาจซ่อมแซมความเสียหายบางอย่างที่เกิดขึ้นที่ช่องคลอดของคุณแม่ จากนั้นคุณแม่จะได้รับการเฝ้าดูอาการอีก 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกยังคงหดตัว และเลือดออกไม่มากนัก

คุณแม่สามารถพบกับบทสัมภาษณ์จากคุณหมอ วรชัย ชื่นชมพูนุท คุณหมอทำคลอดคนเก่งจากโรงพยาบาล BNH เกี่ยวกับการคลอดบุตรได้ที่
วีดีโอการเตรียมการคลอด จากคุณหมอ

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (5 มีนาคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน