ทำไมต้องให้ลูกเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ยังเล็ก และควรเริ่มตอนไหนดี?
สาระจาก THAI StemLife
เมื่อเด็กจมน้ำจะเกิดภาวะขาดอากาศหายใจ โดยการทำงานของหัวใจจะหยุดลงซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สมองขาดออกซิเจน
หากร่างกายขาดออกซิเจนเป็นเวลา 5 นาที เซลล์สมองจะเริ่มตายลงจนเกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกควรรู้ไว้
ทำไมการสอนให้ลูกน้อยว่ายน้ำได้เป็นสิ่งจำเป็น?
การว่ายน้ำเป็นทักษะสำคัญที่เด็ก ๆ ควรมีติดตัวไว้ เพราะการจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย และ 2 ใน 3 ของเด็กที่เสียชีวิตจากการจมน้ำว่ายน้ำไม่เป็น โดยกรมควบคุมโรคเปิดเผยว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2555–2564 มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต รวม 7,374 คน หรือ เฉลี่ยวันละ 2 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กพบว่า เด็กอายุแรกเกิด – 4 ปี และอายุ 5-9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด
โดยอุบัติเหตุจมน้ำนั้นเกิดขึ้นตามแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด รองลงมาคือสระว่ายน้ำและอ่างอาบน้ำ ซึ่งสาเหตุที่เด็กจมน้ำนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งจากการลงไปเล่นน้ำและการเล่นบริเวณใกล้ ๆ แหล่งน้ำจนพลัดตกลงไป ดังนั้น การส่งเสริมทักษะการว่ายน้ำให้แก่เด็กจะเป็นเกราะป้องกันให้แก่ลูกน้อยได้หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น
เริ่มฝึกให้ลูกน้อยว่ายน้ำอย่างไรดี?
คุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปเรียนว่ายน้ำได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิด อย่างไรก็ตาม แพทย์มักแนะนำให้รอจนกว่าทารกมีอายุครบ 6 สัปดาห์ก่อน เนื่องจากภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิดยังไม่แข็งแรงจึงอาจเสี่ยงติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โดยคุณแม่ควรเลือกโรงเรียนสอนว่ายน้ำที่ไม่มีสารคลอรีน มีสระน้ำอุ่น หรือสระว่ายน้ำที่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิของสระว่ายน้ำทั่วไปเย็นเกินไปสำหรับทารก แต่หากจำเป็นต้องลงว่ายในสระปกติ ควรนำเด็กขึ้นจากสระทุก ๆ 10 นาทีเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น
โดยทักษะทางน้ำที่ควรสอนลูกน้อยเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด คือ:
- ลอยตัวในน้ำได้อย่างน้อย 3 นาที เพื่อรอการช่วยเหลือ สาเหตุของการจมน้ำของเด็กนั้นมักเกิดจากการพลาดตกลงไปในน้ำ แต่ไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาเพื่อเข้าฝั่งได้ ดังนั้น การสอนให้ลูกลอยตัวบนผิวน้ำจะข่วยลดโอกาสจมน้ำลงได้
- ว่ายน้ำได้ 15 เมตร เพื่อเป็นทักษะในการว่ายเข้าฝั่ง หากพลัดตกลงไปในน้ำ
- การใช้ชูชีพ การเดินทางทางน้ำก็มีความเสี่ยงที่เด็กจะจมน้ำได้เช่นกันหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ดังนั้น ควรฝึกให้ลูกใส่และถอดชูชีพอย่างถูกวิธี พร้อมเรียนรู้การลอยตัวเมื่อใส่ชูชีพให้ได้
ข้อควรระวังเพื่อป้องกันลูกน้อยจมน้ำ
อุบัติเหตุจมน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่คุณแม่คลาดสายตาจากลูกเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ดังนั้น คุณแม่ควรใส่ใจกับการป้องกันลูกน้อยเป็นพิเศษและดูแลไม่ให้ลูกเล่นน้ำตามลำพัง โดยทำได้ ดังนี้:
- ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เล่นน้ำในสระน้ำตามลำพัง
- สร้างสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น ปิดฝาหรือครอบภาชนะที่บรรจุน้ำไว้ ล้อมรั่วบ่อน้ำ หรือสร้างประตูกั้น
- กำหนดพื้นที่เล่นให้ลูกและใช้คอกกั้นเพื่อไม่ให้ออกไปในจุดอันตรายต่าง ๆ
- สอนให้ลูกว่ายน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อให้มีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอด
ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ?
การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของเด็กจากการจมน้ำ โดยปฏิบัติได้ตามนี้:
- ประเมินสถานการณ์ว่าผู้ช่วยเหลือสามารถช่วยเหลือได้มากแค่ไหน รีบขอความช่วยเหลือกจากหน่วยฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัยของเด็กและผู้ช่วยเหลือ
- เมื่อช่วยเหลือเด็กขึ้นมาจากน้ำแล้ว ควรให้เด็กนอนบนพื้นราบ แห้ง และปลอดภัย แล้วประเมินอาการเพื่อช่วยเหลือต่อไป
- หากเด็กไม่หายใจแต่ยังมีชีพจร ให้ช่วยหายใจ โดยการช่วยหายใจ 1 ครั้ง ทุก 3-5 วินาที และประเมินอาการซ้ำทุก 2 นาที
- กรณีที่พบว่าเด็กไม่มีชีพจรให้ทำ CPR หรือกู้ชีวิต กรณีที่เป็นเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้วางสองนิ้วตรงกลางหน้าอกของทารกแล้วกดลงไปประมาณ 4 ซม. หรือความลึกประมาณ 1/3 ของความหนาของทรวงอก สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ให้วางฝ่ามือลงที่กลางหน้าอกบริเวณกระดูกหน้าอก และกดลงให้ลึกประมาณ 5 ซม. หรือลึกประมาณ 1/3–1/2 ของความหนาของทรวงอก จากนั้นกดหน้าอก 30 ครั้ง ความเร็ว 100–120 ครั้งต่อนาที สลับกับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง โดยประเมินอาการซ้ำทุก 2 นาที
(การทำ CPR สำหรับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี)
(การทำ CPR สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี)
- เมื่อเด็กรู้สึกตัว ให้เด็กนอนตะแคง พร้อมเปิดทางเดินหายใจให้โล่งด้วยการจัดท่าของศีรษะให้คอแหงนเล็กน้อย แล้วรีบนำตัวเด็กส่งโรงพยาบาล
ภาวะบาดเจ็บทางสมองที่เกิดจากการจมน้ำ
ระยะเวลาในการจมน้ำอาจส่งผลให้เด็กมีภาวะบาดเจ็บทางสมอง อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยจาก THAI StemLife พบว่าสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือที่เก็บไว้ตอนแรกเกิดมีประสิทธิภาพช่วยฟื้นฟูอาการหลังจากเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมองได้
อย่างไรก็ตาม โอกาสในการรักษาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือทารกภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ หากคุณแม่ได้เลือกเก็บสเต็มเซลล์ไว้กับ THAI StemLife ธนาคารจะสามารถส่งสเต็มเซลล์ของลูกได้ทันทีภายใน 4 ชั่วโมง เนื่องจากบริษัทให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีสายด่วนสำหรับอุบัติเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
พาร์ทเนอร์ที่มะลิไว้ใจ
THAI StemLife เป็นบริษัทสเต็มเซลล์แห่งแรก และบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นบริษัทเดียวที่มีประสบการณ์ในการนำสเต็มเซลล์ไปใช้ในการช่วยชีวิตในสถานการณ์จริง และยังเป็นบริษัทเดียวที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมองในเหตุฉุกเฉิน