ดาวน์โหลดแอป

ความเสี่ยง 11 ข้อของทารกที่คลอดก่อนกำหนด

เกร็ดความรู้

ความเสี่ยง 11 ข้อของทารกที่คลอดก่อนกำหนด

หากทารกคลอดก่อนกำหนด อาจมีความเสี่ยงหลายข้อด้วยกัน

สำหรับพ่อแม่ การคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะทารกมักต้องการการดูแลเป็นพิเศษ

การคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนด เกิดขึ้นเมื่อทารกคลอดก่อนเข้าสู่สัปดาห์ที่ 38 ของการตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีระบบอวัยวะที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ความเสี่ยงหลายอย่าง อาจมีปัญหาด้านพัฒนาการ รวมไปถึงความผิดปกติถาวรและเสียชีวิต ยิ่งทารกเกิดมาก่อนกำหนดเร็วเท่าไร ความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น 

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีขนาดตัวเล็ก มีสัดส่วนศีรษะใหญ่ มักมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ไขมันน้อย และอาจยังมีขนลานูโกปกคลุมอยู่ทั่วร่างกาย 

ความเสี่ยงระยะสั้น 11 ข้อของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงระยะสั้นดังนี้ 

  1. ปัญหาในการหายใจ : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีระบบทางเดินหายใจที่ยังไม่สมบูรณ์​ ปอดของทารกจะมีสารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ สารลดแรงตึงผิวจะช่วยป้องกันไม่ให้ปอดยุบตัวขณะที่หายใจออก ดังนั้นทารกเหล่านี้อาจมีภาวะหายใจลำบาก ทารกคลอดก่อนกำหนดบางคนก็มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวด้วย
  2. โรคปอดเรื้อรังในเด็ก (Bronchopulmonary dysplasia) : เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด ถึงแม้ว่าทารกส่วนใหญ่จะหายเองได้ แต่บางคนก็มีปัญหาในการหายใจในระยะยาว
  3. โรคหัวใจ : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกินเนื่องจากเส้นเลือดในช่วงที่เป็นทารกในครรภ์ยังไม่ปิด (patent ductus arteriosus หรือ PDA) และความดันในเลือดต่ำ
  4. ปัญหาทางสมอง : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงเกิดเลือดออกในโพรงสมองมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและแก้ไขได้โดยไม่มีผลเสียระยะยาว แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงและทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองแบบถาวร
  5. ปัญหาในการควบคุมอุณหภูมิ : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีไขมันไม่เพียงพอ และไม่สามารถสร้างพลังงานเพื่อทดแทนความร้อนที่ระบายออกไปทางผิวหนังได้ พวกเขาจึงสูญเสียความร้อนได้อย่างรวดเร็ว
  6. อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ : อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อทารกมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิแกนกลางร่างกายต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการหายใจในทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
  7. ปัญหาด้านระบบทางเดินอาหาร : เด็กทารกแรกเกิดบางคนยังมีระบบทางเดินอาหารที่พัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (necrotizing enterocolitis หรือ NEC)
  8. โรคโลหิตจาง : ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง เพราะจะใช้เวลานานกว่าปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง ปัญหานี้อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็กหรือสารอาหารอื่น ๆ การติดเชื้อ หรือปัญหาในเซลล์ที่สร้างเม็ดเลือด 
  9. ภาวะตัวเหลือง : ภาวะตัวเหลือง และตาเหลืองในทารกเกิดจากสารบิลิรูบิน(bilirubin) ปริมาณมากกว่าปกติ สารนี้เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งภาวะตัวเหลืองจะพบมากในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
  10. ปัญหาด้านระบบเผาผลาญ : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาในระบบเผาผลาญ และอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้ 
  11. ปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน : ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักมีภูมิคุ้มกันโรคที่ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น

ความเสี่ยงระยะยาวในทารกที่คลอดก่อนกำหนด
นอกเหนือจากความเสี่ยงระยะสั้นแล้ว ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวดังนี้

ผลกระทบของการคลอดก่อนกำหนดต่อคุณแม่และครอบครัว
การคลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่ และสมาชิกในครอบครัว คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความรู้สึกทางลบต่อลูกในช่วงแรก ๆ หลังคลอด ทำให้มีความเสี่ยงที่สุขภาพจะแย่ลง เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและวิตกกังวล

สำหรับครอบครัว ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะต้องการการดูแลทางการแพทย์เป็นพิเศษ ซึ่งอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น และทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวที่มีทรัพยากรไม่เพียงพอ ทางหนึ่งในการลดค่าใช้จ่ายคือการตรวจสอบค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของทางโรงพยาบาล เช่นตรวจสอบค่าใช้จ่ายสำหรับการให้ทารกเข้าตู้อบในแต่ละวัน โดยทั่วไปแล้วโรงพยาบาลรัฐจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเอกชน แต่การย้ายโรงพยาบาลหลังคลอดก็อาจทำได้ยาก ดังนั้นคุณอาจหาทางเลือกสำรองไว้ก่อนในกรณีที่ต้องคลอดก่อนกำหนด 

ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
โดยทั่วไปแล้วไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีปัจจัยบางประการที่ทำให้คุณแม่หลายคนคลอดก่อนกำหนดได้ ตัวอย่างมีดังนี้ 

วิธีป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีวิธีหลายอย่างที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อลดโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนดในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง

หากคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด ควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้ให้บริการทางการแพทย์ หากมีภาวะปากมดลูกสั้น การเย็บผูกปากมดลูกก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก

 

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (1 มิถุนายน 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน