ดาวน์โหลดแอป

6 ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่มีความดันโลหิตสูง

เกร็ดความรู้

6 ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากคุณแม่มีความดันโลหิตสูง

การดูแลความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 

หากคุณแม่มีความดันโลหิตสูง ควรควบคุมให้พอดีเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

วิธีวัดค่าความดันโลหิต
คุณแม่สามารถวัดความดันโลหิตได้ง่าย ๆ ด้วยเครื่องวัดความดันอัตโนมัติ โดยสามารถสวมใส่บนข้อมือ หรือสวมที่แขนเพื่อวัดความดันทุกวัน 

การความดันปกติ คือความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวต่ำกว่า 120 mmHg (มิลลิเมตรปรอท) และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวต่ำกว่า 80 mmHg โดยความดันโลหิตสูงมี 3 ระดับดังนี้ 

ถึงแม้คุณแม่จะไม่เคยมีความดันโลหิตสูงมาก่อนการตั้งครรภ์ แต่สถานพยาบาลก็มักวัดความดันโลหิตให้ทุกครั้งที่มีนัดฝากครรภ์ หากความดันโลหิตมีค่าเท่ากับ 140/90 mmHg หรือมากกว่าจากการวัดสองครั้ง (แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง) โดยมีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ จะถูกจัดว่าเป็นภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (gestational hypertension) หากมีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าอวัยวะถูกทำลาย เช่นมีโปรตีนปนอยู่ในปัสสาวะ (ปัญหาเกี่ยวกับไต) จะถือว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ หากคุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงก่อน 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จะเรียกว่าเป็นภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดก่อนการตั้งครรภ์ 

ทำไมความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัญหาขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์จะทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งต่อคุณแม่และทารก ตัวอย่างมีดังนี้

  1. ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังรกได้น้อยลง : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เลือดที่ไหลเวียนไปยังรกมีปริมาณลดลง หากมีภาวะนี้เกิดขึ้น ลูกน้อยอาจได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ทารกเติบโตช้าหรือที่เรียกว่า ภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์และทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา
  2. น้ำหนักแรกเกิดน้อย : เมื่อเลือดไหลเวียนไปยังรกได้น้อย ทารกจะขาดออกซิเจนและสารอาหาร เกิดภาวะทารกเติบโตช้าในครรภ์และในที่สุดก็เกิดมามีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
  3. ความเสียหายต่ออวัยวะภายในอื่น ๆ ของคุณแม่ : หากไม่ได้คุมความดันโลหิต อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น สมอง, ปอด, ไต, ตับ และอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 
  4. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด : ภาวะครรภ์เป็นพิษจะเพิ่มความเสี่ยงเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งเป็นภาวะที่รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกก่อนการคลอด หากเป็นรุนแรงจะทำให้เสียเลือดมาก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทั้งแม่และลูกได้
  5. การคลอดก่อนกำหนด : ในบางสถานการณ์ก็จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
  6. ความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ : ภาวะครรภ์เป็นพิษจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจของคุณแม่ หากคุณแม่เคยมีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเคยคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากความดันโลหิตสูงหลายครั้ง ก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้นในอนาคต

วิธีลดความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูง
คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาได้ดังนี้

การคลอด และการให้นมบุตรในคุณแม่ที่มีความดันโลหิตสูง

หากคุณแม่ต้องทานยาเพื่อคุมความดันโลหิตสูงตลอดการตั้งครรภ์ ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ว่าควรใช้ยาต่อหรือไม่ในช่วงการคลอดและหลังคลอด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้ทานยาต่อ สำหรับความดันโลหิตสูงที่ไม่รุนแรงถึงปานกลางสามารถคลอดธรรมชาติได้ แต่ในกรณีที่รุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด

คุณแม่ที่มีความดันโลหิตสูงสามารถให้นมลูกได้ ถึงแม้จะอยู่ระหว่างทานยา แต่แพทย์อาจทำการปรับยาตามความเหมาะสม 

 

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (1 มิถุนายน 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน