คู่มือการจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
สาระจาก THAI StemLife

ทันทีที่ลูกเริ่มพลิกตัวจากหงายไปคว่ำได้ การจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับทารกจะเป็นเรื่องสำคัญมาก เด็กทารกที่คลานได้จะเริ่มสำรวจสิ่งรอบ ๆ ตัว และเขาก็จะสนใจทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับคุณที่จะทำให้พื้นที่ในบ้านปลอดภัย
บ้านจะเป็นอันตรายต่อทารกได้แค่ไหน?
อุบัติเหตุนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของเด็กอายุ 1 – 14 ปี และ 1 ใน 3 ของอุบัติเหตุมักเกิดภายในบ้าน ผู้รอดชีวิตมากมายรอดมาพร้อมกับภาวะพิการตลอดชีวิตหรือเกิดความเสียหายต่อสมอง กรณีที่เกิดบ่อยที่สุดสำหรับเด็ก ๆ คือการตกจากที่สูง ซึ่งนับเป็น 4 ใน 10 ของอุบัติเหตุทั้งหมด
คุณจะปกป้องลูกได้อย่างไร?
สำหรับเด็กเล็ก สภาพแวดล้อมในบ้านมีความเสี่ยงตลอดเวลา อุบัติเหตุที่เกิดบ่อยคือการถูกของมีคมบาด ได้รับสารพิษ ของติดคอ ไฟฟ้าช็อต การตกจากที่สูง จมน้ำ และโดนไฟลวก อุบัติเหตุร้ายแรงหลายชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ใหญ่และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
จะทำบ้านให้ปลอดภัยได้อย่างไร?
ควรเริ่มจากลงไปนอนที่พื้นเพื่อมองโลกจากระดับสายตาของลูก จากนั้นลองพยายามสำรวจซอกมุมต่าง ๆ ของบ้านและใส่ใจกับบริเวณเหล่านี้เป็นพิเศษ:
- ห้องน้ำ: โถสุขภัณฑ์และอ่างอาบน้ำอาจเป็นอันตรายได้ คุณอาจติดเครื่องป้องกันที่ชักโครกเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกหล่นลงไป หากพื้นห้องน้ำลื่นคุณอาจหาที่ปูพื้นสำหรับห้องน้ำมาวางไว้
- บันไดและระเบียง: เมื่อลูกเริ่มคลานและเดิน บันไดอาจดูเป็นการผจญภัยครั้งใหญ่ ควรคอยกันให้ลูกอยู่ห่างจากบริเวณที่อันตรายและดูแลลูกน้อยตลอดเวลา
- สายไฟและปลั๊กไฟ: ทารกชอบเคี้ยวสายไฟและเอามือแหย่ปลั๊กไฟ ดังนั้นควรปิดสายไฟหรือติดเทปให้ดี และใช้ที่ปิดปลั๊กไฟเพื่อความปลอดภัย
- เฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมคม: ทารกที่กำลังหัดเดินอาจสะดุดไปโดนมุมแหลมของตู้กระจกหรือโต๊ะเหล็กได้ จึงควรใช้ที่ป้องกันแบบโฟมเพื่อครอบบริเวณขอบทั้งหมด
- ดูแลหน้าต่างให้ปลอดภัย: หากคุณอาศัยในคอนโดมิเนียม หรือชั้นบนของบ้านควรดูหน้าต่างให้ดีว่ามีช่องว่างที่อันตรายหรือไม่ บางครั้งอาจต้องเปลี่ยนหน้าต่างหรือติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม
- สารทำความสะอาด ยา และสารเคมี: สารทำความสะอาด ยา และสารเคมีต่าง ๆ อาจเป็นอันตรายมาก ไม่ควรให้ทารกเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้
- แหล่งน้ำ: ปิดภาชนะและแหล่งต่าง ๆ ที่มีน้ำในบ้านที่ขนาดใหญ่พอที่หัวของเด็กจะจมลงไปได้ให้หมด
ควรทำอย่างไรเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน?
ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินในบ้าน พยายามตั้งสติและทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ประเมินอาการบาดเจ็บ
- หากอาการรุนแรงให้เรียกรถพยาบาลทันที
- หากจำเป็นให้ทำการปฐมพยาบาลหรือทำ CPR
- ในกรณีที่มีการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง และคุณได้เก็บสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือทารกของลูกไว้ ให้ติดต่อผู้ให้บริการทันที
การจมน้ำ การตกจากที่สูง หรือการกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะทุกชนิดอาจทำให้เกิดภาวะบาดเจ็บทางสมอง (traumatic brain injury หรือ TBI) ได้
ภาวะบาดเจ็บทางสมองคืออะไร
ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (traumatic brain injury หรือ TBI) คือการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ภาวะบาดเจ็บทางสมองเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและภาวะพิการ ในกรณีที่รุนแรงแพทย์จะทำการรักษาโดยทำการผ่าตัดด่วนเพื่อหยุดการไหลของเลือดภายในสมองหรือเพื่อลดแรงดันจากอาการบวม
การรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมองด้วยสเต็มเซลล์
ในปัจจุบันมีวิธีการรักษารูปแบบใหม่สำหรับภาวะบาดเจ็บทางสมอง โดยใช้สเต็มเซลล์ในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ประสาท ที่ผ่านมาการรักษาด้วยสเต็มเซลล์สามารถช่วยฟื้นฟูอาการหลังจากเกิดภาวะบาดเจ็บทางสมองได้
อย่างไรก็ตามโอกาสในการรักษาด้วยวิธีนี้มีเวลาจำกัด โดยจะต้องใช้สเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือทารกภายใน 48 ชั่วโมง หากคุณได้ทำการเก็บสเต็มเซลล์ไว้กับ THAI StemLife ธนาคารจะสามารถส่งสเต็มเซลล์ของลูกไปยังห้อง ICU ในพื้นที่ได้ภายใน 4 ชั่วโมง เนื่องจากบริษัทให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และมีสายด่วนเพื่ออุบัติเหตุรูปแบบนี้โดยเฉพาะ ทำให้ลดโอกาสเกิดการสูญเสียได้มากขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ได้เก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือ สามารถใช้สเต็มเซลล์จากไขกระดูกมาช่วยในการรักษาได้เช่นกัน หากนำมาใช้อย่างทันท่วงที คุณสามารถติดต่อสายด่วนของTHAI StemLife ได้ที่เบอร์ +6681 340 7676
พาร์ทเนอร์ที่มะลิไว้ใจ
THAI StemLife เป็นบริษัทสเต็มเซลล์แห่งแรก และบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นบริษัทเดียวที่มีประสบการณ์ในการนำสเต็มเซลล์ไปใช้ในการช่วยชีวิตในสถานการณ์จริง และยังเป็นบริษัทเดียวที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับการรักษาภาวะบาดเจ็บทางสมองในเหตุฉุกเฉิน