ดาวน์โหลดแอป

อารมณ์หลังคลอด ภาวะอารมณ์แปรปรวนที่คุณแม่อาจพบได้หลังคลอดบุตร

เกร็ดความรู้

อารมณ์หลังคลอด ภาวะอารมณ์แปรปรวนที่คุณแม่อาจพบได้หลังคลอดบุตร

แน่นอนว่าคุณแม่กำลังตื่นเต้นและรอคอยวันดี ๆ ที่จะได้เจอหน้าลูก แต่สิ่งหนึ่งที่อาจยังไม่มีใครกล้าเตือนคุณแม่ไว้ก่อน คืออาการอารมณ์แปรปรวน หรืออารมณ์แปลก ๆ ที่คุณแม่หลายคนได้พบเจอ
ซึ่งอาจรวมไปถึงภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวล เป็นอาการที่ปกติคุณแม่หลาย ๆ คนจะได้ประสบหลังคลอด ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้เคยพูดถึงอาการ Baby Blues กันมาบ้างแล้ว แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงอีกสองอาการที่จะเกิดได้หลังคลอด

Baby Blues
อาการ Baby Blues หรือภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณแม่ทั่วไปถึง 80% จึงเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ค่อนข้างธรรมดาสำหรับคุณแม่ที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลง สามารถเริ่มต้นได้ในทันทีหลังคลอดไปจนถึง 2 สัปดาห์แรก อาการรวมไปถึงอารมณแปรปรวน ร้องให้ง่าย เหนื่อย มีปัญหาการนอน และวิตกกังวล แต่อาการเหล่านี้จะสามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากมีอาการเกิน 2 สัปดาห์ไปแล้วยังไม่หายหรือน้อยลง นั่นแปลว่าคุณแม่อาจกำลังเผชิญอยู่กับโรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum Depression Disorder

Postpartum Depression
โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับคุณแม่ประมาณ 10% จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด อาการของโรคนั้นคล้ายกับอาการของโรคซึมเศร้า ซึ่งรวมไปถึง อารมณ์เศร้า ท้อแท้ รู้สึกไม่มีค่า รู้สึกผิด แยกตัว ไม่มีพลังงาน มีความวิตกกังวล นอนไม่หลับและมีรูปแบบการกินที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจดูคล้ายกับอาการ Baby Blues แต่จะอยู่ในรูปแบบที่รุนแรงกว่า และยาวนานกว่า โดยอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรือไม่สามารถที่จะมีสัมพันธ์ที่ดีกับลูกได้ ไปจนถึงรู้สึกไม่ดีกับลูก
อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้าหลังคลอดนั้นสามารถรักษาได้ด้วยการรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ควบคู่ไปกับการใช้ยา

สาเหตุของโรค
คาดว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน estrogen และ progesterone ที่ลดลงอย่างรวดเร็วถึง 10 เท่าในช่วงสามวันหลังคลอด รวมไปถึงความเจ็บปวดทางร่างกายจากการคลอดบุตร และบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่

ความเสี่ยงของโรค
หนึ่งในความเสี่ยงที่ชัดเจนที่สุด คือประวัติการมีโรคซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ในครรภ์ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีโอกาสจะกลับมาเป็นซ้ำอยู่ที่ 30-50% รวมไปถึงประวัติการเป็นโรคซึมเศร้า หรือประวัติโรคทางจิตเวชของครอบครัว ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับคุณแม่ได้เช่นกัน

นอกจากนี้อาการอารมณ์แปรปรวนอย่างชัดเจนในช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือน (PMS) หรือ ภาวะซึมเศร้าช่วงก่อนมีประจำเดือน (PMDD) ที่เห็นได้ชัดในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ก็เป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้

Postpartum psychosis
อาการทางจิตเวชที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลันในช่วงหลังคลอด ภายในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ โดยอาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ระหว่างอาการตื่นตัว กระฉับกระเฉงอย่างผิดปกติ (mania) กับภาวะซึมเศร้า อาการประสาทหลอน หลงผิด มีความคิดทำร้ายตัวเอง รวมไปถึงความคิดอยากทำร้ายลูก หรือไม่สามารถรับรู้ได้ว่าลูกเป็นลูกของตนเอง โดยโรค Postpartum psychosis เกิดขึ้นได้กับคุณแม่เพียง 0.1% เท่านั้น และเมื่อมีความสงสัยว่าเกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวแล้ว ควรพบแพทย์ทันที

สาเหตุของโรค
สาเหตุของโรค Postpartum psychosis คาดว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยถ้าหากคุณแม่มีประวัติการวินิจฉัยโรค bipolar disorder, schizophrenia, schizoaffective disorder หรือโรคจิตเภทอื่น หรือมีคุณแม่ หรือพี่สาวที่เคยเป็น โรค Postpartum psychosis มาแล้ว ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคเพิ่มขึ้นถึง 25-50%

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (5 มกราคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน