ดาวน์โหลดแอป

โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกในคุณแม่ตั้งครรภ์

เกร็ดความรู้

โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกในคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy เป็นอาการอัมพาตที่ใบหน้าครึ่งเดียว ซึ่งหาพบได้ยาก และมักเกิดกับคุณแม่ไม่นานหลังการคลอด

โรคนี้อาจเกิดในช่วงท้ายของไตรมาสที่สาม หรือหลังการคลอดทันที

โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกคืออะไร
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก คืออาการที่กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรงเป็นช่วง ๆ หรือเป็นอัมพาต โดยจะเกิดขึ้นฉับพลันและอาการจะแย่ลงใน 48 ชั่วโมง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและไม่สบายตัว โรคนี้ตั้งชื่อตามเซอร์ ชาร์ลส์ เบลล์ แพทย์ผ่าตัดในยุคศตวรรษที่ 19 จากสกอตแลนด์ซึ่งเป็นผู้เริ่มเชื่อมโยงอาการนี้กับความเสียหายที่เส้นประสาทบนใบหน้า 

สาเหตุของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
อาการของโรคเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่มาเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้าปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ชัดเจน แต่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่, เริม, อาการหวัดทั่วไป, การติดเชื้อในลำคอ, โรคเบาหวาน, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, ความดันในเลือดสูงเรื้อรัง, โรคอ้วน และความเครียดเรื้อรัง

ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมีโอกาสเกิดกับผู้ชายและผู้หญิงเท่า ๆ กัน แต่พบน้อยมากก่อนอายุ 15 ปี หรือหลังจากอายุ 60 ปี ในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ การศึกษาพบว่าโรคนี้มักเกิดในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์มากที่สุด โดยมักเกิดในไตรมาสที่สาม หรือภายใน 7 วันหลังคลอดบุตร 

สาเหตุของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกในคุณแม่ตั้งครรภ์
สาเหตุของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าทั้งหมด แต่สิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน 

อย่างไรก็ตาม โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมักเกิดในสถานการณ์ต่อไปนี้

การติดเชื้อโรคเริมบริเวณขมับหลังหู : ความเครียดของร่างกายขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ไวรัสโรคเริมกำเริบ ไวรัสนี้อาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทที่ใบหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตได้

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน : โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมักเกิดในคนที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่นโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่ 

ภาวะครรภ์เป็นพิษ : อาการของโรคมักถูกใช้เพื่อทำนายอาการครรภ์เป็นพิษโดยจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษหรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มากขึ้นถึง 5 เท่า

กลุ่มอาการ HELLP : เป็นภาวะที่ค่าเอนไซม์ของตับผิดปกติ และเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอาการที่มีความเชื่อมโยงกับโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ปัจจัยอื่น ๆ มีดังนี้ 

สัญญาณ และอาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
อาการที่พบได้บ่อย และสัญญาณการเกิดโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกมีดังนี้

วิธีวินิจฉัยโรค
แพทย์จะเริ่มโดยการตรวจสอบอาการทั่วไป จากนั้นจะทดสอบการได้ยินเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถได้ยินและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ รวมถึงตรวจสอบเสียงอื้อในหู นอกจากนี้แพทย์จะทดสอบการทรงตัว เพื่อดูว่ามีอาการมึนหัวมากแค่ไหน 

จากนั้นแพทย์อาจตรวจสอบการผลิตน้ำตา ตรวจจมูกและคอเพื่อหาสัญญาณของการติดเชื้อ ตรวจปัญหาในการรับประทานอาหารและดื่มน้ำ แพทย์จะตรวจหาผื่นบริเวณหู และบริเวณหนังศีรษะด้วย

ไม่มีการทดสอบพิเศษที่ใช้เพื่อตรวจโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกโดยตรง อย่างไรก็ตามเพื่อตัดความเป็นไปได้ในการเป็นโรคอื่น ๆ ออกไป และเพื่อการวินิฉัยว่าเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาท แพทย์อาจให้ทำการทดสอบต่อไปนี้เพิ่มเติม

วิธีรักษาโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกในคุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่กำลังให้นม
ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะไม่รุนแรงและไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพราะอาการจะหายไปได้ในเองภายใน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน ในบางกรณีอาจต้องใช้ยากันตาแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดวงตาแห้งตอนกลางคืนหรือตอนทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ คนไข้อาจได้รับยาหยอดตาเพื่อใช้ในเวลากลางวัน หรือใช้ยาป้ายตาช่วงกลางคืน ยาจะช่วยไม่ให้กระจกตาเป็นแผล ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการจัดการโรคนี้

การรักษาแบบอื่น ๆ ได้แก่การให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ และการทำกายภาพบำบัดเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทที่ใบหน้าและป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตหดตัว ในบางกรณีที่อาการหนักมากซึ่งหาพบได้ยาก แพทย์อาจต้องผ่าตัดเส้นประสาทที่ใบหน้าก่อนการคลอด นอกจากนี้การพักผ่อน ทานวิตามินรวม ฝังเข็ม การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือการฝึกแบบไบโอฟีดแบ็ก (biofeedback training) ก็อาจช่วยได้เช่นกัน

การรักษาอื่น ๆ โดยทั่วไปเช่นการใช้สเตียรอยด์ prednisolone ในขนาดที่แพทย์สั่ง ติดต่อกัน 5 วันช่วยให้หายได้เร็วขึ้น สำหรับการให้ยาต้านไวรัสอาจต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไปตามความจำเป็น

เมื่อใดที่ควรติดต่อแพทย์
หลังได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วอาการของโรคมักดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามอาการอาจเป็นอยู่ถึง 3-6 เดือนก่อนจะกลับเป็นปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการแย่ลงกว่าเดิม

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (1 มิถุนายน 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน