ชั่วโมงแรกหลังคลอดของทารก เวลาสำคัญของแม่และลูก
วันคลอด
ในบางวัฒนธรรมจะนิยมแยกคุณแม่และลูกน้อยออกจากกันทันทีหลังคลอด เพื่อทำความสะอาด ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง
ทำให้ทารกส่วนใหญ่ไม่มีเวลาที่จะได้รับการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรงจากมารดาหลังคลอด
เนื่องจากการทำความสะอาด การชั่งน้ำหนัก และการวัดส่วนสูงหลังคลอดนั้น ไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อลูก จึงไม่มีเหตุผลว่าทำไมจึงไม่สามารถเลื่อนออกไปได้ เพื่อให้คุณแม่ได้ใช้ช่วงเวลาที่สำคัญนี้กับลูกในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
อะไรคือการให้เวลาคุณแม่และลูกน้อยในชั่วโมงแรกหลังคลอด
คือการที่เมื่อลูกคลอดออกมาและวางลงบนหน้าท้องของคุณแม่ทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดก่อน เพียงใช้ผ้าห่มคลุมไว้ทั้งคุณแม่และลูก ขั้นตอนนี้จะทำให้การผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีนของคุณแม่ลดลง และช่วยในการผลิตฮอร์โมน Oxytocin และ Prolactin ซึ่งส่งเสริมการสร้างพันธะและการให้นมบุตร และยังมีประโยชน์อีก 4 ประการดังต่อไปนี้
ประโยชน์ของการให้เวลาคุณแม่และลูกน้อยในชั่วโมงแรกหลังคลอด
- การเริ่มต้นการให้นมบุตร เมื่อลูกได้สัมผัสกับผิวหนังของคุณแม่ เขาจะพยายามเคลื่อนตัวไปที่หน้าอก และดูดนมได้เอง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ‘breast crawl’ สัญชาตญาณของทารกจะเป็นไปตามการปล่อยฮอร์โมน Oxytocin และฮอร์โมนอื่น ๆ จากคุณแม่ และมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย
- กฎระเบียบของระบบร่างกาย ทารกที่ได้สัมผัสกับผิวหนังของมารดาเป็นเวลา 1 ชั่วโมงทันทีหลังคลอด จะสามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และการหายใจได้ดีขึ้น
- ชะลอการตัดสายสะดือ โรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ส่งเสริมการให้เวลากับคุณแม่ และลูกน้อยใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มักปล่อยสายสะดือไว้ในขณะที่คุณแม่และลูกยังสัมผัสกัน ซึ่งช่วยให้ทารกได้รับออกซิเจนที่ยังคงผ่านมาสายสะดือ ในขณะที่ปรับตัวสำหรับการหายใจผ่านปอดของเขาเอง
- ลดความเครียดของทารก ทารกเกิดใหม่นั้น พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ ทารกแรกเกิดที่ยังไม่ได้รับการปฏิบัติตามขั้นตอนทางการแพทย์ จะตื่นตัว มองเข้าไปในดวงตาของคุณแม่ รับรู้ถึงกลิ่นและเสียงแม่ เมื่อทารกถูกแยกออกจากแม่ เขาอาจกลัว หรือร้องไห้เสียงดังเพื่อประท้วง
เรื่องปกติในโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน
โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศเยอรมนี และสหราชอาณาจักรได้โปรโมตขั้นตอนนี้แล้ว และประเทศไทยก็เริ่มมีโรงพยาบาลที่ทันสมัยหลาย ๆ แห่งกำลังเริ่มทำด้วยเช่นกัน
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (6 มีนาคม 2019)