ดาวน์โหลดแอป

ส่วนประกอบของนมแม่ ในแต่ละช่วงเวลาต่างกันอย่างไร

มองไปข้างหน้า

ส่วนประกอบของนมแม่ ในแต่ละช่วงเวลาต่างกันอย่างไร

นมแม่นั้นผลิตโดยธรรมชาติจากผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร และให้คุณค่าทางอาหารที่จำเป็นต่อเด็กแรกเกิดในช่วงหลายเดือนแรกของชีวิต

นมแม่แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ หัวน้ำนม นมน้ำใส และนมน้ำขาว

หัวน้ำนม (Colostrum): หัวน้ำนม หรือบางครั้งเรียกว่านมน้ำเหลือง เป็นนมระยะแรกของน้ำนมแม่ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์และจะมีไปจนถึง 2-3 วันหลังคลอด มีสีออกเหลืองหรือครีม และข้นกว่าน้ำนมที่จะผลิตออกมาช่วงหลังในการเลี้ยงลูกด้วยนม

หัวน้ำนมนั้นให้โปรตีนสูง และยังมีวิตามินจำพวกที่ละลายในไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งอิมมูโนโกลบูลินนี้คือภูมิต้านทานที่ส่งผ่านจากแม่ไปสู่ลูก และจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแบบรับมาให้กับลูกน้อย ภูมิคุ้มกันแบบรับมานี้จะช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้หลากหลายชนิด หลังคลอด 2-4 วันหัวน้ำนมจะหมดไปและนมน้ำใสจะมาแทนที่

นมน้ำใส (Transitional milk): นมน้ำใสจะเกิดขึ้นหลังจากหัวน้ำนมหมดไป และจะมีอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ในนมน้ำใสนี้จะประกอบไปด้วย ไขมัน น้ำตาลแลคโตส วิตามินจำพวกที่ละลายในน้ำ และให้พลังงานมากกว่าหัวน้ำนม

นมน้ำขาว: นมน้ำขาวเป็นนมระยะสุดท้ายที่คุณแม่จะผลิตได้ ประกอบไปด้วยน้ำ 90% ซึ่งจำเป็นในการป้องกันการขาดน้ำในทารก ส่วนอีก 10% นั้นประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้พลังงานสำหรับทารก

นมน้ำขาวมี 2 ส่วนคือ
นมส่วนหน้า: นมส่วนนี้จะออกมาในช่วงต้นของการให้นม และจะประกอบไปด้วย น้ำ วิตามิน และโปรตีน

นมส่วนหลัง: นมส่วนหลังจะออกมาหลังจากนมส่วนหน้า ประกอบไปด้วยไขมันในปริมาณสูงซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มน้ำหนักของทารก

ทั้งนมส่วนหน้าและนมส่วนหลังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการให้นมบุตร เพื่อให้แน่ใจว่าทารกได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างถูกต้องสมวัย

รับรองโดย:

นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (6 มีนาคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน