การฆ่าเชื้อขวดนมของลูกน้อย
มองไปข้างหน้า

ในขวบปีแรก ระบบภูมิคุ้มกันของ{{ NAME}}ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ และเขาก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้
การฆ่าเชื้อ คือกระบวนการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตราย ซึ่งอาจติดอยู่กับพื้นผิวของขวดนม และอุปกรณ์อื่น ๆ สิ่งสำคัญคือควรฆ่าเชื้อขวดนมของลูกก่อนใช้ทุกครั้ง อย่างน้อยภายใน 12 เดือนแรกของเขา ซึ่งต้องทำไม่ว่าคุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือนมผงก็ตาม วิธีนี้จะช่วยป้องกันลูกจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการท้องร่วงและอาเจียน
ก่อนฆ่าเชื้อต้องทำอย่างไร
- ควรทำความสะอาดขวดน้ำนม จุกนม และอุปกรณ์ให้อาหารอื่น ๆ ล้างด้วยน้ำสบู่ร้อนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังให้อาหาร และตรวจดูให้แน่ใจว่าได้กำจัดสิ่งสกปรกหรือนมที่เหลืออยู่ภายในขวดสะอาดดีแล้ว
- ใช้แปรงล้างขวด (ใช้แปรงนี้เฉพาะสำหรับทำความสะอาดขวดเท่านั้น) และใช้แปรงขนาดเล็กเพื่อทำความสะอาดด้านในของจุกนม นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถกลับด้านในของจุกนมออกมาทำความสะอาดและล้างด้วยน้ำสบู่ร้อน
วิธีการฆ่าเชื้อโรค
มีหลายวิธีการในการฆ่าเชื้อขวดนม จุกนม และอุปกรณ์ให้อาหารอื่น ๆ และนี่คือ 2 วิธีที่มักใช้กัน
- การฆ่าเชื้อโดยการต้มในน้ำเดือดในหม้อทั่วไป หากคุณแม่ใช้วิธีการฆ่าเชื้อโดยต้มในน้ำเดือด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ต้มอุปกรณ์ให้อาหารทุกชิ้นในน้ำเดือดอย่างน้อย 10 นาที และดูให้แน่ใจว่าอุปการณ์ทั้งหมดอยู่ใต้ผิวน้ำ แนะนำให้คุณแม่ตั้งนาฬิกาจับเวลาเพื่อจะได้ไม่ลืมปิดเตา วิธีนี้มีราคาถูก แต่จุกนมมีแนวโน้มที่จะเสียหายเร็วกว่า และไม่สะดวกเท่าการใช้เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อแบบไฟฟ้า
- ฆ่าเชื้อด้วยเครื่องนึ่งขวดนมไฟฟ้า หากคุณแม่ซื้อเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อแบบไฟฟ้าสำหรับผลิตภัณฑ์เด็ก คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต เนื่องจากมีเครื่องฆ่าเชื้อหลายประเภท ในขณะที่คุณแม่ใส่อุปกรณ์ภายในเครื่อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องเปิดของขวด และหัวนมหันลงด้านล่างของเครื่องนึ่ง คุณแม่สามารถปล่อยขวดนม และอุปกรณ์ไว้ในเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคจนกว่าจะต้องการนำไปใช้
หลังจากฆ่าเชื้อเสร็จแล้ว
ควรล้างและเช็ดมือให้สะอาดก่อนที่จะจัดการกับอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ควรปล่อยขวดนม และอุปกรณ์ไว้ในเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรคจนกว่าจะต้องการนำไปใช้ ถ้าคุณแม่นำออกจากเครื่อง ควรวเก็บขวดนมไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดทันที
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (14 มิถุนายน 2019)