ดาวน์โหลดแอป

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดคืออะไร

มองไปข้างหน้า

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดคืออะไร

ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปและมักไม่เป็นอันตรายในทารกแรกเกิดซึ่งจะมีอาการเหลืองที่ผิวหนังและดวงตาของทารก

ส่วนใหญ่จะปรากฏใน 5 วันแรกหลังคลอดและหายไปได้เองภายใน 2 สัปดาห์โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ

สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ในกรณีส่วนใหญ่ภาวะตัวเหลืองเกิดขึ้นเนื่องจากตับของทารกยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ทำให้ไม่สามารถขับสารบิลิรูบินออกจากร่างกายได้ สารบิลิรูบินเป็นสารสีเหลืองซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตาย ถ้าตับยังไม่สามารถขับสารนี้ออกจากร่ายกายได้ ก็จะส่งผลให้เห็นสีเหลืองในดวงตาและผิวหนัง

ในบางกรณีมีสาเหตุมาจากนมแม่ ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้มข้นของเอนไซม์เบต้ากลูคูโรนิเดสในนมแม่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจไปขัดขวางกระบวนการขับบิลลิรูบิน

ในบางกรณีซึ่งพบได้น้อยกว่า อาการตัวเหลืองอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อ ความผิดปกติของระบบตับและน้ำดี หรือการเข้ากันไม่ได้ของหมู่เลือดทารกและแม่ (ABO หรือ Rh)

มีอาการอย่างไรบ้าง
ผิวหนังของและตาขาวของทารกจะมีสีเหลือง สีเหลืองเริ่มจะปรากฏขึ้นที่ใบหน้าและหน้าอกของเขาประมาณ 1 – 5 วันแรกหลังคลอด ส่วนอาการตัวเหลืองที่เกิดจากการได้รับนมแม่จะปรากฏขึ้น 2 – 3 วันหลังจากนั้น

ทารกที่มีระดับบิลิรูบินสูงอาจจะ:

อาการตัวเหลืองเป็นภาวะปกติที่พบได้ทั่วไป ซึ่งไม่เป็นอันตราย และหายได้เองในระหว่าง 1 – 3 สัปดาห์หลังคลอด

เฉพาะในทารกที่มีระดับบิลิรูบินที่สูงเกินไปนั่นอาจเป็นอันตรายได้ หากลูกน้อยของคุณมีอาการที่น่าสงสัย หรือคุณแม่ไม่สบายใจควรไปพบแพทย์

การวินิจฉัยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดทำอย่างไร
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย และอาจถามว่าคุณแม่และลูกน้อยมีกรุ๊ปเลือดแตกต่างกันหรือไม่ แพทย์อาจจะวางอุปกรณ์บนผิวของลูกน้อยของคุณแม่ เพื่อตรวจสอบระดับบิลิรูบินของเขา และอาจทำการตรวจหาปริมาณบิลิรูบินในเลือด เพื่อดูว่าเขาต้องการการรักษาหรือไม่ ซึ่งปกติแล้ว มากกว่า 50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้นเมื่อพวกเขาคลอดออกมา

ภาวะตัวเหลืองรักษาได้อย่างไร?
การส่องไฟเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปเพื่อลดระดับบิลิรูบินในทารกแรกเกิด แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองรุนแรงซึ่งเกิดจากความไม่เข้ากันหมู่เลือด Rh อาจต้องได้รับการถ่ายเลือด ซึ่งจะนำเลือดของทารกจำนวนน้อยออกและแทนที่ด้วยเลือดของผู้บริจาคที่หมู่เลือดเข้ากัน

เกิดอะไรขึ้นในระหว่างการส่องไฟ
ในรูปแบบมาตรฐานของการบำบัดด้วยการส่องไฟ ทารกจะนอนอยู่ในเปลเด็กหรือตู้อบและให้สัมผัสกับแสงจากหลอดนีออนซึ่งดูดซึมได้ด้วยผิวหนังของลูกน้อย ในระหว่างกระบวนการนี้ สารบิลิรูบินในร่างกายของทารกจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นที่สามารถขับออกมาได้ง่ายขึ้นในอุจจาระและปัสสาวะ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองอาจต้องอยู่ส่องไฟเป็นเวลาหลายวัน การบำบัดด้วยแสงนั้นไม่มีอันตรายต่อผิวของทารก

ในระหว่างการส่องไฟนี้:

วิธีการดูแลลูกที่บ้าน
หากลูกมีอาการตัวเหลืองเล็กน้อย คุณแม่หลาย ๆ ท่านเชื่อว่าควรให้ลูกผึ่งแดดโดยไม่สวมเสื้อผ้าเป็นเวลาสั้น ๆ ในเวลาเช้าทุกวัน ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าได้ผล ถ้าคุณแม่ใช้วิธีนี้ก็อย่าลืมดูให้แน่ใจว่าคุณแม่ปกป้องดวงตาของเขาอย่างดี และลูกไม่ร้อนจนเกินไป ส่วนวิธีที่แพทย์รับรองว่าได้ผลแน่นอนคือคุณแม่ควรให้เขาดื่มนมแม่มาก ๆ เพราะนมแม่จะช่วยให้ร่างกายของทารกสามารถกำจัดสารบิลิรูบินได้ดีขึ้น

รับรองโดย:

นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (23 เมษายน 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน