ดาวน์โหลดแอป

การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน : ทำไมลูกจึงต้องการการอุ้มและการกอด

การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน : ทำไมลูกจึงต้องการการอุ้มและการกอด

การเลี้ยงลูกแบบผูกพันเป็นวิธีการเลี้ยงเด็กที่มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ทางจิตใจระหว่างพ่อแม่และลูก ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะเน้นการตอบสนองของพ่อแม่ การให้เกียรติลูก และเห็นอกเห็นใจต่อลูก โดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกได้สร้างภาพลักษณ์ต่อตนเองในทางบวก สร้างความสัมพันธ์ทางจิตใจที่ดีในครอบครัว และผู้คนอื่น ๆ ที่ลูกจะได้พบเจอตลอดชีวิต 

ความเป็นมาของการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน
การเลี้ยงลูกแบบผูกพันเป็นวิธีการเลี้ยงลูกที่เก่าแก่ที่สุดวิธีหนึ่ง งานวิจัยทางมานุษยวิทยาแสดงให้เห็นว่าคนเรามีสัญชาตญาณที่จะมีความสัมพันธ์ทางจิตใจตั้งแต่ในอดีต ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้เพราะการเลี้ยงดูเด็กในสมัยโบราณหลายพันปีก่อน ต่างก็จะให้เด็กอยู่ใกล้พ่อแม่ มีความใกล้ชิดแนบกายและนอนร่วมเตียงด้วยกัน ซึ่งก็เหมาะกับสมัยบรรพบุรุษของเราที่ต้องเผชิญกับภัยอันตรายมากมาย ในมุมมองด้านวิวัฒนาการแล้วการให้เด็กนอนแยกห้องกับพ่อแม่นั้นผิดธรรมชาติอย่างมาก

ในประเทศแถบเอเชียบางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เด็ก ๆ มักจะได้นอนกับพ่อแม่ตลอดช่วงวัยเด็ก พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นอยู่ใกล้ชิดลูกตลอดเวลาตอนกลางคืน ซึ่งทำให้ทารกญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดโรคไหลตายตอนหลับ(Sudden Infant Death Syndrome – SIDS) ต่ำมาก

กิจกรรมที่เป็นการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน
กิจกรรมบางอย่างในการเลี้ยงลูกก็เป็นการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน ซึ่งเชื่อว่ากิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างคุณกับลูก และสามารถช่วยให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่มั่นคงในอนาคต ตัวอย่างกิจกรรมมีดังนี้

หลักการของการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน
โดยทั่วไปแล้วการเลี้ยงลูกแบบผูกพันจะส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยความเมตตา การให้เกียรติ และความใกล้ชิดทางกาย หลักการพื้นฐานมีดังนี้

ทฤษฎีความผูกพัน : ความสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย
งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงลูกอย่างละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก และหมั่นตอบสนองต่อลูกนั้นมีประโยชน์ต่อเด็ก คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกมักเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเด็กจะรู้สึกอย่างไรต่อความสัมพันธ์ในชีวิตของเขา

โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่มีความสัมพันธ์แบบมั่นคงปลอดภัยจะมีความสามารถในการรับมือกับความเครียด และปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต ส่วนเด็กที่มีความสัมพันธ์ที่เขารู้สึกไม่ปลอดภัยอาจอ่อนไหวต่อความเครียด มองภาพลักษณ์ต่อตัวเองในทางลบ และรู้สึกว่าสร้างความสัมพันธ์ได้ยากในวัยผู้ใหญ่

งานวิจัยที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน
งานวิจัยเสนอแนะว่าการตอบสนองของแม่เมื่อลูกร้องไห้มีผลอย่างมากต่อความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาของลูกน้อย การตอบสนองที่อบอุ่นอ่อนโยนจะช่วยให้ลูกผ่อนคลายและรู้สึกปลอดภัย ส่วนการเมินเฉยหรือโกรธเคืองลูกจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาโดดเดี่ยวอยู่ในโลกอันน่ากลัว

หากลูกไม่ได้รับการดูแลเมื่อเขามีความทุกข์เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิด “ภาวะเครียดสะสม” ซึ่งนับเป็นภาวะเครียดที่เป็นอันตรายและจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเด็กไปจนเขาโตเป็นผู้ใหญ่ อาจเกิดภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางสุขภาพจิตตามมาได้

ความกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน
พ่อแม่บางคนเป็นห่วงว่าการเลี้ยงลูกแบบผูกพันจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กติดพ่อแม่ และเอาแต่พึ่งพาพ่อแม่ หลายคนเชื่อว่าเป็นวิธีการที่ใช้พลังงานทางร่างกายและจิตใจสูงมากและอาจทำให้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยแสนสาหัส อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยที่สนับสนุนหรือต่อต้านแนวคิดนี้ จริง ๆ แล้วงานวิจัยบอกตรงกันข้าม โดยชี้ว่าเด็กที่มีความสัมพันธ์อย่างมั่นคงกับพ่อแม่จะรู้สึกมั่นใจในตัวเองพอที่จะไปจากพ่อแม่ได้ แต่เด็กที่รู้สึกว่าเขามีความสัมพันธ์ไม่มั่นคงปลอดภัยจะกลัวว่าความสัมพันธ์ที่อ่อนแอระหว่างเขากับพ่อแม่จะขาดสะบั้นไป ทำให้เขากลายเป็นเด็กติดพ่อแม่ในที่สุด

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน