เมนูสำหรับทารก: แครอทและถั่วลันเตา

ทั้งแครอทและถั่วลันเตาต่างก็เป็นแหล่งวิตามิน แร่ธาตุและไฟเบอร์ที่ดี สารอาหารเหล่านี้สำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูก ช่วยบำรุงระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวสุขภาพดี บำรุงดวงตา และดีต่อพัฒนาการโดยรวม
ทำไมส่วนผสมนี้จึงดีต่อลูก?
ถั่วลันเตามีวิตามินเอและซีสูง ซึ่งจำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันของลูก และเป็นแหล่งธาตุเหล็ก ซึ่งร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงสำหรับลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แครอทอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุเช่นวิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม และไฟเบอร์ ซึ่งจะช่วยเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกได้อย่างดี นอกจากนี้ผักทั้งสองชนิดยังเป็นแหล่งของไฟเบอร์ที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้ดีและป้องกันท้องผูกได้
สิ่งที่ควรรู้
การบริโภคถั่วลันเตาปริมาณมากอาจทำให้ท้องอืด ไม่สบายท้อง ซึ่งมักมาพร้อมแก๊สและการผายลม ผักดิบที่ไม่ผ่านการปรุงจะย่อยยากสำหรับทารกและอาจไม่มีสารอาหารครบถ้วนเท่าผักที่ปรุงสุกแล้ว นอกจากนี้ผักดิบอาจมีแบคทีเรียปนเปื้อน ซึ่งหากกินเข้าไปอาจทำให้ป่วยได้ ดังนั้นควรดูให้แน่ใจว่าปรุงสุกก่อนนำมารับประทาน
ลูกจะเริ่มกินแครอทและถั่วลันเตาได้เมื่อไร?
คุณสามารถให้ลูกกินผักทั้งสองอย่างนี้ได้เมื่อลูกอายุ 6 เดือน แครอทและถั่วลันเตามีรสชาติหวานอ่อน ๆ ซึ่งเด็กทารกส่วนใหญ่ชื่นชอบ ดังนั้นจึงอาจเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดใจสำหรับทารกที่เลือกกิน
เมนูแครอทและถั่วลันเตา
- แครอทและถั่วลันเตาบดละเอียด: ใช้ถั่วลันเตาครึ่งถ้วย ผสมแครอทครึ่งถ้วย ต้มให้สุกโดยใช้เวลาประมาณ 8- 10 นาทีจนกว่าจะนิ่ม จากนั้นปั่นให้เนียนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน คุณอาจใส่นมเล็กน้อยเพื่อให้ได้ผิวสัมผัสที่ต้องการ ส่วนผสมนี้สามารถเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทในตู้เย็นได้ 3 วันหรือใส่ช่องแช่แข็งได้ 3 เดือน
- แครอทและถั่วลันเตาบดหยาบ: ปรุงส่วนผสมทั้งสองอย่างให้สุก จากนั้นใช้ส้อมหรือที่บดมันฝรั่งบดให้แหลก
- BLW: คุณสามารถให้ลูกน้อยกินแครอทหั่นชิ้นได้ แต่ไม่แนะนำให้เอาถั่วลันเตาให้ทารกกินทั้งเมล็ดหรือเป็นชิ้น ๆ เพราะอาจทำให้ติดคอและเป็นอันตรายได้
ลูกควรกินปริมาณเท่าไร?
องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าทารกควรเริ่มทานอาหารตั้งแต่อายุ 6 เดือน โดยให้เป็นอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือนมผง สำหรับช่วง 6-8 เดือนแรกที่เริ่มกินควรให้กินวันละ 2-3 มื้อ โดยสัดส่วนของแคลอรี่ที่ควรได้รับระหว่างนมแม่และอาหารแข็งควรเป็นดังนี้:
การเริ่มให้กินอาหารชนิดใหม่
พยายามให้ลูกเริ่มกินอาหารชนิดใหม่ตอนที่เขาหิว และควรให้กินครั้งละ 1 อย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับการให้ลูกเริ่มกินอาหารแข็งได้ที่นี่
ข้อควรระวัง
หากคุณใช้วิธี baby-led-weaning ควรศึกษารายละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับวิธีนี้อย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างอาการสำลักและอาหารติดคอ และควรรู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน