ดาวน์โหลดแอป

การพัฒนาสมองในช่วงแรก

การพัฒนาสมองในช่วงแรก

สมองของทารกแรกเกิดจะเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูกน้อยได้

สมองของทารกแรกเกิดโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของขนาดสมองของผู้ใหญ่ แต่เมื่อถึงเวลาที่ลูกอายุครบ 1 ปี สมองของเขาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นสองเท่าของตอนแรกเกิด และเมื่อเขาอายุ 3 ปี สมองของลูกจะมีขนาดใหญ่ถึง 80% ของขนาดสมองของผู้ใหญ่

สมองของเด็กมีการพัฒนาอย่างไร
เมื่อแรกเกิดทารกมีเซลล์สมองทั้งหมดที่พวกเขาจะมีไปตลอดชีวิต แต่เซลล์เหล่านี้ยังคงเจริญเติบโตและจะทำการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันไปเรื่อย ๆ  การเชื่อมต่อเหล่านี้ทำให้สมองเกิดการพัฒนาและทำหน้าที่ประสานกิจกรรมทั้งหมดในร่างกาย ในช่วงวัยเด็กเล็ก จะมีการเชื่อมต่อระบบประสาทใหม่เกือบหนึ่งล้านครั้งในทุก ๆ หนึ่งวินาที

จากการวิจัยพบว่าประสบการณ์ที่เด็ก ๆ ได้พบเจอในแต่ละวันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างการเชื่อมต่อของสมองที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดพัฒนาการของสมอง โดยประสบการณ์เชิงบวกจากการมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่พี่น้องและผู้ดูแลจะทำให้สมองมีพัฒนาการที่ดี แต่ประสบการณ์เชิงลบจะลดความสามารถในการสร้างการเชื่อมต่อของสมองที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการที่เหมาะสม

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง
มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก รวมถึงยีนที่ได้รับสืบทอดมาจากคุณพ่อคุณแม่ แม้ว่าจะไม่สามารถทำอะไรได้มากนักเกี่ยวกับยีน แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เราสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกได้ เช่น :

ประโยชน์ของโภชนาการที่ดี
โภชนาการที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย ทั้งขณะที่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด ตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยจะต้องการสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสมอง สารอาหารที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนาสมองของทารกคือ กรดโฟลิก ส่วนสารอาหารอื่น ๆ ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) และกรดอีโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA)

ขณะอยู่ในครรภ์ ทารกจะได้รับสารอาหารทางเลือดจากสายรก และหลังคลอดจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ เมื่อคุณแม่หยุดให้นมลูก หรือเปลี่ยนเป็นนมผงสำหรับทารก คุณแม่ควรดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง  

ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม
ลูกน้อยของคุณแม่ต้องการสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพคือสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสารพิษ หรือการติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกป่วยและชะลอพัฒนาการทางสมอง

โรคร้าย เช่น โรคมาลาเรีย หรือโรคไข้เลือดออกสามารถสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบได้ หากคุณแม่อยู่ในภูมิภาคที่มีการระบาดของโรคเฉพาะถิ่น เช่น โรคมาลาเรีย ควรแน่ใจว่าลูกน้อยของคุณนอนในมุ้งกันยุง การติดเชื้อในวัยเด็กชนิดอื่น ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเวลาที่แพทย์กำหนด

พิษจากสารตะกั่วอาจทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากในบางประเทศยังอนุญาตให้ใช้สารตะกั่วในสีทาผนังได้ หากคุณแม่สงสัยว่าบ้านของคุณทาสีด้วยสีที่มีส่วนผสมของตะกั่ว ควรทาสีบ้านของคุณใหม่ด้วยสีที่ไม่มีสารตะกั่ว เพื่อป้องกันลูกน้อยของคุณจากการถูกทำลายสมองด้วยสารตะกั่ว

บทบาทของประสบการณ์ในวัยเด็ก
สมองของเด็กเป็นเหมือนหน้ากระดาษที่ว่างเปล่า ซึ่งคุณสามารถเขียนบทกวีที่สวยงามหรือเรื่องราวสยองขวัญที่น่ากลัวได้ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ สมาชิกในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก ครู และผู้ดูแลคนอื่น ๆ ไม่เพียงส่งผลต่อความเร็วในการพัฒนาสมองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อมุมมองชีวิตในอนาคตของเขาอีกด้วย

หากเด็ก ๆ ได้รับความรัก ความปลอดภัย และความมั่นคงในช่วงที่สำคัญของการพัฒนาสมอง พวกเขาจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีชีวิตที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จ ในทางกลับกันถ้าเด็กมีความกลัว วิตกกังวล และไม่มั่นคง พวกเขาจะเติบโตมาพร้อมกับปัญหาทางจิตใจมากมาย เช่น ขี้อาย มีปมด้อย ขาดความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกไม่ปลอดภัย ยึดติดกับผู้อื่น และมองตนเองในแง่ลบ

หาสิ่งกระตุ้นสำหรับการพัฒนาสมองที่เหมาะสม
นอกเหนือจากการให้โภชนาการที่เหมาะสมแก่ลูกแล้ว ยังมีสิ่งที่คุณแม่ทำได้เพื่อช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย:

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน