ดาวน์โหลดแอป

วิธีป้องกันโรคโลหิตจาง

วิธีป้องกันโรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจางเป็นภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ซึ่งร่างกายต้องการเม็ดเลือดแดงเพื่อช่วยในการลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย

โดยเนื้อเยื่อในร่างกายจะต้องการออกซิเจนเพื่อให้เนื้อเยื่อนั้นสุขภาพดีและแข็งแรง หากเด็กมีเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะรู้สึกอ่อนแอและป่วย

อาการและสัญญาณของโรคโลหิตจางในเด็ก
อาการเหล่านี้เป็นอาการทั่วไปของโรคโลหิตจาง:

สาเหตุทั่วไปในการเกิดโรคโลหิตจางในเด็ก
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลักของการเกิดโรคโลหิตจางในวัยเด็กสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม:

ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้อย่างเพียงพอ: เกิดจากการขาดสารอาหารบางอย่างในโภชนาการของเด็กเช่น ธาตุเหล็กและสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ตัวอย่างหนึ่งคือภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจเกิดจากการขาดวิตามินบางชนิดอีกด้วย

ร่างกายมีการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากจนเกินไป: โรคโลหิตจางประเภทนี้ มักเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีโรคประจำตัวหรือมีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงจากพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมีย หรือ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle-cell anemia)

การสูญเสียเม็ดเลือดแดงจากภาวะเลือดออก: การสูญเสียเลือดอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการบาดเจ็บภายนอก หรืออาจเกิดเลือดออกอย่างช้า ๆ ในกระเพาะหรือลำไส้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการแพ้อาหาร การมีพยาธิบางชนิด หรือการระบาดของพยาธิปากขออย่างรุนแรง

เด็ก ๆ เหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก:

การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคโลหิตจาง
คุณแม่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคโลหิตจางด้วยเคล็ดลับดังนี้:

เพิ่มอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก: หากคุณให้นมบุตรด้วยตัวเอง ลูกจะมีธาตุเหล็กพอเพียงในร่างกายไปจนถึง 4 เดือนเป็นอย่างต่ำ หลังจากนั้นแล้วคุณแม่อาจจะเพิ่มเติมธาตุเหล็กด้วยอาหารเสริม ใช้อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ ไข่แดง เนื้อแดงบด ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอคโคลี ไปจนกว่าทารกน้อยจะสามารถรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กพอเพียงได้ สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดแพทย์อาจให้ธาตุเหล็กเสริมตั้งแต่อายุ 1 เดือน และรับประทานต่อไปจนถึงวันเกิดปีแรก คุณแม่ควรปรึกษากับกุมารแพทย์ก่อนที่จะเริ่มการเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็ก

ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง: เมื่อลูกสามารถรับประทานอาหารแข็งได้ ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ถั่วต่าง ๆ ไก่ ปลา ผักโขม และผักใบเขียวอื่น ๆ

ให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง: วิตามินซีมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูงประกอบไปด้วยผลไม้ตระกูลส้ม แคนตาลูป สตรอเบอร์รี พริกหวาน มะเขือเทศ และผักสีเขียวเข้มชนิดต่าง ๆ

จำกัดการดื่มนมวัว: เมื่อคุณเริ่มให้ลูกดื่มนมวัวหลังวันเกิดปีแรก ควรจำกัดปริมาณให้น้อยกว่า 700 มล. ต่อวัน

ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจาง:ถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขของไทยระบุว่า ทารกควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในช่วงอายุระหว่าง 9 ถึง 12 เดือน และเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะการขาดธาตุเหล็กควรได้รับการตรวจอีกครั้งในช่วงวัยต่อมา หรือคุณพ่อคุณแม่อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ธาตุเหล็กเสริมแก่ลูก ในช่วงอายุ 6-24 เดือนไปเลยก็ได้

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน