ดาวน์โหลดแอป

วิธีการดูแลหัวนมของคุณแม่

วิธีการดูแลหัวนมของคุณแม่

การให้นมจากเต้าเป็นประสบการณ์ที่วิเศษสำหรับคุณแม่ และคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับอุปสรรคในการเดินทางอันแสนพิเศษนี้ได้

ประสบการณ์ของคุณแม่แต่ละคนนั้นอาจไม่เหมือนกัน และนี่คือเหตุการณ์ที่พบเห็นได้บ่อยเมื่อคุณแม่ต้องให้นมเป็นครั้งแรก

สาเหตุหลักของการเจ็บหัวนม

  1. อาการเจ็บหัวนมในช่วงระยะแรก คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกเจ็บหัวนมในวันแรก ๆ ของการให้นม อาการนี้จะหายไปเมื่อน้ำนมคุณแม่เริ่มไหลอย่างสม่ำเสมอ และลูกปรับตัวกับการดูดนมได้แล้ว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์
  2. การเข้าเต้าไม่ถูกวิธี หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้คุณแม่หลายคนเจ็บหัวนม คือ ลูกเข้าเต้าและดูดนมไม่ถูกวิธี คุณแม่จะมีอาการอักเสบและเจ็บรอบ ๆ หัวนม วิธีการแก้คือการปรับท่าเวลาดูดนมให้กับลูกโดยให้หัวนมอยู่บริเวณเพดานปากของลูกและให้ปากของลูกอมให้เต็มลานนม ไม่ใช่แค่ที่หัวนม ถ้าคุณแม่ยังคงประสบปัญหาในการให้ลูกเข้าเต้าโดยไม่เจ็บได้ อย่ารีรอที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมหรือคุณหมอ
  3. เครื่องปั๊มนม เครื่องปั๊มนมที่ไม่เหมาะกับเต้านมของคุณแม่ เช่น หัวปั๊มใหญ่ไป หรือเล็กไป เครื่องมีแรงดูดมากไป หรือแรงไม่พอ ก็สามารถทำให้คุณแม่เจ็บหัวนมได้เช่นกัน
  4. ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ หมั่นสังเกตก้อนบริเวณเต้านม หากกดแล้วคุณแม่รู้สึกเจ็บ นั่นเป็นเพราะท่อน้ำนมอุดตัน ซึ่งอาจจะตันที่หัวนม หรือจากระบบท่อน้ำนม อาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อลูกขาดการดูดนมเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรือนมสองข้างถูกดูดไม่เท่ากัน อาการอักเสบที่คล้าย ๆ กันมีดังนี้

วิธีการรักษาเมื่อมีอาการเจ็บหัวนม
คุณแม่อาจคิดว่าการหยุดให้ลูกดูดนมเป็นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อมีอาการเจ็บหัวนม ในทางตรงกันข้ามการให้ลูกดูดนมต่อในขณะที่เจ็บจะช่วยคุณแม่ไม่ให้เกิดอาการท่อน้ำนมอุดตันและยังเป็นการรักษาปริมาณน้ำนมให้ลูกด้วย 

วิธีการรักษาหัวนมอักเสบด้วยวิธีธรรมชาติ ได้แก่ การนวดบริเวณเต้านมหรือประคบร้อนเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำนม ถ้าคุณแม่มีอาการหัวนมแตกคุณแม่สามารถใช้น้ำนมมาทาบริเวณหัวนมได้ และแพทย์แนะนำให้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของลาโนลินมาทาหัวนมหลังการให้นมทันที ลาโนลินจะช่วยให้หัวนมคุณแม่ไม่แห้ง ถ้าอาการเจ็บหัวนมไม่หายไปคุณแม่ควรไปหาคุณหมอ

ข้อแนะอื่น ๆ ในการดูแลหัวนม

  1. ควรล้างมือก่อนการให้นมเสมอ
  2. ให้ลูกดูดนมทั้งสองเต้าเท่า ๆ กันเพื่อป้องกันการอุดตัน
  3. หลังอาบน้ำคุณแม่ควรจะใช้ผ้าขนหนูซับที่หัวนมเบา ๆ
  4. ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อหัวนม และหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ เพราะสบู่จะทำให้หัวนมแห้งขึ้น
  5. ควรเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการอับชื้นและเกิดเชื้อรา

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน