โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กเล็ก

ไข้หวัดใหญ่สามารถกลายเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น ปอดบวม ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกและเด็กเล็ก
โรคไข้หวัดใหญ่ คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีผลต่อจมูก ลำคอ ปอด และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่:
- มีไข้สูงเฉียบพลัน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดหัว
- ไอแห้ง
- เจ็บคอ
- น้ำมูกไหล
- คลื่นไส้
- อาเจียนและท้องเสีย
- หนาวสั่น
- เวียนหัว
- เบื่ออาหาร
ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้ง่ายมาก
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ง่ายมาก และจะแพร่กระจายเมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจาม
เด็กหรือคนอื่น ๆ สามารถติดเชื้อได้จากการหายใจเอาละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าไป ใช้ถ้วย แก้วน้ำหรือวัตถุอื่น ๆ ร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือสัมผัสกับปากหรือจมูกของผู้ติดเชื้อโดยตรง เด็กเล็กยังคงสามารถแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ได้แม้อาการหายไปนานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว
วิธีการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
- หากลูกมีอายุน้อยกว่าสองเดือน ให้รีบพาไปพบแพทย์
- หากลูกมีไข้สูงกว่า 38.5 °C คุณแม่สามารถให้ยาพาราเซตามอลตามขนาดที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้ชนิด NSAIDs ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- อย่าให้แอสไพรินกับลูก เนื่องจากอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงได้
- ใช้น้ำอุ่นหรือหยดน้ำเกลือลงในจมูกเพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจสะดวกขึ้น
- หากลูกมีอาการไอและเจ็บคอ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาใด ๆ
หากลูกมีอาการหายใจลำบาก หรือมีไข้นานกว่า 3 วัน ควรพาไปโรงพยาบาลทันที
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
- เด็กที่มีอายุระหว่าง 6 – 24 เดือน มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ และควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในทุก ๆ ปี
- นอกจากนี้การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่รอบตัวเด็กก็จะช่วยป้องกันได้ดีขึ้นอีกด้วย
- ควรให้ลูกล้างมือด้วยสบู่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะหลังจากใช้ห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร
- สอนให้ลูกปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (3 พฤศจิกายน 2020)