ดาวน์โหลดแอป

ความเข้าใจผิดเรื่องทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดด

ความเข้าใจผิดเรื่องทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดด

คุณแม่อาจเคยได้ยินทฤษฎีที่กล่าวว่าเด็กเล็กจะมีพัฒนาการทางสมองแบบก้าวกระโดด (mental leap) หรือที่เรียกกันว่า วันเดอร์วีค (wonder weeks)

อย่างไรก็ตามมีหลักฐานที่แน่ชัดที่ระบุว่าพัฒนาการของเด็ก ๆ ไม่ได้เป็นไปตามตารางเวลาที่เจาะจงและตายตัว เพราะเด็ก ๆ นั้นพัฒนาตามจังหวะของตนเอง ซึ่งอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน

การพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดดคืออะไร?
ทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดดกล่าวไว้ว่าเด็กทารกเรียนรู้เกี่ยวกับโลกโดยการพัฒนาผ่านการเรียนรู้ที่เป็นขั้นเป็นตอน โดยแต่ละช่วงจะเรียกว่า “ก้าวกระโดดของสมอง” (mental leap) โดยทฤษฎีกล่าวไว้ว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ของทารกในแต่ละช่วงจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเขากำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาช่วงใด

ทฤษฎีนี้มาจากไหน?
ทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดดถูกคิดค้นโดยคู่รักชาวฮอลเแลนด์ชื่อ เฮตตี วอน เดอ เรย์​ (Hetty van de Rijt) และฟรานส์ พลอย (Frans Plooj) ที่ถูกเผยแพร่ในช่วง 2 – 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งสองคนได้ศึกษาพัฒนาการทางสมองของลิงชิมแปนซี และใช้หลักการนี้ในการวางรากฐานทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก 

แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คืออะไร?
ทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดดกล่าวว่า สาเหตุที่บางครั้งทารกหงุดหงิดนั้นเป็นเพราะเขากำลังอยู่ในช่วงการพัฒนาสมองช่วงใดช่วงหนึ่ง ซึ่งทำให้เขาตื่นตัวรับรู้เกี่ยวกับโลกรอบตัวมากเป็นพิเศษ ก่อให้เกิดความถดถอยทางอารมณ์และเกิดความหงุดหงิด ดังนั้น เด็กทารกจึงแสดงอารมณ์เศร้า ติดพ่อแม่ และหงุดหงิดง่าย โดยตั้งแต่ทารกมีอายุ 5 สัปดาห์ ถึง 20 เดือน เขาจะมีช่วงก้าวกระโดดอย่างน้อย 10 ช่วง และจะมีช่วงตารางเวลาที่เรียกว่า วันเดอร์วีค (wonder weeks) ซึ่งสามารถทำนายว่าแต่ละสัปดาห์ทารกจะมีการแสดงออกอย่างไร

ข้อผิดพลาดของแนวคิดเรื่องการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดด
ความเข้าใจผิดเรื่องใหญ่ที่สุดของทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดด คือความคิดที่ว่าลูกน้อยจะพัฒนาสมองตามตารางเวลาที่ชัดเจน แนวคิดนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะพัฒนาการของลูกน้อยจะเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยทารกแต่ละคนมีช่วงการพัฒนาที่แตกต่างกันไป และส่วนใหญ่พัฒนาการจะขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม อาหาร และปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ด้วย 

ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งคือ ความคิดที่ว่าเด็ก ๆ จะหงุดหงิดเพราะพวกเขากำลังอยู่ในช่วงก้าวกระโดดทางสมอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีหลักฐานมาสนับสนุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ลูกน้อยของคุณแม่อาจร้องไห้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ มากมาย เช่นความกลัว ความเหนื่อย ​ความหิว ปวดหัว และสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ชัดเจนมากมาย เช่นการไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่รู้สึกออกมาได้ 

นักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่าอย่างไร?
การคาดหวังว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางสมองแบบก้าวกระโดดในช่วงเวลาที่แน่ชัดนั้นขัดกับผลวิจัยมากมายในด้านการเติบโตและพัฒนาของทารก คุณแม่ควรทราบว่า ทฤษฎีการพัฒนาสมองแบบก้าวกระโดดไม่ได้มีพื้นฐานจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยยังไม่ได้มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่พิสูจน์ว่าทารกจะเป็นเช่นนั้นจริง ดังนั้นจึงไม่สามารถเชื่อถือได้

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน