ดาวน์โหลดแอป

เดือนที่ 12: การเลี้ยงดูแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง

เดือนที่ 12: การเลี้ยงดูแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง

ยินดีด้วย!ลูกมีอายุครบ 1 ปีในเดือนนี้!

ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาคุณได้วัดพัฒนาการของลูกน้อยจากพัฒนาการทางร่างกายเป็นหลัก จากนี้ต่อไปคุณจะได้เห็นพัฒนาการทางด้านเหตุผล อารมณ์ และพัฒนาการทางสังคมอันน่ามหัศจรรย์ของลูกมากขึ้น

คุณแม่และลูกเป็นอย่างไรบ้าง
นอกเหนือจากพัฒนาการทางร่างกายที่เห็นได้ชัดเจน เช่นการเดินหรือเล่นของเล่นแล้ว จากนี้ไปพัฒนาการส่วนใหญ่ของลูกจะเกิดขึ้นจากภายใน คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีความหลงใหลในการเล่น เช่นชอบเอาของรูปทรงต่าง ๆ ใส่ลงในกล่อง หรือค้นของที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น เจ้าตัวน้อยน่าจะทดลองเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือใช้วิธีอื่น ๆ ในการสำรวจสิ่งของเดิมก็ได้

ลูกน่าจะชอบทำเสียง หรือทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการโต้ตอบจากคุณ เช่นเล่นเกมให้และรับของ หรือเล่นซ่อนแอบ กิจกรรมโปรดของเขาคือการใช้เวลาร่วมกับคุณ เช่นเอาเครื่องครัวมาตีกัน ลูกอาจหัวเราะตัวโยนกับทุก ๆ การแสดงที่ดูบ้าบอของคุณ 

แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้สนุกอย่างเดียว การเตรียมตัวสำหรับวัยเตาะแตะจะต้องใช้การพูดคุยกันเรื่องรูปแบบการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ทั้งนี้ ไม่มีวิธีการเลี้ยงดูแบบไหนที่ถูกต้องที่สุด เพราะแต่ละครอบครัว และแต่ละสถานการณ์ของทุกคนแตกต่างกัน วิธีที่ดีที่สุดคือวิธีที่มุ่งเน้นความสำคัญของสุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็กในระยะยาว 

ทำความเข้าใจการเลี้ยงลูกแบบแบบองค์รวม
การเลี้ยงลูกแบบแบบองค์รวม หรือ whole child pedagogy เป็นวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่มองเด็กจากมุมมองสุขภาพจิต อารมณ์ ร่างกาย และการใช้เหตุผลของเด็กในเวลาเดียวกัน แนวคิดนี้ให้ความเคารพความคิดที่ว่ามนุษย์คนหนึ่งมีศักยภาพมากมายที่การศึกษาทั่วไปไม่สามารถวัดได้ นอกเหนือจากความอยากรู้อยากเห็นและความฉลาดแล้ว เด็กคนหนึ่งอาจมีความคิดสร้างสรรค์ ความหลงใหลในบางสิ่ง ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สัญชาตญาณ ความมั่นใจในตนเอง ความเอื้อเฟื้อ มีสมาธิ อารมณ์ขัน และคุณสมบัติสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย

วิธีการสนับสนุนให้ลูกน้อยเติบโตแบบองค์รวมจากที่บ้าน

คิดว่าอารมณ์ที่รับมือได้ยากเป็นเรื่องปกติ: การสอนลูกให้รู้ตัวถึงความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองเป็นก้าวแรกที่จะช่วยให้เขาจัดการอารมณ์ที่รับมือยากได้ดีขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องเอาของเล่นชิ้นโปรดของลูกไปเก็บเพราะได้เวลากินอาหารแล้ว ให้บอกเขาล่วงหน้าเพื่อที่ลูกจะได้เตรียมใจไว้ก่อน จากนั้นเมื่อเขาร้องไห้ ให้ปลอบลูกด้วยการกอด อธิบายว่าทำไมลูกจึงเศร้าและคุณเข้าใจอย่างเต็มที่ จากนั้นให้หันเหความสนใจของเขาไปทางอื่น การให้เวลาเขาเตรียมตัว และอธิบายอารมณ์ของเขาจะช่วยให้ลูกไม่รู้สึกว่าอารมณ์นั้นหนักหนามากจนเกินไป เพราะคุณได้ให้พื้นที่เพื่อเล่าเหตุผลให้ลูกฟัง

ในฐานะผู้ปกครอง เราสามารถทำหน้าที่ของเราได้โดยการพยายามไม่เครียดเกินไปเมื่อลูกน้อยต้องเผชิญกับอารมณ์ยาก ๆ ในช่วงนี้ที่ลูกยังมีคลังคำศัพท์ไม่มากเพียงพอที่จะอธิบายความรู้สึกออกมาได้ นอกจากนี้ควรกำหนดการเล่นที่เหมาะสมสำหรับอายุ และกำหนดขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่ไม่จำเป็น ควรบอกลูกน้อยที่กำลังโวยวายว่าคุณเข้าใจที่เขาโกรธเพราะไม่สามารถเล่นกับมีดอันคมได้ จากนั้นให้กอดเขา ด้วยวิธีนี้เด็กจะรู้สึกว่าคุณเข้าใจเขา ถึงแม้ว่าจะถูกปฏิเสธไม่ให้เล่นก็ตาม 

นอกจากนี้ควรพยายามเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก โดยเป็นคนที่อยากให้ลูกเป็น หากคุณอารมณ์เสียง่าย หรือกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ยากลำบาก พยายามดูให้แน่ใจว่าลูกจะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วยโดยไม่จำเป็น

ให้ความเคารพลูก: การให้ความเคารพเด็กในตัวตนที่เขาเป็น และสิ่งที่เขาชื่นชอบถือเป็นส่วนหนึ่งของการเลี้ยงลูกแบบแบบองค์รวม เด็ก ๆ มีความรู้สึก ความหลงใหล และมีความคิดเห็นของตนเองที่อาจจะไม่ตรงกับอุดมคติของคุณก็ได้

เมื่อสังเกตเขาอย่างถี่ถ้วน คุณก็จะเข้าใจตัวตนของลูกมากขึ้น และคุณจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเขาเพื่อที่จะดึงความสนใจและความหลงใหลของเขาออกมาได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกหงุดหงิดง่ายหากมีสิ่งเร้ามากเกินไป และชอบที่จะเล่นเงียบ ๆ มากกว่า ควรเคารพความต้องการของเขาและไม่บังคับให้ลูกไปเข้าสังคม อีกตัวอย่างหนึ่งคือคุณอาจเห็นว่าลูกไม่ชอบอาหารบางอย่าง ควรเคารพสิ่งนี้ด้วย การเลี้ยงเด็กที่กินยากยังดีกว่าเขาไม่กินอะไรเลย 

ปล่อยให้ลูกรู้สึกเบื่อบ้าง: ถึงแม้ว่าลูกจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อโต้ตอบกับคุณ​ แต่บางเวลาลูกก็อาจต้องการความเป็นส่วนตัวและเรียนรู้ที่จะใช้เวลาคนเดียวบ้าง ในบางครั้งการเล่นคนเดียวหรือได้รู้สึกเบื่อจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะลูกจะได้คิดวิธีใหม่ ๆ ที่จะเล่นคนเดียว หรือเล่นกับของเล่นชิ้นเดิมด้วยวิธีใหม่ การยอมรับศักยภาพของลูก และความสามารถในการเรียนรู้โดยไม่ต้องมีคนสอนหรือช่วยเหลือนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความรู้จักตัวเองให้กับลูกได้อีกด้วย 

ทำไมการเลี้ยงลูกแบบแบบองค์รวมจึงเป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อคุณมองลูกในองค์รวม คุณจะมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และสามารถยอมรับตัวตนของลูกน้อยได้ คุณจะเห็นสิ่งที่เขามีไม่เหมือนใคร เห็นศักยภาพของเขาทั้งในวันที่ดีและในวันแย่ ๆ การสอนให้ลูกรู้จักตัวเองในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก หรือความต้องการ จะช่วยให้ลูกมีมุมมองที่ดีต่อตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เขาเข้าใจผู้อื่น และมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่นมากขึ้นได้ และเมื่อคุณให้พื้นที่และเวลาให้ลูกได้เติบโต ลูกจะเรียนรู้ว่าโลกทำงานอย่างไร เขาอยู่ที่ไหนในโลก และเขาจะเป็นเขาในแบบที่ดีที่สุดได้อย่างไร

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (18 กุมภาพันธ์ 2022)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน