ดาวน์โหลดแอป

การพัฒนาทางสมองส่วนใหญ่เกิดก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล

การพัฒนาทางสมองส่วนใหญ่เกิดก่อนเข้าโรงเรียนอนุบาล

ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการพัฒนาสมองส่วนใหญ่ เนื่องจากพัฒนาการทางสมองของลูกประมาณ 90% จะเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต

การเติบโตของสมองในช่วงห้าปีแรก
โดยทั่วไปแล้วสมองของทารกตั้งแต่แรกเกิดมีขนาดประมาณ 25% ของขนาดสมองของผู้ใหญ่ น่าประหลาดใจที่มันจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในวันเกิดครบขวบปีแรก และยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของขนาดสมองผู้ใหญ่เมื่ออายุครบ 3 ขวบ และกลายเป็น 90% เมื่อถึงวันเกิดปีที่  5

ขั้นตอนในการพัฒนาสมอง
เช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย สมองจะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ตอนที่ทารกยังอยู่ในครรภ์และยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ หลังคลอดแล้ว ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งขั้นตอนของพัฒนาการของสมองได้เป็นช่วงที่อยู่ในครรภ์และหลังคลอด

ช่วงที่อยู่ในครรภ์
การสร้างสมองและระบบประสาทเริ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เมื่อตัวอ่อนเริ่มพัฒนาโครงสร้างที่เรียกว่า เส้นใยประสาท โครงสร้างนี้จะกลายเป็นเซลล์ประสาททั้งหมดที่จะก่อตัวขึ้นเป็นสมองและไขสันหลัง

ช่วงหลังคลอด
เมื่อแรกเกิดสมองมีเซลล์ประสาททั้งหมดที่ถูกสร้างขึ้นประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ แม้จะมีจำนวนเซลล์สมองเท่ากับผู้ใหญ่ แต่สมองของทารกแรกเกิดนั้นมีขนาดเพียงประมาณ 1 ใน 4 ของขนาดผู้ใหญ่เท่านั้น หมายความว่าการการเจริญเติบโตของขนาดสมองที่เกิดขึ้นหลังคลอดนั้นไม่ได้มาจากการพัฒนาเซลล์สมองใหม่ แต่มาจากการเพิ่มการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทภายในสมอง (synapses)

ในความเป็นจริงสมองของทารกมีจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาท (synapse) ประมาณ 50 ล้านล้านจุด ในขณะที่สมองของผู้ใหญ่จะมีจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาทมากกว่า 500 ล้านล้านจุด ลักษณะและระดับของการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทจะเป็นตัวกำหนดว่าสมองพัฒนาไปได้ดีเพียงใด และยังเป็นตัวกำหนดว่าเด็กคนนั้นจะมีความคิด และพฤติกรรมอย่างไรอีกด้วย

พัฒนาการทางสมองในเด็กปฐมวัย
พัฒนาการของสมองของทารกหลังคลอดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงปฐมวัย หรือก่อนเข้าอนุบาล และกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างการเชื่อมต่อทางประสาทจำนวนมาก สมองมีการเชื่อมต่อประสาทประมาณ 1 ล้านครั้งต่อวินาทีในช่วง 3 ขวบปีแรก ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของชีวิต สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการเชื่อมต่อประสาทอย่างง่ายที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทารก

ในช่วงปฐมวัย สมองส่วนต่าง ๆ จะมีความไวต่อประสบการณ์ชีวิตที่ได้รับเป็นอย่างมาก นั่นคือเหตุผลที่เรียกว่า “ช่วงสำคัญ” ในขณะนี้การเชื่อมต่อประสาทจะมีความยืดหยุ่นและดัดแปลงได้ง่ายขึ้น ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการสร้างความเชื่อมโยงเหล่านี้  หลังจากช่วงเวลาที่สำคัญ การเชื่อมต่อประสาทจะมีความเสถียรมากขึ้น และยืดหยุ่นน้อยลง

วิธีส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย
คุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้โดยการสร้างประสบการณ์สำหรับพวกเขา เนื่องจากสมองของเด็ก ๆ จะพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อทุกสิ่งเร้าที่พบในช่วงขวบปีแรก ๆ ของชีวิต

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจะช่วยลดความเสี่ยงของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ในทางกลับกันการเพิกเฉย การละเลย การให้ลูกใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไป และการมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับลูกก็อาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองในระยะเริ่มต้นของพวกเขา ซึ่งจะส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตในอนาคตได้

คุณพ่อคุณแม่ควรทำอะไรบ้าง
ของขวัญที่ดีที่สุดที่คุณแม่จะสามารถมอบให้ลูกน้อยได้นั่นคือ ความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลที่ดี เด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงทุกคนมักจะพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ด้วยการยิ้ม การพูดเจื้อยแจ้ว หรือการร้องไห้ (ซึ่งนักวิจัยเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “การส่งให้”) และพวกเขาคาดหวังให้คุณพ่อคุณแม่ตอบสนองด้วยการยิ้ม การพูดคุย การร้องเพลงหรือแม้แต่การให้นม (“การตอบกลับ”) การส่งให้และการตอบกลับนี้เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเสริมสร้างการเชื่อมต่อของระบบประสาทที่ดี

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน