เหตุผลว่าทำไมถึงไม่ควรเขย่าลูกน้อย
ใน 3 ปีแรกสมองของทารกนั้นพัฒนาอย่างรวดเร็ว พวกเขาควรได้รับการปฎิบัติอย่างนุ่มนวลเพื่อพัฒนาการที่แข็งแรง
ภาวะทารกถูกเขย่าคืออะไร?
ภาวะทารกถูกเขย่า คืออาการบาดเจ็บที่สมองซึ่งเกิดจากการถูกเขย่าที่รุนแรงหรือหนักหน่วงจนเกินไป สมองและหลอดเลือดของทารกยังมีความบอบบางซึ่งแตกต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นสมองของทารกอาจเกิดอาการบวมช้ำและเลือดออกได้ง่ายจากการกระแทกซ้ำ ๆ การบาดเจ็บที่สมองประเภทนี้ ทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนในสมองน้อยลงและสามารถทำลายเซลล์สมองอย่างถาวรได้
อาการของภาวะทารกถูกเขย่า
- เกิดอาการชัก
- หายใจลำบาก
- หายใจติดขัด
- รู้สึกตื่นตัวได้ยาก
- ตัวสั่น
- โคม่า
- อาเจียน
- มีสีผิวที่เปลี่ยนไป
- เป็นอัมพาต
ผลข้างเคียงถาวรซึ่งเกิดจากภาวะทารกถูกเขย่าอาจรวมไปถึง:
- พัฒนาการที่ล่าช้า
- สูญเสียการมองเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน
- เกิดความบกพร่องในการเรียนรู้
- อาการชัก
- สมองพิการ
ความเสียหายอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากการเขย่า:
ทารกที่กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการเติบโตยังมีระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่อ่อนแอ พวกเขายังมีแนวโน้มที่จะมีอาการบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตเนื่องมาจากการเขย่าดังนี้:
- กระดูกสันหลังเสียหาย
- กระดูกหัก
- ร่างกายฟกช้ำ
ป้องกันการเกิดภาวะทารกถูกเขย่า
ภาวะทารกถูกเขย่านั้นป้องกันได้ตราบใดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ให้ลูกถูกเขย่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม หากลูกทำให้เกิดความเครียด ลองวางลูกลงในเปลหรือให้คนอื่น ๆ ดูแลลูกน้อยแทน และไม่ควรเขย่าลูกหรือทำอะไรก็ตามซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (1 สิงหาคม 2021)