ดาวน์โหลดแอป

การพักฟื้นหลังคลอด

การพักฟื้นหลังคลอด

ขอแสดงความยินดีด้วย! ในที่สุดลูกก็ได้ลืมตาดูโลกหลังจากที่คุณแม่รอคอยมานานกว่า 9 เดือน และตอนนี้ก็ได้เข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูหลังคลอดแล้ว
ตอนนี้การเดินทางของคุณแม่ยังไม่สิ้นสุด ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกการคลอดโดยธรรมชาติหรือการผ่าตัดคลอด (C-section) ร่างกายของคุณแม่ได้ผ่านความตึงเครียดอย่างมากเมื่อคลอดและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวให้กลับสู่สภาพเดิม

ใช้เวลานานเท่าไหร่ในการพักฟื้น?
ถึงแม้ว่าช่วงเวลา 6 สัปดาห์แรกจะถือเป็นช่วงเวลาในการพักฟื้นหลังการคลอด ร่างกายของคุณแม่อาจจะฟื้นตัวเร็วหรือช้ากว่านั้น หากคุณแม่เลือกการคลอดโดยธรรมชาติ คุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดคลอด

เรื่องควรรู้ในขณะที่พักฟื้นหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นภาวะปกติที่จะเกิดขึ้นหลังคลอด:

มีเลือดและน้ำคาวปลา (lochia) ออกจากช่องคลอด: ในช่วงเวลา 10 วันแรกหลังคลอด จะมีเลือดและน้ำคาวปลาหลั่งออกจากช่องคลอดในปริมาณมากกว่าประจำเดือนของคุณแม่ และอาจพบเจอก้อนเลือดเล็ก ๆ ผสมอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ของเหลวนี้จะค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีขาวหรือสีเหลือง และจะหยุดลงในไม่กี่สัปดาห์

เจ็บบริเวณฝีเย็บ: บริเวณระหว่างช่องคลอดและทวารหนักอาจจะรู้สึกเจ็บในช่วงเวลาสองถึงสามสัปดาห์แรกหลังคลอด ถึงแม้ว่าคุณแม่จะไม่ได้รับการผ่าตัดเปิดช่องคลอด หรือไม่มีการฉีกขาดระหว่างการคลอดก็ตาม

เจ็บบริเวณหัวนมและเต้านม: คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บที่เต้านมและหัวนมในช่วงแรก ๆ ซึ่งเกิดจากอาการคัดตึงของเต้านมเนื่องจากทารกของคุณยังไม่ได้เรียนรู้วิธีการเข้าเต้าที่ถูกต้อง

อาการคล้ายการเจ็บครรภ์: คุณแม่จะรู้สึกปวดตึงที่ช่วงท้อง เนื่องจากมดลูกยังคงหดรัดตัวอยู่ในช่วงเวลาสองถึงสามวันหลังคลอด คุณแม่จะรู้สึกปวดมากที่สุดในระหว่างการให้นม

ท้องผูก: คุณแม่อาจจะท้องผูกในช่วงเวลาสองถึงสามวันหลังคลอด ซึ่งเกิดจากความเจ็บที่บริเวณฝีเย็บ แผลเย็บ หรือยาแก้ปวดที่ใช้ในระหว่างการทำคลอด

ริดสีดวงทวาร: เกิดจากเส้นเลือดที่บวมในทวารหนัก ซึ่งอาจเจ็บปวดและอาจมีเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระ ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์หรือระหว่างการคลอด

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่: หากคุณแม่มีระยะคลอดเนิ่นนาน อาจเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เมื่อคุณแม่ไอ จาม หรือหักโหมมากเกินไป

รอยเย็บแผล: หากคุณแม่ได้รับการผ่าตัดเปิดช่องคลอดเพื่อให้ทารกคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น หรือคุณแม่มีแผลฉีกขาด คุณแม่จำเป็นที่จะต้องเย็บแผลที่บริเวณฝีเย็บ ไหมที่ใช้ในการเย็บจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการละลาย

อาการบวมน้ำ: ในระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะกักเก็บน้ำไว้มากขึ้นซึ่งทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ภาวะนี้จะยังคงอยู่ระยะหนึ่งหลังการคลอดเนื่องจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายยังสูงอยู่

น้ำหนักลดลง: ในวันแรกหลังจากคลอด น้ำหนักของคุณแม่จะลดลงไป 3-6 กิโลกรัม โดยน้ำหนักที่ลดลงไปมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักของทารก รก และน้ำคร่ำ หลังจากนั้น น้ำหนักหลังคลอดจะค่อย ๆ ลดลง

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน: หลังการคลอด ร่างกายของคุณแม่ต้องใช้เวลาสักพักในการปรับระดับฮอร์โมนให้กลับมาเป็นปกติ คุณแม่อาจเกิดอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน อาการที่อาจเกิดขึ้นเช่น เหงื่อออกมากเป็นพิเศษ การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอารมณ์ และผมร่วง

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์: คุณแม่อาจรู้สึกว่าอารมณ์แปรปรวน – นาทีหนึ่งอาจจะรู้สึกตื่นเต้นและอีกนาทีหนึ่งคุณอาจจะรู้สึกเศร้า อาการนี้เรียกว่าเบบี้บลูส์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยภาวะนี้มีระยะเวลาประมาณหนึ่งหรือสองสัปดาห์ หลังจากนั้นหากยังมีอาการอยู่ หรือหากสภาวะนี้ส่งผลต่อความสามารถในการดูแล ลูก คุณแม่อาจเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอดซึ่งมีอาการที่ร้ายแรงกว่าและควรติดต่อแพทย์ของคุณทันที

การดูแลตัวเองในระหว่างพักฟื้น
เคล็ดลับเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น:

ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
ควรติดต่อแพทย์ของคุณแม่ หากมีอาการดังต่อไปนี้:

รับรองโดย:

นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน