ดาวน์โหลดแอป

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Timeout

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Timeout

Timeout เป็นการแยกเด็กออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรม ซึ่งเป็นการช่วยให้เด็กใช้เวลาในการสงบสติอารมณ์ก่อนจะกลับไปเข้าร่วมสถานการณ์นั้น ๆ อีกครั้ง

Timeout เป็นมาตรการทางวินัยที่คุณพ่อคุณแม่บางท่านใช้เพื่อจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุตรหลาน แต่น่าเสียดายที่พวกเขาส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด และมักใช้ผิดวิธี

Timeout คืออะไร
นักจิตวิทยาพัฒนาการให้ความหมายของ Timeout ไว้ว่าเป็นการปรับพฤติกรรมของลูกด้วยการให้เขาได้อยู่นิ่งกับตัวเอง โดยปราศจากความสนใจของคุณพ่อคุณแม่ ของเล่น หรือเวลาเล่นในช่วงสั้น ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นการส่งเด็กที่ทำความผิดไปนั่งคนเดียวตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งโดยปกติจะไม่เกิน 1 นาที

ความเชื่อเกี่ยวกับ Timeout เหล่านี้ถูกหรือไม่?

1. Timeout คือเวลาส่วนตัวที่เด็ก ๆ ชอบ: ไม่จริง: เด็ก ๆ มักไม่ชอบการทำ Timeout เพราะไม่ต้องการหยุดพฤติกรรมที่ตนเองกำลังทำอยู่ เด็ก ๆ ก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่คือไม่ชอบที่จะถูกกีดกันหรือตัดออกจากพวก จึงไม่ชอบการทำ Timeout และต้องการให้ Timeout จบลงโดยเร็วที่สุด หากคุณต้องการใช้การทำ Timeout กับลูก ควรใช้เวลาให้สั้นที่สุด (นานสุด 2 นาที)

2. การใช้วิธี Timeout ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี: ไม่จริง การทำ Timeout เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กเท่านั้น การทำ Timeout เพียงเวลาสั้น ๆ จะได้ผล หากใช้อย่างสม่ำเสมอและเป็นส่วนหนึ่งของแผนการในการสร้างวินัยเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดี การทำ Timeout เป็นพัก ๆ หรือนาน ๆ ครั้งที่ไม่ใช่เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น อาจสร้างความสับสนให้แก่เด็ก และอาจทำให้พฤติกรรมต่าง ๆ แย่ลงได้

3. Timeout ทำให้เด็กได้ทบทวนสิ่งที่ทำลงไป: น่าเสียดายที่ไม่เป็นเช่นนั้น หากต้องการให้เด็กได้สะท้อนพฤติกรรมของพวกเขาการทำ Timeout เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จุดมุ่งหมายของ Timeout คือการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทันที หรือต้องการให้เด็กออกห่างจากการแรงกระตุ้นทุกประเภท หากคุณต้องการให้เขาเรียนรู้ที่จะไตร่ตรอง ให้สบตาของลูกตรง ๆ และอธิบายว่าคุณแม่ไม่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุผล เช่น “แม่ไม่ชอบเวลาที่ลูกตีคนอื่น” ซึ่งจะได้ผลดีกว่าคำพูดเชิงนามธรรม เช่น “การตีคนอื่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”

4. ระยะเวลาในการทำ Timeout ควรเหมาะสมกับความร้ายแรงของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์: การทำ Timeout นานขึ้นอาจตอบสนองความรู้สึกยุติธรรมของคุณแม่ แต่ก็ไม่ได้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จุดประสงค์เดียวของการทำ Timeout คือการหยุดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในขณะนั้น ซึ่งควรใช้เวลาให้สั้นที่สุด และไม่ควรเกิน 2 นาที

5. คุณสามารถใช้การทำ Timeout เพื่อแสดงให้ลูกเห็นว่าใครคือผู้มีอำนาจ: ไม่จริง: การทำ Timeout นั้นเพียงแต่ช่วยแยกเด็กออกจากพฤติกรรมที่ไม่ดีในขณะนั้น แต่ไม่ได้ทำให้เด็กเข้าใจว่าคุณคือคนที่ออกคำสั่ง หากคุณอยากพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก ควรใช้เวลากับเขาในการสร้างแบบอย่างของพฤติกรรมที่ดี และส่งเสริมพฤติกรรมในเชิงบวก โดยเฉพาะถ้าคุณเห็นว่าลูกชอบเลียนแบบพฤติกรรมของคุณ

6. การใช้กำลังบังคับให้ลูกทำ Timeout เป็นเรื่องปกติ: การใช้กำลังควบคุมร่างกาย หรือบังคับให้ลูกทำ Timeout นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และผิดจุดมุ่งหมาย แต่เป็นการให้ความสนใจในตัวลูก ซึ่งจะกลายเป็นรางวัลสำหรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเขาแทน อย่าลืมว่าสาระสำคัญของการทำ Timeout คือการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และนำเด็กออกจากสิ่งกระตุ้นทุกประเภท

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน