ดาวน์โหลดแอป

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของทารก

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของทารก

แม้ว่าทารกอายุน้อยกว่า 12 เดือนจะยังสื่อสารผ่านคำพูดไม่ได้ แต่ก็มีหลายอย่างเกิดขึ้นภายในมากกว่าการร้องไห้ การพยายามเปล่งเสียงจากลำคอ และเวลาที่พวกเขาเงียบ

ทารกเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ระบบการได้ยินของทารกจะเริ่มมีการพัฒนาและจะสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้ ในเวลานี้พวกเขาจะยังไม่สามารถได้ยินเสียงที่พูดออกมาเป็นคำ ๆ แต่พวกเขาสามารถเข้าใจจังหวะและน้ำเสียงรอบ ๆ ตัวของพวกเขาได้ โดยมีคุณแม่เป็นแหล่งเสียงที่สำคัญ สมองของพวกเขาจะเริ่มประมวลผลรูปแบบการได้ยินเหล่านี้ ซึ่งทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับภาษาแรกของพวกเขา

ทารกจะเริ่มเล่นกับเสียงต่าง ๆ เมื่อพวกเขามีอายุประมาณ 2 เดือน
มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมาโดยสมองที่มีการตั้งค่าไว้แล้วว่าจะเรียนรู้ภาษาใดก็ได้ ตั้งแต่แรกเกิด พวกเขาประมวลผลเกี่ยวกับเสียงรอบ ๆ ตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้ว ทารกจะเริ่มเล่นกับเสียงต่าง ๆ ที่พวกเขาสามารถเปล่งเสียงได้ คุณแม่อาจได้ยินลูกออกเสียงสระเช่น อาา อือ หรือ โออ ตั้งแต่พวกเขาอายุ 2 เดือน ก่อนที่พวกเขาจะสามารถพัฒนาการต่อไปสู่การผสมพยัญชนะกับสระ เช่น บูหรือทาทา ภายใน 6 เดือน พวกเขายังเรียนรู้ว่า พวกเขาสามารถสื่อสารความต้องการผ่านเสียงต่าง ๆ ที่พวกเขาทำ และเริ่มทำเสียงในแบบที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการต่าง ๆ นั่นเอง

จาก 6 – 9 เดือนเป็นต้นไป พวกเขาจะเริ่มเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างเสียงและวัตถุต่าง ๆ รอบตัว
นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและนักจิตวิทยาเด็กหลายคนมีความเข้าใจว่าทารกนั้นยังไม่สามารถเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ ได้จนขวบปีแรก แต่การศึกษาล่าสุดทำให้ความเชื่อนี้เปลี่ยนไป ถึงแม่ว่าทารกอายุ 6 เดือนจะไม่ได้ชี้หรือพูดคุย ในระหว่างนั้นมีหลายสิ่งเกิดขึ้นในสมองของพวกเขา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียให้ทารกในช่วงอายุ 6 – 9 เดือนดูรูปภาพที่ประกอบด้วยรูปและคำทั่วไปอย่างเช่น “แอปเปิล” ซึ่งรวมอยู่ในรูปภาพที่มีความซับซ้อน โดยมีภาพสิ่งของนั้น ๆ อยู่ในรูปด้วย เมื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวของดวงตาพวกเขาพบว่า ทารกทุกคนจ้องมองสิ่งที่มีชื่อบนรูปภาพนานกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ ในรูป ในตอนนี้ ถึงแม้ว่า ลูกอาจจะไม่เข้าใจทุกสิ่งที่คุณแม่พูด แต่ยิ่งคุณแม่โต้ตอบด้วยการพูดกับเขามากขึ้นเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น!

ทารกจะเริ่มแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษาออกได้เมื่ออายุ 7 – 8 เดือนเป็นต้นไป
ในช่วงอายุ 7 – 8 เดือน สมองของเด็กเริ่มจะแยกออกระหว่างเสียงที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาษากับตัวภาษาเอง เสียงที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับภาษาจะถูกคัดกรองออกโดยสมอง การค้นพบนี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียว มีความยากลำบากในการได้ยินความแตกต่างในภาษาที่ประกอบด้วยวรรณยุกต์ เช่น ภาษาไทย หรือภาษาจีนกลาง เมื่ออายุ 8 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะสามารถรับรู้กลุ่มคำต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของประโยคยาว ๆ จากภาษาที่พวกเขาได้ยินบ่อย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถเข้าใจได้โดยการค้นหา และเชื่อมโยงรูปแบบของเสียงเข้าด้วยกัน เพราะสมองของพวกเขามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว พวกเขาสามารถคาดการณ์รูปแบบของเสียงใหม่ ๆ ได้ในภาษาภายในเวลา 2 นาทีหรือน้อยกว่า หากคุณแม่ต้องการให้ลูกสื่อสารได้หลายภาษา เวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่จะให้เขาเรียนรู้ผ่านการเล่นและโต้ตอบกับเจ้าของภาษานั้น ๆ วันละ 15 นาทีเป็นอย่างต่ำ

ภายในเวลา 12 เดือน ทารกจะเริ่มเข้าใจภาษาหลักของเขาและเข้าใจแนวคิดของการสื่อสาร
เมื่อลูกน้อยเริ่มเชื่อมโยงความหมายกับคำศัพท์ และแยกแยะเสียงต่าง ๆ ได้ สมองของพวกเขาจะเริ่มให้ความสำคัญกับภาษาหลักของเขา เมื่อเขาอายุถึง 12 เดือน การออกเสียงอ้อแอ้ของพวกเขาจะเริ่มคล้ายกับภาษานั้น พวกเขาจะเริ่มเล่นกับการผันเสียงวรรณยุกต์และโครงสร้างพยางค์ พวกเขาอาจแทนที่เสียงร้องไห้ด้วยเสียงอื่น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ

ปีแรกคือเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกในการพัฒนาทักษะทางภาษา
แม้ว่าทารกจะมีการรับรู้ในเรื่องภาษาอย่างต่อเนื่องตลอดปีแรกของพวกเขา ในช่วงอายุ 6 – 12 เดือน เป็นช่วงเวลาที่มีการรับรู้ได้มากที่สุด เพราะว่านั่นคือช่วงที่สมองของพวกเขาพร้อมที่จะประมวลผลในด้านความหมายของคำ รูปแบบ และเสียงในอัตราที่เร็วขึ้น

6 สิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของพวกเขา:

  1. เลียนแบบสิ่งที่ลูกพูด
    เมื่อลูกออกเสียง ให้พูดซ้ำกลับให้เขาฟัง โดยยิ้มและใช้สีหน้าประกอบ ให้เขาได้มองเห็นรูปปากของคุณชัด ๆ แล้วรอเพื่อให้เขาตอบกลับ การทำเช่นนี้ช่วยให้เขาเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของการสนทนา เช่น การหยุดชั่วคราว การผลัดกันพูด การเรียก และการขานตอบ การส่งต่อไปมานี้เรียกว่าการให้และตอบกลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากจนโรงเรียนพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขียนถึงการพัฒนาที่สำคัญนี้บนหน้าหนึ่งในเว็บไซต์เลยทีเดียว
  2. ให้คำเรียกกับสิ่งของและการกระทำ
    ช่วยให้ลูกจับคู่คำกับสิ่งของและการกระทำ โดยการพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับการกระทำของเขาหรือสิ่งของที่พวกเขาสนใจในภาษาทารก และเน้นย้ำคำนั้น ๆ อย่างชัดเจน
  3. ให้ลูกได้รู้จักสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่
    พาลูกน้อยของคุณไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น ชายหาด สวนสัตว์ หรือสนามเด็กเล่น เพื่อให้เขาได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ รวมไปถึงรู้จักสิ่งของและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
  4. พูดคุยกับลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    สมองของลูกน้อยพร้อมที่จะเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ คุณแม่อาจสังเกตเห็นพวกเขาคอยหาแหล่งที่มาของเสียงหรือให้ความสนใจกับการพูดคุยต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการพูดคุยกับพวกเขาโดยตรง เมื่อคุณแม่พูดคุยกับลูก ให้ใช้ประโยคที่เข้าใจง่าย ถามคำถาม และใช้น้ำเสียงที่หลากหลาย ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะไม่เข้าใจในทุกสิ่งที่คุณพูด แต่พวกเขาก็ชอบที่จะได้ฟังเสียงในขณะที่ได้ดูปากและสีหน้าของคุณแม่
  5. ให้ลูกได้ฟังเสียงที่หลากหลาย
    ให้ลูกน้อยได้รับฟังเสียงในหลาย ๆ แบบ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะการฟัง การมีทักษะการฟังที่ดีนั้นจะช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางด้านภาษาเมื่อพวกเขาโตขึ้นมาเป็นเด็กวัยเตาะแตะ พยายามใช้สิ่งของต่าง ๆ เช่นกระดิ่ง ของเล่นแบบเขย่า หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในการสร้างเสียงด้านหน้ารวมไปถึงทางซ้ายและขวาของพวกเขา หลังจากที่คุณแม่ทำเสียง ให้หยุดรอเพื่อให้ลูกตอบสนองโดยการหันหน้ามายังทิศทางของเสียง
  6. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง
    การอ่านหนังสือให้ลูกน้อยฟังจะช่วยให้เขาได้ยินคำศัพท์ต่าง ๆ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบประโยคที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ได้ยินในชีวิตประจำวัน เลือกหนังสือเล่มหนาที่มีรูปภาพสีสันสดใส โต้ตอบกับเขาโดยชี้ไปที่รูปภาพในขณะที่อ่านหนังสือให้พวกเขาฟัง และให้เวลาพวกเขาในการดูรูปและพิจารณาข้อมูลก่อนที่จะพลิกหน้าต่อไป ไม่ควรแทนที่หนังสือด้วยหน้าจอเด็ดขาด

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน