ดาวน์โหลดแอป

1,000 วันแรกคืออะไร และทำไมจึงมีความสำคัญ

1,000 วันแรกคืออะไร และทำไมจึงมีความสำคัญ

ช่วงเวลา 1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก ๆ  เนื่องจากเป็นช่วงเวลาในการวางรากฐานว่าลูกจะมองโลกและสร้างความสัมพันธ์กับคุณแม่และคนอื่น ๆ อย่างไร

1,000 วันแรกคืออะไร
1,000 วันแรก คือระยะเวลานับตั้งแต่เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงวันที่ลูกน้อยได้ฉลองวันเกิดครบ 2 ขวบ โดยรวมเวลาการตั้งครรภ์ 270 วัน (9 เดือน) 365 วันแรกสำหรับขวบปีแรก และอีก 365 วันถัดมาในขวบปีที่ 2 นั่นคือ 270 + 365 + 365 = 1,000 วัน

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตกำลังเริ่มงอกเงย เติบโต และพัฒนา เป็นช่วงเวลาที่ระบบในร่างกายส่วนใหญ่กำลังพัฒนาขึ้น ในความเป็นจริงแล้วการเจริญเติบโตของสมองเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์นั้น จะเกิดขึ้นภายใน 1,000 วันแรกนี้

ทำไม 1,000 วันแรกจึงมีความสำคัญ
คุณภาพของการดูแลที่ลูกได้รับในช่วง 1,000 วันแรกมีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ และการประสบความสำเร็จของเด็กในอนาคต ภาวะโภชนาการที่ไม่ดีในช่วง 1,000 วันแรกอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองที่กำลังเติบโตของเด็ก ซึ่งไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนมาได้ รวมถึงความสามารถทางสติปัญญา และทักษะชีวิตในอนาคต

ระยะต่าง ๆ ในช่วง 1,000 วันแรก
เมื่อแบ่งตามการเลี้ยงดู ระยะเวลา 1,000 วันแรก สามารถแบ่งออกเป็นสามระยะหลัก ๆ ดังนี้:

  1. การตั้งครรภ์
  2. วัยทารก
  3. วัยหัดเดิน

การตั้งครรภ์
เป็นช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์และได้รับสารอาหารจากเลือดของคุณแม่ ทารกจะได้รับสารอาหารแทบทุกอย่างที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยบำรุงทั้งตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และใช้ยาเสพติดทุกประเภท

วัยทารก
ช่วงวัยทารก หมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน  ในช่วงนี้ WHO แนะนำให้ทารกกินนมแม่ล้วน ๆ จนครบ 6 เดือน เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนสำหรับทารกที่กำลังเติบโต และมีประโยชน์ต่อทารกดังต่อไปนี้:

หากแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ คุณแม่สามารถใช้นมแม่ของผู้บริจาค หรือนมผงสำหรับทารกซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารกในช่วงเวลาสำคัญนี้แทนได้

วัยหัดเดิน
ช่วงเวลานี้อยู่ระหว่างช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่ทารกจะได้ลองทานอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือนมผงสำหรับทารก โดยทั่วไป WHO แนะนำให้เริ่มรับประทานอาหารเสริมที่เหมาะสมเมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน

คุณแม่อาจเริ่มจากอาหารเหลว 1 มื้อ และหลังจากนั้นค่อยเพิ่มจำนวนมื้ออาหาร และบดอาหารให้หยาบเพิ่มขึ้น และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นอาหารที่แข็งขึ้นเมื่อทารกเริ่มคุ้นเคย อาหารเริ่มต้นที่ดี ได้แก่ ผักต้มบดกับมันฝรั่ง ถั่ว ข้าว หรือไข่

ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปทุกชนิดในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต เนื่องจากอาหารแปรรูปมักมีไขมันเลว น้ำตาล และเกลือสูง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อลูกวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ และเนื้อแพะเนื่องจากเนื้อแดงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งและโรคหัวใจได้

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน