เริ่มพูดพึมพำเป็นเสียงพยัญชนะ “ม” และ “บ”
ลูกเริ่มออกเสียงที่คล้ายกับพยัญชนะ เช่น “ม” และ “บ” ลูกจะสามารถพูดคำว่า “หม่าม้า” หรือ “ป่าป๊า” ได้ในอีกไม่ช้า

ลูกเริ่มออกเสียงที่คล้ายกับพยัญชนะ เช่น “ม” และ “บ” ลูกจะสามารถพูดคำว่า “หม่าม้า” หรือ “ป่าป๊า” ได้ในอีกไม่ช้า
ทักษะการพูดของลูกฟังดูเหมือนภาษามากขึ้นเรื่อย ๆ พัฒนาการทางภาษาอีกก้าวหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรลองฟังดูคือเมื่อทารกสามารถพึมพำออกมาด้วยเสียงที่คล้ายกับพยัญชนะ เช่น “ม” และ “บ” หรือ “พ” ได้
ลูกสามารถออกเสียงสระ เช่น “อา” ได้แล้ว พัฒนาการขั้นต่อไปคือการรวมสระและพยัญชนะเข้าด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่จะสามารถได้ยินลูกพูดว่า “หม่าม้า” หรือ “ป่าป๊า” ภายในอีก 6 – 10 เดือน
วิธีส่งเสริมพัฒนาการ
คุยกับลูกให้บ่อยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อคุยกับลูกให้คุณพ่อคุณแม่ออกเสียงคำอย่างชัดเจนด้วยน้ำเสียงที่ผ่อนคลายในขณะที่จ้องมองตาของลูกเพื่อสนับสนุนให้เขาตอบกลับ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถใช้การเล่นเกม เช่น จ๊ะเอ๋ หรืออ่านนิทานให้ลูกฟังเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา การคุยกับลูกโดยตรงมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของเขามากที่สุด ในขณะที่ลูกก็สามารถเรียนรู้ได้โดยการฟังคุณแม่พูดคุยกับคุณพ่อหรือบุคคลอื่น ๆ ไม่แนะนำให้เรียนรู้จากโทรทัศน์ในช่วงเวลานี้ เพราะว่าเด็ก ๆ ต้องการความผูกพันทางอารมณ์ เพื่อให้สมองรับรู้ว่านี่เป็นข้อมูลที่สำคัญซึ่งควรค่าแก่การจดจำ
โปรดทราบ: เด็กแต่ละคนมีการเจริญเติบโตและเรียนรู้ในระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป สำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กอาจไม่ถูกต้อง
ที่มา: ข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กนั้นมีการรวบรวมมาจากหลายแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) แบบทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Denver Developmental Screening Test) และ สถาบันวิจัยเด็กปฐมวัย (the State Institute of Early Childhood Research, Germany (IFP)
รับรองโดย:
เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (13 มิถุนายน 2021)