ดาวน์โหลดแอป

ไตรมาสแรก จากคุณหมอ

อัปเดต

ไตรมาสแรก จากคุณหมอ

ไตรมาสแรกเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดสำหรับลูก เนื่องจากมีโอกาสในการแท้งบุตรสูงกว่าไตรมาสอื่น ๆ และเป็นช่วงเวลาที่อาการแพ้ท้องจะเยอะที่สุด

ในช่วงเวลา นี้สมองหัวใจและอวัยวะภายในของลูกจะถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึก เหนื่อยและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นี้ ลูกจะพัฒนาสมอง ปอด ตับ หลอดประสาท ศีรษะ และสร้างแขนขาเล็ก ๆ ของเขาขึ้น สมองน้อย ๆ ของเขาจะเพิ่มปริมาณเซลล์ขึ้นถึงจำนวน 1 แสนเซลล์ต่อนาที พัฒนาการของลูก
ประมาณสัปดาห์ที่ 6 หัวใจของเขาจะเริ่มเต้นในอัตตราเป็น 2 เท่าของคุณแม่ และคุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของเขาเต้นเร็ว ๆ นี้ เมื่อไปพบคุณหมอในประมาณสัปดาห์ที่ 9 ลูกอาจจะเริ่มเคลื่อนที่ไปมาในมดลูก แต่คุณแม่จะยังไม่สามารถรู้สึกได้จนกว่าจะถึงไตรมาสที่ 2 

อาการของคุณแม่
ร่างกายของคุณแม่กำลังจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ รวมถึงความเมื่อยล้า อ่อนเพลีย การไวต่อความรู้สึกของเต้านม และปัสสาวะบ่อยขึ้น การเพิ่มน้ำหนัก ในช่วงนี้โดยมากจะมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากกว่าที่จะมาจากลูก เพราะเขายังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมีผลกระทบกับหนักตัวของคุณแม่ได้ คุณแม่จะมีการคลื่นไส้ หรือแพ้ท้อง อาจจะทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์จากความอยากอาหารที่แปลกประหลาดบางอย่าง คุณแม่อาจจะมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่ายขึ้นและมีการรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันและคัดกรองสารพิษและอันตรายจากภายนอกสู่ลูก อาการไม่สบายเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไประยะหนึ่ง และความเป็นไปได้ของการแท้งบุตรก็จะลดต่ำลงมากเมื่อสิ้นสุดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

การปรับตัว
เนื่องจากร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางอย่างเช่น การเข้านอนให้เร็วขึ้น หรือรับประทานอาหารน้อยลงในแต่ละมื้อแต่เพิ่มจำนวนมื้อให้ถี่ขึ้น ทุกอย่างที่คุณแม่รับประทานเข้าไปจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกในครรภ์ คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ 

ควรทานอะไร
เลือกรับประทานผักใบเขียว อาหารที่มีสีแดง ผลไม้ เต้าหู้ ไข่ ถั่ว และปลา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานโฟลิค และวิตามินเสริมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และลองเรียนรู้เพิ่มเติมว่าอาหารที่คุณแม่ชอบนั้นปลอดภัยกับลูกหรือไม่ และมีอะไรที่ต้องเลี่ยงเป็นพิเศษบ้าง การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่จะต้องหยุดบริโภคสิ่งเหล่านี้และจำกัดปริมาณคาเฟอีน สำหรับยารักษาโรคก็ควรจะปรึกษาคุณหมอทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดไม่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงความเครียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะลูกกำลังอยู่ช่วงการพัฒนาเซลล์สมอง 

นัดคุณหมอ
ไตรมาสแรกคุณแม่จะได้เจอคุณหมอประมาณ 2-3 ครั้ง ในนัดครั้งแรกคุณหมอจะยืนยันการตั้งครรภ์ คำนวณกำหนดวันคลอด พูดคุยซักประวัติเรื่องราวสุขภาพของคุณแม่และครอบครัว รวมถึงการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และชั่งน้ำหนัก ในนัดครั้งที่ 2 คุณหมอจะมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติม และอาจทำอัลตราซาวนด์ดูอัตตราการเต้นหัวใจของเด็ก ซึ่งคุณแม่ก็จะได้เห็นภาพของลูกเป็นครั้งแรก ทำให้การตั้งครรภ์ดูเป็นเรื่องจริงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ในครั้งต่อไปคุณหมอจะพูดถึงการตรวจคัดกรองก่อนคลอดหรือการตรวจ DNA เพื่อดูความเป็นไปได้ของโรคดาวน์ซินโดรมซึ่งมีความเสี่ยงในคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

การสร้างชีวิตใหม่น้อย ๆ อีกชีวิตหนึ่ง จำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างมาก พยายามผ่อนคลายและพักผ่อนให้เต็มที่ในช่วงแรก ๆ นี้ คุณแม่ยังต้องผ่านอีก 2 ไตรมาส ก่อนที่จะเจอกับเจ้าตัวเล็ก

คำอธิบายโดย นพ. วรชัย ชื่นชมพูนุท

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน