ดาวน์โหลดแอป

คำแนะนำเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยินของทารก

คำแนะนำเกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยินของทารก

ทักษะการมองเห็นและการได้ยินอย่างเป็นปกติมีความสำคัญของต่อพัฒนาการของลูก

ลูกต้องการจะมองเห็นเพื่อสำรวจโลกรอบตัว และเพื่อการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ในทำนองเดียวกันเพื่อพัฒนาทักษะการพูดและภาษา ลูกน้อยของคุณแม่ควรมีความสามารถในการได้ยินคำพูดได้

จากสถิติพบว่า การประเมินความผิดปกติทางการเห็นและการได้ยิน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เด็กที่สงสัยว่ามีปัญหาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยในพัฒนาการของพวกเขาได้ 

อย่างไรก็ตาม การประเมินปัญหาเหล่านี้ในวัยทารกเป็นเรื่องยาก ซึ่งต้องใช้การสังเกตอย่างถี่ถ้วนและความรู้เกี่ยวกับการมองเห็นและการได้ยินของเด็กทารก

ลูกของคุณแม่มองเห็นอะไรได้บ้าง?
เช่นเดียวกับวิธีที่ทารกเรียนรู้ที่จะเดินและพูดคุย พวกเขาจะใช้เวลาในการเรียนรู้ที่จะมองเห็น ลูกไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความสามารถด้านการมองเห็นทั้งหมด แต่จะค่อย ๆ พัฒนาความสามารถในการมองเห็นไปพร้อม ๆ กับการเจริญเติบโต ลูกจะเรียนรู้วิธีการโฟกัสดวงตา มองตามวัตถุด้วยสายตา และใช้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานประสานกัน

ในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต ลูกจะสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 – 30 เซนติเมตรเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจคือนั่นเป็นระยะห่างระหว่างแม่กับหน้าลูกในระหว่างการให้นม คุณแม่และลูกน้อยจะได้ทำความรู้จักกันอย่างรวดเร็ว ดวงตาของเขาจะมีความไวต่อแสงจ้ามาก ดังนั้นลูกจึงมีแนวโน้มที่จะลืมตาในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย และเป็นเรื่องปกติที่ดวงตาจะลอยออกไปด้านใดด้านหนึ่งเนื่องจากกล้ามเนื้อตาของเขายังอ่อนแอ

เด็กทารกสามารถมองเห็นสีสันสดใสได้ตั้งแต่แรกคลอด ดังนั้นควรให้ลูกมองดูสิ่งที่มีสีสันสดใสและน่าดึงดูดต่าง ๆ  ภายในช่วงอายุ 4 – 6 สัปดาห์ ลูกควรจะจ้องมองใบหน้าของคุณแม่อย่างตั้งใจได้ และทั้งคุณแม่และลูกน้อยสามารถมีเวลาส่วนตัวได้ ในขณะที่ลูกพยายามเลียนแบบการแสดงออกทางสีหน้าของคุณแม่ เมื่อครบ 3 เดือน ลูกจะสามารถใช้สายตามองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ ภายใน 6 เดือนดวงตาทั้งสองข้างของเขาควรทำงานประสานกันได้ และลูกน้อยของคุณแม่จะสามารถจดจำใบหน้าที่คุ้นเคยได้แม้อยู่ในระยะไกล

คุณแม่ทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยการมองเห็นของลูก?
ทัศนวิสัยของลูกจะพัฒนาไปตามธรรมชาติ แต่คุณแม่สามารถสนับสนุนเขาในพัฒนาการนี้ได้ โดยจัดหาสิ่งที่น่าสนใจให้เขามองดู ทารกมักสนใจที่จะมองใบหน้าของมนุษย์ รวมไปถึงรูปร่างและลวดลายที่แตกต่างกันซึ่งมีสีสันสดใส คุณแม่สามารถวางของเหล่านี้ไว้ในระดับสายตาของลูกได้

ติดตั้งโมบายสำหรับเด็กซึ่งสามารถปลิวไปตามลมไว้ที่ด้านบนของเปลของลูก โมบายจะช่วยให้ลูกได้ฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตาเมื่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ โปรดทราบว่าโมบายสำหรับเด็กจะมีประโยชน์สูงสุด เมื่อติดอยู่กับเปลหรือมีสายเล็ก ๆ ห้อยลงมาซึ่งทารกสามารถยืดขาไปเตะได้ โดยทารกอาจพยายามเอื้อมมือหรือเตะขาออกไปให้โดนโมบายเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ทารกพยายามเคลื่อนไหวด้วยตัวของเขาเอง

อะไรที่ควรตรวจสอบและเมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรกังวล?
เนื่องจากการมองเห็นของทารกยังพัฒนาอยู่คุณแม่อาจไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ในช่วง 6 เดือนแรก แต่หากหลังจากลูกน้อยอายุครบ 6 เดือน แล้วคุณแม่สังเกตเห็นว่าดวงตาข้างใดข้างหนึ่งของทารกเหล่ออกไปด้านนอกควรปรึกษากุมารแพทย์ สัญญาณอื่น ๆ ที่ต้องระวัง ได้แก่ ภาวะน้ำตาไหลตลอดเวลา ตาแดงเรื้อรัง และการเอียงศีรษะเพื่อมองวัตถุ

วิธีปกป้องสายตาของลูก
วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องการมองเห็นของ ลูกคือการปกป้องดวงตา ควรเก็บของมีคมให้ห่างจากลูกน้อยของคุณ และเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นควรให้เขาสวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกแดด เพื่อป้องกันรังสียูวีสัมผัสกับดวงตาโดยตรง

ลูกของคุณแม่ได้ยินอะไรบ้าง?
ลูกเริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ดังนั้นในช่วงแรกเกิดลูกน้อยของคุณแม่จะได้ยินเสียงและจำเสียงของแม่ได้แล้ว เขาอาจสะดุ้งเพราะได้ยินเสียงดังอย่างกะทันหัน หรือรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ยินเสียงเบา ๆ ที่คุ้นเคยและจดจำได้

อย่างไรก็ตาม ทารกแรกเกิดยังไม่สามารถแปลเสียงได้ เมื่ออายุได้ 3 – 4 เดือนลูกจะสามารถหันหัวไปตามทิศทางของเสียงที่ได้ยินได้ ทารกชอบที่จะได้ยินเสียงของมนุษย์ ดังนั้นคุณแม่ควรพูดคุยหรือร้องเพลงให้เขาฟังให้บ่อยขึ้น

ควรตรวจการได้ยินของลูกน้อยเมื่อใด?
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดก่อนออกจากโรงพยาบาล หากลูกไม่ได้รับการตรวจหรืออาจคลอดที่บ้าน คุณแม่ควรพาเขาไปรับการตรวจการได้ยินภายในเดือนแรกหลังคลอด ทารกที่สูญเสียการได้ยินมักได้รับการวินิจฉัยโดยการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด

นอกจากนี้ กุมารแพทย์จะทำการตรวจการได้ยินขั้นพื้นฐานในระหว่างการเข้ารับการตรวจตามปกติ หากทุกอย่างเป็นปกติการตรวจคัดกรองการได้ยินตามที่แนะนำครั้งต่อไปจะอยู่ที่อายุครบ 4 ปี การตรวจคัดกรองการได้ยินเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการตรวจหาสาเหตุและการรักษาปัญหาการได้ยินในระยะเริ่มต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสามารถปรับปรุงผลลัพธ์ของการได้ยินและการพูดในทารกที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้

รับรองโดย:

ดร. ประภาศรี นันท์นฤมิต (นักจิตวิทยาพัฒนาการ) (31 มีนาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน