ดาวน์โหลดแอป

ภาวะโคลิค

สุขภาพของลูก

ภาวะโคลิค

ภาวะโคลิค คืออาการร้องไห้มากเกินไปในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนใด ๆ ซึ่งอาจทำให้คุณแม่หงุดหงิด เครียด และกลัวเป็นบางครั้ง แต่โคลิคอาจไม่ใช่ภาวะที่เป็นอันตราย ทารกส่วนใหญ่ที่มีภาวะโคลิคจะสามารถดื่มนมได้ และเจริญเติบโตขึ้นตามปกติเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ ภาวะโคลิคมักจะหายไปได้เองเมื่ออายุครบ 6 เดือน

สัญญาณของภาวะโคลิค
ทารกที่มีภาวะโคลิคอาจมีรูปแบบการร้องไห้ดังนี้:

ทารกที่มีภาวะโคลิคอาจร้องไห้ในช่วงเช้าและเย็นบ่อยกว่าในช่วงกลางวัน

วิธีรับมือเมื่อพบว่าลูกมีภาวะโคลิค
คุณหมอมักแนะนำวิธีต่อไปนี้:

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?
โดยปกติแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องพาทารกที่มีภาวะโคลิคไปพบแพทย์ คุณพ่อคุณแม่เพียงแค่ต้องรับมือด้วยความใจเย็นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก หรือไม่สามารถที่จะรับมือกับการร้องไห้อย่างต่อเนื่องของลูกได้ คุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ หากลูกมีอายุเกิน 6 เดือนและยังมีภาวะโคลิคต่อเนื่อง ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากภาวะโคลิคมักจะหายไปเมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน

สาเหตุของภาวะโคลิค
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโคลิคในทารกนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด บางคนเชื่อว่าอาจเป็นเพราะในขณะที่ทารกยังเล็ก พวกเขายังอาจย่อยอาหารได้ไม่ดีเพราะระบบย่อยอาหารนั้นยังไม่สมบูรณ์ หรือทารกอาจร้องไห้เพราะพวกเขามีปัญหาการแพ้อาหาร เช่น การแพ้นมผงที่มีนมวัวเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นต้น

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (7 มีนาคม 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน