อาการฟันขึ้น
สุขภาพของลูก
โดยทั่วไปแล้วทารกจะเกิดมาพร้อมกับฟันน้ำนม 20 ซี่ โดยจะเริ่มโผล่พ้นเหงือกเมื่ออายุได้ 6 เดือน แต่ฟันของเด็กบางคนอาจจะยังไม่ขึ้นจนกว่าจะอายุ 1 ปี และฟันน้ำนมจะขึ้นครบทุกซี่เมื่อเด็กอายุ 2 – 3 ปี กระบวนการนี้เรียกว่าการงอกของฟัน
ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดออกในเวลาที่แตกต่างกันในช่วงวัยรุ่น และจะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ 32 ซี่โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการงอกของฟัน
เมื่อฟันน้ำนมแต่ละซี่สัมผัสกับพื้นผิวของเหงือก เหงือกจะเปิดออกเพื่อให้ฟันแทรกตัวขึ้นมา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดได้ คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักคิดว่าเมื่อฟันของลูกเริ่มงอก ลูกจะมีอาการต่อไปนี้:
- ร้องไห้โยเยหรือหงุดหงิดเป็นพิเศษ
- ไม่ยอมกินอาหารตามปกติ
- ต้องดูดวัตถุต่าง ๆ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หรือผ้ากันเปื้อน
- ดึงหูข้างเดียวกับฟันที่กำลังโผล่ขึ้นมา
อาการเหล่านี้อาจมีสาเหตุมาจากการงอกของฟันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการ หรืออาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อและการเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ได้
เมื่อฟันซี่ใหม่เริ่มงอกผ่านเหงือก บางครั้งเด็กอาจจะถูเหงือกไปมา ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
วิธีบรรเทาอาการจากการงอกของฟัน
หากคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการงอกของฟันของลูกน้อย อาจลองทำตามวิธีต่อไปนี้:
- ถูเบา ๆ ที่เหงือกของลูกด้วยนิ้วมือที่สะอาด
- ให้ลูกกัดวัตถุที่นิ่มและปลอดภัย เช่น แหวนยางกัดแช่เย็น (ห้ามแช่แข็ง) แปรงสีฟัน หรือจุกนม
- ทำอาหารให้เป็นเนื้อละเอียดขึ้น เพื่อลดการบดเคี้ยวของลูก
- ให้ของขบเคี้ยวบางอย่างกับลูก เช่น ผักหรือผลไม้แช่เย็นชิ้นใหญ่ที่ลูกจะไม่สามารถกลืนได้
หากลูกไม่ค่อยสบาย มีไข้ หรือท้องเสีย หรือคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับอาการอื่น ๆ ให้ลองปรึกษาแพทย์ เพราะอาการเหล่านั้นอาจไม่ได้เกิดมาจากการงอกของฟัน
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (7 มีนาคม 2020)