ท้องเสีย
สุขภาพของลูก
โรคท้องร่วง หรือท้องเสีย มักจะไม่ใช่สัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรง แต่ก็เป็นเหตุให้ทารกสูญเสียน้ำ เกลือแร่ และแร่ธาตุในร่ายกายได้
สาเหตุของโรคท้องร่วง
โรคท้องร่วงมักเกิดจากการติดเชื้อภายในลำไส้ เชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อคือ:
- ไวรัส (พบได้มากที่สุด) เช่น ไวรัสโรต้า
- เชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล เชื้อซาลโมเนลลา
- ปรสิต
บางครั้งเด็ก ๆ อาจมีอาการท้องร่วงจากสาเหตุอื่นได้ เช่น การแพ้อาหาร แพ้น้ำตาลแลกโตส หรือเกิดปัญหาอื่น ๆ ภายในลำไส้
อาการของโรคท้องร่วง
เด็ก ๆ มักจะปวดท้องก่อน และตามมาด้วยอาการท้องเสียนาน 3-5 วัน อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง:
- ถ่ายอุจจาระเหลวบ่อยครั้ง
- ปวดบิดในช่องท้อง
- มีไข้
- เบื่ออาหาร
- รู้สึกเหนื่อย
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- น้ำหนักลด
- มีอาการขาดน้ำ
สิ่งที่คุณแม่ควรทำ:
- ให้ลูกทานอาหารตามปกติ และให้ดื่มน้ำมากๆ
- ให้นมลูกเพิ่ม สำหรับทั้งคุณแม่ที่ให้นมแม่และนมผง
- คุณแม่สามารถละลายผงเกลือแร่ (ORS) กับน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ลูกดื่ม เพื่อทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปได้
สิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำ:
- ห้ามให้ลูกดื่มน้ำเปล่า
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม เพราะอาจทำให้อาการท้องร่วงแย่ลงได้
- อย่าให้ยาลดอาการท้องร่วงแก่ทารก ยกเว้นในกรณีที่คุณหมอเป็นผู้สั่ง
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?
คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ หากลูกมีภาวะดังต่อไปนี้:
- อายุน้อยกว่า 6 เดือน
- มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง หรือยาวนาน
- อาเจียนซ้ำ ๆ หรือปฏิเสธที่จะดื่มของเหลว
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- อุจจาระมีมูกหรือเลือดปน
สัญญาณบ่งบอกถึงอันตราย
คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันทีหากลูกมีอาการดังต่อไปนี้:
- ริมฝีปากแห้ง
- น้ำตาไหลน้อยหรือไม่มีเลยขณะร้องไห้
- ดวงตาโหลลึก
- ปัสสาวะน้อยลงหรือผ้าอ้อมเปียกน้อยลง
- มีอาการมึนงงหรือเวียนศีรษะ
- กระหม่อมบุ๋มหรือยุบลงไป
วิธีป้องกันโรคท้องร่วง
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกล้างมือสะอาดและบ่อยครั้งพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากใช้ห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคที่อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องร่วง
- ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดก่อนรับประทาน
- อย่าให้ลูกรับประทานผักสดในร้านอาหาร หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่าผักพวกนั้นถูกล้างสะอาดดีหรือไม่
- เมื่อคุณแม่ให้ลูกรับประทานเนื้อสัตว์ ควรเก็บโดยแช่เย็นตลอดเวลา และปรุงเนื้อจนสุกดี เนื่องจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมมีเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก และควรได้รับการปรุงสุกหรือเก็บรักษาเป็นพิเศษ