ดาวน์โหลดแอป

ทฤษฎีเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ทฤษฎีการเลี้ยงลูก

ทฤษฎีเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีเรื่องการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ชีวิตในวัยเด็กนั้นสำคัญมากต่อพัฒนาการและการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข และคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยลูกน้อยให้มีช่วงชีวิตในวัยเด็กที่ดีได้

ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงปฐมวัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการของสมองในระยะยาว แม้ว่าพันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของพัฒนาการแต่ประสบการณ์กลับเป็นสิ่งที่ช่วยให้เซลล์ประสาทในสมองส่วนต่าง ๆ ผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการด้านอารมณ์ ภาษา การเคลื่อนไหว การมองเห็น และความจำ 

หากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับการกระตุ้นมากเป็นพิเศษ เซลล์ประสาทในส่วนนั้น ๆ ก็จะผสานกันและเชื่อมโยงกับสมองส่วนอื่น  ได้ดีขึ้น กระบวนการนี้เรียกว่า  synaptic pruning 

ลองจินตนาการว่าสมองเปรียบเสมือนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยมหานครแห่งการเคลื่อนไหว ภูเขาแห่งความทรงจำ และหมู่บ้านแห่งการมองเห็น เมื่อเวลาผ่านไป เมืองเหล่านี้ก็เติบโตขยับขยายออกไปจนเชื่อมต่อถึงกัน ถ้าเมืองใดเมืองหนึ่งไม่ถูกพัฒนาก็อาจทำให้การสัญจรระหว่างเมืองต่าง ๆ มีปัญหา ไม่ต่างจากสมองที่อาจพัฒนาได้ไม่เต็มที่ และทำให้สารสื่อประสาทเดินทางติดขัด

30,000,000 ล้านคำ ที่หายไป
เบ็ตตี้ ฮาร์ทและท็อดด์ ริสลีย์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเปิดรับภาษาของเด็ก โดยเฉลี่ยเด็กจากครอบครัวที่ฐานะขัดสนจะได้รับฟังคำศัพท์ราว 600 คำต่อชั่วโมง ในขณะที่เด็กจากครอบครัวที่มีฐานะจะได้ฟังประมาณ 2,000 คำต่อชั่วโมง เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ ความแตกต่างของจำนวนคำจะอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านคำ และเด็กจากครอบครัวที่มีฐานะยังมักได้รับการกระตุ้นในแง่บวกมากกว่าอีกด้วย โดยเด็กจะถูกตำหนิเพียง 1 ครั้ง ในการชื่นชมทุก ๆ 6 ครั้ง แต่เด็กจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนมีแนวโน้มที่จะถูกตำหนิมากกว่าถูกชมถึง 2 เท่า ซึ่งนี่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในระยะยาวได้

ผลการวิจัย The Perry Pre-School
ในปี 1963 นักจิตวิทยาเดวิด ไวคาร์ทและทีมงานได้ทำการวิจัยโดยสุ่มแบ่งเด็กด้อยโอกาส 123 คนออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนเตรียมอนุบาลชั้นนำแห่งหนึ่งเป็นเวลา 2 ปี พวกเขาได้เรียนศิลปะ ฝึกการแก้ไขปัญหา และได้รับการดูแลการเอาใจใส่ ความรักและความเคารพเป็นอย่างดี ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร 

40 ปีต่อมางานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่สู่สาธารณะ ผลการวิจัยชี้ว่า เมื่อเด็กอายุ 5 ปี 67% ของเด็กที่ได้ไปเรียนในโรงเรียนเตรียมอนุบาลมีไอคิวสูงกว่า 90 และมีความพร้อมที่จะเข้าเรียนต่อ เปรียบเทียบกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีเพียง 28% ที่มีความพร้อม เมื่อเด็กอายุได้ 14 ปี เด็กทั้งสองกลุ่มเริ่มมีพัฒนาการในระดับที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อถึงอายุ 27 กลุ่มที่ได้เรียนเตรียมอนุบาลมีแนวโน้มที่จะมีบ้านเป็นของตนเองสูงกว่า และเมื่ออายุ 40 พวกเขาก็มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าและมีแนวโน้มที่จะเคยต้องโทษจำคุกน้อยกว่า

นักวิจัยสรุปว่าการได้เรียนเตรียมอนุบาลเป็นระยะเวลา 2 ปีไม่เพียงแต่จะช่วยให้เด็กฉลาดขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างทักษะด้านสังคม ความกล้า และความมานะพยายาม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่อาจส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จในชีวิต การลงทุนในการศีกษาเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นเงินจำนวนประมาณ 480,000 บาทสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมได้จากการลดอัตราการก่ออาชญากรรม ซึ่งการลุงทุนนี้สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ราว 6 ล้านบาทเลยทีเดียว 

ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ในปี 2006 นักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล เจมส์ เฮคแมนได้ตีพิมพ์ผลงานที่กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างชื่อ Heckman Curve ที่แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงงบประมาณไปกับการศึกษา ซึ่งการลงทุนในการศึกษาช่วงปฐมวัยนั้นให้ผลตอบแทนที่สูงที่สุด ทำให้รัฐบาลต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา ในประเทศเยอรมนี พ่อแม่ผู้ปกครองจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในการเลี้ยงลูกเป็นจำนวนมาก พ่อแม่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถลางานเพื่อไปเลี้ยงลูกโดยยังคงได้รับเงินเดือนเต็มจำนวนถึง 1 ปีเต็ม ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศส เด็กทุกคนจะได้สิทธิเรียนอนุบาลฟรี

 ในฐานะผู้ปกครอง ทุก ๆ นาทีที่คุณทุ่มเทไปกับการใส่ใจในพัฒนาการของเด็ก คุณกำลังช่วยสร้างอนาคตให้พวกเขา ดังที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนว่าไว้ว่า “การรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวเป็นประจำส่งผลดีต่อผลการเรียนมากกว่าการทำการบ้านเสียอีก”

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน