ดาวน์โหลดแอป

วิธีให้อาหารเด็กอายุ 1 – 2 ขวบ

การให้อาหารลูก

วิธีให้อาหารเด็กอายุ 1 – 2 ขวบ

ในช่วงอายุนี้ลูกค่อย ๆ ขยับเข้ามาใกล้ถึงเวลาที่เขาจะสามารถรับประทานอาหารซึ่งใกล้เคียงกับอาหารที่บุคคลในครอบครัวคนอื่น ๆ รับประทานแล้ว นั่นหมายความว่าทั้งคุณแม่และผู้ใหญ่คนอื่น ๆ จะกลายเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการช่วยให้ลูกน้อยมีนิสัยการบริโภคอาหารที่ดี

คุณแม่ให้ควรลูกน้อยทานอาหารแบบไหน?
ควรให้อาหารที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย ให้ลูกทานผลไม้และผักต่าง ๆ , ธัญพืช และอาหารจำพวกโปรตีน เนื่องจากเด็กวัยเตาะแตะมีความจุของกระเพาะอาหารที่เล็ก ทำให้พวกเขาอิ่มได้เร็ว ควรดูให้มั่นใจว่าคุณแม่เลือกอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน การให้อาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีความสำคัญอย่างไร?
อาการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยเตาะแตะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย จิตใจและอุปนิสัย ควรให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก เช่น เนื้อ ปลา ธัญพืชเสริมธาตุเหล็ก ไข่, ถั่วเลนทิลและถั่วชนิดต่าง ๆ และเต้าหู้ในทุกมื้อ อาหารเหล่านี้ช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กและช่วยในการเจริญเติบโตของ ลูก อีกทั้งยังเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง นอกจากนี้ ควรจำกัดปริมาณนมที่ลูกน้อยดื่มให้อยู่ที่ประมาณ 500 มล. ต่อวัน

ความจำเป็นของนม
เนื่องจากนมเป็นแหล่งของวิตามินดีและแคลเซียมที่ดีซึ่งช่วยสร้างกระดูกที่แข็งแรง การดื่มนมควรเป็นส่วนหนึ่งในโภชนาการของลูก สำหรับเด็กเตาะแตะอายุน้อยกว่า 2 เดือน การดื่มนมมีความสำคัญเพราะนมมีไขมัน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมอง

นมวัวเป็นแหล่งของวิตามินดีและแคลเซียมที่ดีสำหรับเด็กกำลังโต ให้ลูกน้อยดื่มนมวัวพาสเจอร์ไรส์ประมาณ 500 มล. ในแต่ละวัน เมื่อเขาอายุ 2 ขวบ คุณแม่สามารถเปลี่ยนไปให้นมไขมันต่ำ เช่น นมพร่องมันเนย 1%, 2% หรือนมขาดมันเนยหากลูกน้อยมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือหากว่ามีประวัติของโรคอ้วนและภาวะคอเลสเตอรอลสูงในครอบครัว

หากลูกน้อยไม่ยอมดื่มนมวัว คุณแม่สามารถลองให้เขาดื่มนมแพะ หรือผสมนมวัวกับน้ำนมแม่หรือนมผง เปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเป็นนมวัว 100%

ควรหลีกเลี่ยงการให้อาหารชนิดใดบ้าง?
โดยทั่วไปแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้ติดคอ เช่น ป๊อปคอร์น ลูกอมแบบแข็ง ฮอทด็อก องุ่นทั้งเมล็ด ถั่วต่าง ๆ , ลูกเกด และผักสด เนื่องจากลูกน้อยจะได้รับประทานอาหารที่หลากหลายในช่วงอายุนี้ คุณแม่ควรคอยสังเกตอาการแพ้ต่าง ๆ เมื่อให้เขาทานอาหารชนิดใหม่ เด็กวัยเตาะแตะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการแพ้อาหารหากเขาหรือสมาชิกคนใกล้ตัวในครอบครัวมีอาการแพ้ เช่น เป็นหอบหืดหรือโรคกลาก นอกจากนี้ ควรละเว้นอาหารแปรรูปทั้งหมด รวมถึงขนมหวานและอาหารที่มีรสเค็มจัด

ควรให้เด็กวัยเตาะแตะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าไร?
เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน พวกเขามีความต้องการด้านอาหารไม่เหมือนกันโดยขึ้นอยู่กับอายุ กิจกรรมในแต่ละวัน อัตราการเจริญเติบโต และความอยากอาหาร ความอยากอาหารของลูกน้อยยังได้รับผลกระทบจากสุขภาพ อารมณ์ อาหารที่คุณแม่ให้ และช่วงเวลาของวัน คุณแม่สามารถให้พวกเขาทานอาหาร 3 มื้อ รวมไปถึงมีเวลาทานอาหารว่าง 2 – 3 ครั้งต่อวัน

ไม่ควรบังคับให้ลูกทานอาหารเมื่อพวกเขาไม่หิว ให้ลูกได้เรียนรู้ในการตอบสนองความรู้สึกหิวและความรู้สึกอิ่มด้วยตัวเอง ในทางกลับกันก็ไม่ควรให้ลูกกินอาหารตลอดทั้งวันเช่นกัน สร้างกิจวัตรการกินแบ่งเป็นมื้อหลักและอาหารว่างให้ลูกน้อยได้ทำความคุ้นเคยเกี่ยวกับตารางการรับประทานอาหาร

อย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์ของลูกน้อยหากคุณแม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับปริมาณการรับประทานอาหาร

รับรองโดย:

นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (8 กรกฎาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน