วิธีให้อาหารเมื่อลูกอายุ 8 – 12 เดือน
การให้อาหารลูก
เมื่อลูกอายุครบ 8 เดือน ควรให้อาหารบดละเอียด ผัก ผลไม้ ธัญพืชหรือข้าวเสริมควบคู่ไปกับน้ำนมแม่และนมผงเพื่อค่อย ๆ ให้ลูกน้อยชินกับการกิน
เปลี่ยนนิสัยการกินของลูก
เมื่อคุณต้องการให้ลูกน้อยทานอาหารประเภทใหม่ ลองให้เขาทานประเภทนั้น ๆ เป็นเวลาสองวันถึงหนึ่งสัปดาห์ก่อนเพื่อคอยสังเกตอาการแพ้
เคล็ดลับต่าง ๆ ในการแนะนำอาหารแข็งกับลูกมีดังนี้:
- หลีกเลี่ยงการบังคับให้ลูกน้อยรับประทานอาหาร: เด็กอ่อนมักมีการรับประทานอาหารที่ไม่แน่นอน พวกเขาอาจทานอาหารชนิดหนึ่งในวันนี้ แต่ไม่ทานสิ่งเดิมอีกในวันต่อไป
- แนะนำอาหารชนิดใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป: จะดีกว่าถ้าค่อย ๆ แนะนำอาหารทีละชนิดทุกสองสามวัน เพื่อคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเกี่ยวกับการแพ้อาหารได้ง่ายเช่น ผื่นแดง อาเจียน ท้องอืด และมีการสำรอกอาหารออกมา
- ให้อาหารที่มีเนื้อสัมผัสหลากหลาย: ในช่วงอายุนี้ลูกสามารถเคี้ยวอาหารได้แล้ว ให้ลูกน้อยลองทานอาหารนิ่มเช่น มันบด พุดดิ้ง ไข่ เยลลี่ และโยเกิร์ต
- ให้อาหารทารกน้อยทีละนิด แต่ให้บ่อย ๆ: เนื่องจากทารกมีกระเพาะอาหารเล็ก จึงจะดีกว่าที่จะให้พวกเขาทานอาหารทีละนิด แต่ให้บ่อย ๆ ในแต่ละวัน
- ให้ลูกน้อยทานอาหารโดยใช้มือหยิบได้: ในช่วงอายุนี้ทารกสามารถใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้เพื่อหยิบอาหารมาทานได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถให้อาหารที่สามารถหยิบได้ด้วยนิ้วเพื่อให้ลูกน้อยลองรับประทาน
- สนับสนุนให้ลูกฝึกถือของ: เด็กน้อยบางคนสามารถถือแก้วหัดดื่มหรือช้อนได้แล้ว พยายามให้ลูกน้อยฝึกดื่มน้ำ น้ำนมแม่ หรือนมผงจากแก้ว หรือใช้ช้อนตักเข้าปากดู
ทำให้เวลารับประทานอาหารปลอดภัยสำหรับลูก
ควรเฝ้าดูทารกน้อยเสมอเมื่อเขารับประทานอาหารเนื่องจากอาหารบางชนิด เช่น ผลไม้ชนิดแข็ง ขนมปังขาว และผักสด สามารถติดคอได้
ให้อาหารที่นิ่มและสามารถละลายได้เองในปากแทน เช่น ผลไม้ที่ปรุงสุกแล้วหรือผลไม้กระป๋อง ข้าว ผักที่สามารถบดได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือ
อย่าลืมว่าไม่ควรให้ลูกน้อยทานน้ำผึ้งจนกว่าเขาจะอายุมากกว่า 12 เดือน เนื่องจากน้ำผึ้งอาจมีส่วนผสมของเกสรที่ก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึม (botulism) ในเด็ก อีกทั้งยังไม่ควรให้นมวัวแก่ทารกน้อย เนื่องจากนมวัวไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
ทำให้เวลารับประทานอาหารราบรื่น
ให้ลูกมีส่วนร่วมบนโต๊ะอาหารเสมอเพื่อที่เขาจะได้สังเกตการจับช้อนส้อม การรับประทานอาหาร และการพูดคุยสนทนาจากผู้ใหญ่ ซึ่งจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกดีต่อการรับประทานอาหาร
หากลูกปฏิเสธอาหารประเภทใหม่ ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจลองให้อาหารนั้นพร้อม ๆ กับเมนูโปรดของเขาเพื่อที่เขาจะกล้าลองมากขึ้น
ควรให้ลูกรับประทานอาหารในปริมาณเท่าไร?
ในขณะที่น้ำนมแม่และนมผงยังเป็นแหล่งของสารอาหารที่สำคัญเป็นอันดับแรกของเด็กอ่อน ซึ่งในระยะเวลาการพัฒนาการช่วงนี้ลูกอาจเริ่มอยากอาหารชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะช่วงที่เขาใกล้จะครบวันเกิดหนึ่งปี เพราะว่าเขาได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากขึ้นและปริมาณการดื่มนมอาจจะเปลี่ยนไป
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตสัญญาณต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าเจ้าตัวน้อยรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือมากเกินไป และปรับตามพวกเขา พวกเขาอาจปฏิเสธที่จะทานอาหาร หันหน้าหนีหรือคายอาหารออกมาเมื่ออิ่ม
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (8 กรกฎาคม 2021)