อาการแพ้อาหาร
สุขภาพของลูก
คุณจะสามารถเริ่มให้อาหารแข็งกับลูกได้เมื่อเขาอายุ 4 – 6 เดือน ควรเฝ้าระวังและสังเกตเมื่อให้อาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเคยมีประวัติที่เกี่ยวกับอาการแพ้ในครอบครัวมาก่อน
ควรเริ่มให้รับประทานอาหารต่าง ๆ อย่างไร
ควรเริ่มให้รับประทานอาหารเป็นอย่าง ๆ ไปในปริมาณน้อย เพื่อให้คุณแม่สามารถสังเกตอาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถรู้ได้ว่าอาหารชนิดไหนทำให้เกิดอาการแพ้
อาหารทั่วไปที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้:
ถึงแม้ว่าเด็กจะสามารถแพ้อาหารชนิดใดก็ได้ อาหารบางชนิดนั้นก็เป็นที่รู้จักว่าสามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ในเด็กได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
- ถั่งลิสง
- นมวัว
- ปลา
- อาหารทะเลเปลือกแข็ง
- ถั่วประเภทอื่น ๆ
- ถั่วเหลือง
- ไข่
- อาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนเช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
จะป้องกันอาการแพ้อาหารได้อย่างไร:
หากลูกน้อยไม่ได้มีปฏิกิริยาใด ๆ กับอาหารที่คุณแม่ให้เขาทาน ให้เพิ่มอาหารชนิดนั้นเข้าไปในโภชนาการของลูกเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังเมื่อเขาโตขึ้น จากการศึกษาพบว่าการชะลอไม่ให้รับประทานอาหารบางชนิดเช่น ถั่วลิสงและไข่จนกว่าทารกจะอายุ 6 – 12 เดือน อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดการแพ้อาหารได้
ทราบได้อย่างไรว่าลูกแพ้อาหาร
อาการแพ้อาหารนั้นแตกต่างออกไปในเด็กแต่ละคน โดยเด็กคนหนึ่งอาจออกอาการที่แตกต่างออกไปในช่วงเวลาที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการระบุอาการแพ้อาหารได้อย่างรวดเร็วดังนั้นควรพึงระวังไว้เสมอ อาการแพ้อาหารอาจส่งผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายทั้งสี่ส่วนนี้:
- ผิวหนัง: เช่น มีผื่นแดงคัน, มีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นผื่น คันและมีอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้นและปาก (ปฏิกิริยาทางผิวหนังเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากที่สุด)
- ระบบทางเดินอาหาร: อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง
- ระบบทางเดินหายใจ: น้ำมูกไหลหรืออุดตัน หายใจมีเสียงดังผิดปกติ ไอ หายใจลำบาก
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด: วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม
คุณแม่ควรทราบว่าอาการเหล่านี้สามารถ:
- ไม่ออกอาการหนัก และเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเท่านั้น
- อาการสามารถกำเริบได้ภายในไม่กี่นาทีจนถึง 2 ชั่วโมงหลังการรับประทานอาหาร
- อาจออกอาการหนักและเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งส่วนของร่างกาย
ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์หากคุณแม่คิดว่าลูกมีอาการแพ้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
อาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง
ในบางกรณี อาการแพ้อาหารอาจมีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิตซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าอาการภูมิแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ภาวะภูมิแพ้รุนแรงอาจเริ่มจากปฏิกิริยาที่มีความรุนแรงน้อยกว่าแต่สามารถแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการหายใจลำบากและการไหลเวียนโลหิตติดขัด ให้โทรเรียกรถพยาบาลทันทีหรือรีบไปที่โรงพยาบาลหากคุณแม่คิดว่าลูกน้อยของคุณอาจมีอาการแพ้อย่างรุนแรง หากคุณมีเอพิเนฟรีนแบบกระบอกฉีดอัตโนมัติให้รีบใช้ทันที
การเลี้ยงดูเด็กที่มีอาการแพ้อาหาร
โดยปกติแล้ว เด็กที่มีอาการแพ้อาหารจะสามารถหายได้เองเมื่อพวกเขาโตขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เด็ก 80% ที่แพ้นมวัวจะสามารถผ่านพ้นอาการแพ้ไปหลังอายุถึง 5 ปี หากลูกมีอาการแพ้อาหาร ควรอ่านฉลากอาหารอย่างละเอียดก่อนซื้อ
ระวังวัตถุเจือปนในอาหาร
สารเติมแต่งอาหารเช่น ซัลไฟต์ถูกใส่ไปในอาหารเพื่อเก็บอาหาร, เติมสีสันและปรับปรุงเนื้อสัมผัส รวมไปถึงทำให้มีความปลอดภัยในการเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น แต่เด็กบางคนมีอาการแพ้สารชนิดนี้ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบฉลากอาหารเสมอว่ามีการใส่สารปรุงแต่งชนิดใดบ้างก่อนซื้อ
รับรองโดย:
นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (15 กรกฎาคม 2021)