การดูแลหนังหุ้มปลาย
สุขภาพของลูก
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คือผิวหนังที่ห่อหุ้มและปกป้องบริเวณปลายอวัยวะเพศชาย
สิ่งที่ควรรู้:
- หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็ก ไม่ควรถูกดึงหรือรูดกลับด้วยการฝืนออกแรงเด็ดขาด
- หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็ก ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
- ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดบริเวณภายในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายของเด็ก
วิธีทำความสะอาดอวัยวะเพศชายและหนังหุ้มปลาย
คุณแม่ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดภายในหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศในเด็กและทารก เพียงแค่ล้างอวัยวะเพศชายเหมือนกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายของลูกก็เพียงพอ เมื่อถึงเวลาที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศสามารถรูดเข้าหาตัวได้ คุณแม่สามารถสอนให้ลูกทำตามขั้นตอนดังนี้:
- รูดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเข้าหาตัวเบาๆ
- ล้างส่วนหัวของอวัยวะเพศและด้านในของหนังหุ้มปลายด้วยน้ำอุ่น
- รูดหนังหุ้มปลายกลับเข้าที่หัวอวัยวะเพศ
- ล้างสบู่ออกให้สะอาดก่อนที่จะรูดหนังหุ้มปลายกลับเข้าที่
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กจะรูดลงได้เมื่อใด?
ในช่วง 2 – 3 ขวบปีแรก หนังหุ้มปลายจะติดอยู่ที่หัวส่วนของอวัยวะเพศชาย โดยเยื่อหุ้มเซลล์ จะค่อย ๆ สลายไปตามธรรมชาติเมื่อเด็กโตขึ้น
หนังหุ้มปลายจะสามารถรูดเข้าหาตัวได้ เมื่อพื้นผิวด้านในแยกออกจากส่วนหัวของอวัยวะเพศชาย และหนังหุ้มปลายเปิดกว้างขึ้นแล้ว กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในวัยเด็กหรือช่วงวัยหนุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุ 18 ปี
จะเป็นอย่างไรถ้าหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศถูกรูดเร็วเกินไป?
การดึงหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศก่อนที่จะเกิดการแยกตัวตามธรรมชาติ อาจทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาด ซึ่งจะทำให้เกิดความเจ็บปวด และสามารถทำให้เกิดปัญหาเช่น แผลเปิดที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
ก้อนสีขาวใต้หนังหุ้มปลายปลายอวัยวะเพศคืออะไร?
ก้อนสีขาว (ขี้เปียก) ประกอบด้วยเซลล์ที่เคยเป็นส่วนที่ยึดติดหนังหุ้มปลายกับส่วนหัวของอวัยวะเพศชายไว้ด้วยกัน เมื่อเซลล์ใหม่ก่อตัวขึ้น เซลล์เก่าจะขึ้นไปรวมตัวกันที่ใต้ปลายหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถกำจัดออกได้ นี่เป็นสัญญาณว่า การแยกออกระหว่างหนังหุ้มปลายกับส่วนหัวของอวัยวะเพศชายได้เกิดขึ้นแล้วตามธรรมชาติ
ทำไมหนังหุ้มปลายจึงโป่งพองขึ้นเมื่อลูกปัสสาวะ?
นี่เป็นข้อบ่งชี้ว่าหนังหุ้มปลายได้แยกออกจากส่วนหัวของอวัยวะเพศชายแล้วตามธรรมชาติ แต่การเปิดของหนังหุ้มปลายยังคงแคบอยู่ หากภาวะนี้เกิดขึ้นกับลูก คุณแม่สามารถทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้:
- ปรึกษาคุณหมอหากมีอาการรุนแรงซึ่งการไหลของปัสสาวะอาจถูกจำกัด และในบางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ครีมสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการ
- กระตุ้นให้ลูกพยายามดึงหนังหุ้มปลายกลับเข้าหาตัวเบา ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขอนามัยประจำวันที่สามารถช่วยได้
หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแดงเกิดจากอะไร?
บางครั้งส่วนปลายของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศอาจอักเสบหรือกลายเป็นสีแดง ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าอวัยวะเพศเกิดการระคายเคือง หากลูกยังใช้ผ้าอ้อมอยู่ ภาวะนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของผื่นผ้าอ้อม เมื่อแบคทีเรียในอุจจาระทำปฏิกิริยากับปัสสาวะ จะผลิตแอมโมเนียออกมา ซึ่งทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดผื่นผ้าอ้อม คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้:
- เปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยขึ้น
- เพิ่มระยะเวลาการไม่ใส่ผ้าอ้อมให้มากขึ้น
- ให้ลูกแช่ในน้ำอุ่น
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง เช่น การใช้สบู่ที่ให้ฟองมาก ๆ น้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูง ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักผ้าบางชนิด
- ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ปัสสาวะเจือจางมากขึ้น
- ปรึกษาคุณหมอหากหนังหุ้มปลายหรืออวัยวะเพศมีสีแดงเข้มขึ้น เจ็บปวดและบวม เนื่องจากอาจเกิดการติดเชื้อได้
จะเป็นอย่างไรถ้าหากไม่สามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศได้? (ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ)
ภาวะหนังหุ้มปลายตีบ หมายถึงภาวะที่ไม่สามารถดึงหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศให้เปิดขึ้นได้ เพราะการเปิดนั้นมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะขยายตามหัวของอวัยวะเพศได้ หากเป็นเช่นนี้ คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ ถ้าหากลูกยังไม่สามารถดึงหนังหุ้มปลายได้หลังจากผ่านวัยเด็กไปแล้ว
การขลิบคืออะไร?
การขลิบ เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออก ยังไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ที่บ่งชี้ว่าการขลิบนั้นจำเป็นสำหรับเด็กชายทุก ๆ คน โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมทำเนื่องจากประเพณีทางศาสนา