ดาวน์โหลดแอป

การทำ ICSI หรืออิ๊กซี่

การตั้งครรภ์

การทำ ICSI หรืออิ๊กซี่

การทำ ICSI (Intracytoplasmic sperm injection) หรืออิ๊กซี่ คือการผสมเทียมที่ใช้วิธีฉีดอสุจิเข้าไปในไข่ที่สุกแล้วโดยตรงเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ถือว่าเป็น IVF ประเภทที่พิเศษเพราะสามารถแก้ปัญหาบางอย่างที่ IVF ไม่สามารถแก้ได้

เหตุผลที่ควรทำ ICSI
การทำ IVF แบบปกติจะรอให้ตัวอสุจิเจาะไข่เข้าไปเพื่อทำการผสม แต่กระบวนการ ICSI จะทำการฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิได้ถึง 80% ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่ทำ IVF ไม่สำเร็จจึงนิยมใช้ ICSI เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากนี้แพทย์มักแนะนำให้ทำ ICSI หากคุณพ่อมีจำนวนอสุจิน้อย หรือมีปัญหาตัวอสุจิไม่แข็งแรง

ขั้นตอนในการทำ ICSI
ICSI มีขั้นตอนคล้ายกับการทำ IVF ยกเว้นขั้นตอนทำการผสมเทียม เนื่องจากเป็นขั้นที่ตัวอสุจิได้รับการช่วยเหลือในการเจาะเข้าไปในไข่เพื่อทำการปฏิสนธิ ขั้นตอนการทำ ICSI มีดังนี้

  1. การเตรียมร่างกาย: คุณแม่จะได้รับยาเพื่อช่วยบำรุงภาวะเจริญพันธุ์เป็นเวลาสองสามเดือน ยาจะกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่มากขึ้น หลังจากนั้นคุณแม่จะต้องทำการอัลตราซาวนด์และตรวจเลือดเพื่อคอยตรวจนับจำนวนไข่ และวัดระดับฮอร์โมน
  2. การเก็บไข่และอสุจิ: เมื่อไข่สุกแล้วแพทย์จะใช้ท่อขนาดเล็กที่มีเครื่องดูดตรงปลายทำการดูดไข่ออกมาจากรังไข่ ในบางกรณีที่ไม่สามารถเก็บอสุจิด้วยวิธีทางธรรมชาติได้ แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเก็บตัวอย่างตัวอสุจิจากคุณพ่อ
  3. การผสมเทียม: ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจตัวอย่างอสุจิที่เก็บมา และตรวจตัวอย่างไข่เพื่อเฟ้นหาตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุด  จากนั้นจะเลือกตัวอสุจิมาหนึ่งตัวและฉีดเข้าไปในไข่ที่สุกพร้อมผสมโดยตรง กระบวนการทั้งหมดนี้จะทำในจานเพาะเชื้อ
  4. การเคลื่อนย้ายตัวอ่อน: หลังการเก็บไข่ 3 – 5 วัน ตัวอ่อนที่ได้รับการผสมแล้วจะถูกเลือกมาเพื่อใส่กลับเข้าไปในมดลูกของคุณแม่ จำนวนตัวอ่อนที่ถูกใส่เข้าไปนั้นอาจมีมากกว่า 1 ตัว ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจร่วมกันของแพทย์และคนไข้ 
  5. รอคอย: หลังจากใส่ตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกแล้ว คุณแม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ หลังจากนั้น 6 – 8 สัปดาห์คุณแม่สามารถทานยาที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของตัวอ่อนในครรภ์ได้ การทำ ICSI ถือว่าสำเร็จก็ต่อเมื่อตัวอ่อนทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นการตั้งครรภ์ หากการทำ ICSI ครั้งแรกไม่สำเร็จ สามารถลองทำใหม่ ในอีก 1 เดือน หรือตามที่แพทย์แนะนำ

ความเสี่ยง
การทำ ICSI มีความเสี่ยงเหมือนกับการทำ IVF แต่เนื่องจากกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเพิ่มเติมดังนี้

ข้อดีของการทำ ICSI
นอกเหนือจากข้อดีที่เหมือนกับการทำ IVF แล้ว การทำ ICSI ยังมีข้อดีเพิ่มเติมดังนี้

อัตราการทำสำเร็จในการทำ ICSI ตามช่วงอายุ (โดยประมาณ)

เนื่องจาก ICSI เป็นส่วนหนึ่งของการทำ IVF อัตราการทำสำเร็จจึงใกล้เคียงกันมาก โดยการวิจัยพบว่าการทำ IVF ซ้ำ 3 ครั้งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์โดยรวมได้ถึง 50% นอกจากนี้ เพราะการทำ ICSI นั้นช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิของอสุจิกับไข่ ในขั้นตอนการผสมเทียม ดังนั้นการทำ IVF ในครั้งก่อน ๆ ที่เคยได้ตัวอ่อนปริมาณน้อยเนื่องจากปฏิสนธิไม่สำเร็จในขั้นตอนการผสมเทียมนั้น ก็มีโอกาสที่จะสำเร็จมากขึ้นเมื่อใช้  ICSI เข้ามาช่วยเสริม

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (10 ธันวาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน