อาการคัน กับภาวะน้ำดีคั่งในตับ
อาการคนท้อง
อาการคันเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าเกิดจากระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น แต่ผิวหนังที่ยืดออกเมื่อท้องของคุณแม่โตขึ้นก็ทำให้เกิดอาการคันได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการคันอาจเป็นอาการของโรคตับที่เรียกว่า ภาวะน้ำดีคั่งในตับในขณะตั้งครรภ์ (ICP) หรือที่รู้จักกันว่า Obstetric Cholestasis (OC) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
อาการคันเล็กน้อย
อาการคันที่ไม่รุนแรงมักไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของอาการที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากคุณแม่สังเกตเห็นว่าอาการมักรุนแรงขึ้นในตอนเย็นหรือตอนกลางคืน
คุณแม่ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ หากคุณแม่มีอาการคัน เพื่อให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยได้ว่าคุณแม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่
วิธีรับมือกับอาการคันที่ไม่รุนแรง
- สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ เพื่อลดโอกาสที่เสื้อผ้าจะเสียดสีกับผิวจนทำให้เกิดการระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ ควรเลือกใช้เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายจะช่วยระบายอากาศและความชื้นจากผิวได้ดีขึ้น
- อาบน้ำด้วยน้ำเย็น
- ทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิว เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม
ภาวะน้ำดีคั่งในตับขณะตั้งครรภ์
ภาวะน้ำดีคั่งในตับขณะตั้งครรภ์ (ICP) เป็นความผิดปกติของตับอย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะ ICP นี้ แต่ภาวะนี้ควรหายไปหลังจากที่คุณแม่คลอดแล้ว
ภาวะ ICP จะเกิดขึ้นเมื่อใด?
โดยทั่วไปอาการของโรค ICP จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ แต่บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์
อาการของภาวะ ICP เป็นอย่างไร?
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่มีภาวะ ICP มักจะมีอาการดังต่อไปนี้:
- มีอาการคันแต่มักไม่มีผื่น
- อาการคันนั้นสังเกตเห็นได้ชัดบริเวณมือและเท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย
- ไม่สามารถทนอาการคันได้ และแย่ลงในเวลากลางคืน แต่อาจไม่รุนแรง
อาการอื่นๆ:
- ปัสสาวะมีสีเข้ม
- อุจจาระสีซีด
- ผิวหนังและตาขาวมีสีเหลือง (คล้ายกับอาการของดีซ่าน) ซึ่งพบได้น้อย
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?
- มีอาการคันเล็กน้อย แต่รุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน
- มีอาการคันทั่วทั้งร่างกาย แต่อาจรุนแรงมากบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
รับรองโดย:
พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (2 มีนาคม 2020)