ดาวน์โหลดแอป

เดือนที่ 6: เริ่มให้ลูกกินอาหาร

พัฒนาการลูกในแต่ละเดือน

เดือนที่ 6: เริ่มให้ลูกกินอาหาร

เดือนนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มคลาน การทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ และการงีบหลับที่ยาวนานขึ้น 

คุณจะได้พบเรื่องน่าประทับใจมากมายที่จะกลายเป็นความทรงจำดี ๆ ร่วมกัน 

คุณแม่และลูกเป็นอย่างไรบ้าง
ภายในเดือนนี้คุณหมอของลูกน่าจะนัดตรวจร่างกายและฉีดวัคซีน อย่าลืมตรวจสอบบันทึกสุขภาพของลูกน้อย

ลูกน่าจะแสดงอารมณ์ได้หลากหลายขึ้น และทำเสียงต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจและขอสิ่งที่เขาต้องการ ต่อจากนี้ไปการทำเสียงจะกลายเป็นวิธีสื่อสารหลักของเขา

ทารกวัย 6 เดือนส่วนใหญ่เริ่มทานอาหารเพื่อเป็นอาหารเสริมนอกเหนือจากนมได้ในช่วงนี้ ก่อนที่ลูกจะเริ่มกิน เขาจะเตรียมตัวด้วยการฝึกกล้ามเนื้อร่างกายให้นั่งได้สักครู่ โดยไม่ต้องพยุง มีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรง และใช้มือหยิบของเข้าปากได้ นอกจากนี้การควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการคลาน ซึ่งน่าจะเริ่มในเร็ว ๆ นี้

คุณจะยุ่งกับการเตรียมอาหารให้ลูกน้อย รวมถึงการค้นหาอาหารโปรดที่ลูกชอบ และอาหารที่เขาไม่ชอบ นอกจากนี้คุณจะได้เรียนรู้ที่จะมองหาสัญญาณของการแพ้อาหาร หรืออาหารไม่ย่อยที่อาจเกิดขึ้นได้ 

อาหารเด็กอ่อนเป็นอย่างไร
ตั้งแต่แรกเกิดลูกดื่มแต่นมแม่ หรือนมผงมาตลอด อย่างไรก็ตามเมื่อเขาอายุ 6 เดือน เด็กทารกมักจะทานอาหารประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง 

วิธีให้ลูกเริ่มกินอาหาร 

อาหารบดเหลว: คุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มให้ลูกทานอาหารกึ่งเหลว โดยเริ่มจากอาหารง่าย ๆ เช่น แครอท ข้าวโอ๊ต หรือมันฝรั่ง โดยนำอาหารไปต้มให้สุกและบดละเอียดคล้ายซุปข้น แล้วใช้ช้อนป้อนให้ลูกน้อย คุณอาจผสมส่วนผสมหลายอย่างเข้าด้วยกัน แต่ซุปข้นที่ทำจากส่วนผสมอย่างเดียวจะช่วยให้รู้อาการแพ้อาหารที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า และจะช่วยให้รู้ว่าลูกชอบรสชาติอาหารแบบไหนได้ง่าย ผู้ปกครองมักเลือกให้ลูกทานอาหารในรูปแบบซุปข้นเพราะมีสารอาหารครบถ้วน และลดโอกาสการติดคอ 

ฝึกให้ลูกกินอาหารเอง (Baby-led weaning หรือ BLW) : วิธีฝึกให้ลูกทานอาหารเองหรือ BLW เริ่มเป็นที่นิยมในคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ เนื่องจากใช้เวลาเตรียมน้อยกว่า ทำความสะอาดน้อยกว่า และยังส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อของลูกอีกด้วย วิธีนี้แทนที่จะป้อนอาหารทารกโดยใช้ช้อน ทารกจะได้อาหารแบบนุ่มที่ปรุงสุกเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ เช่น เบบี้แครอท หรือชิ้นบร็อคโคลี่ เป็นต้น โดยทารกต้องหยิบอาหารนั้นขึ้นมาและเอาเข้าปากด้วยตนเอง จากนั้นทารกก็ต้องเรียนรู้การเคี้ยว และกลืนอาหาร ผู้ที่สนับสนุนวิธีนี้อ้างว่า วิธี BLW จะช่วยให้เด็กมีนิสัยการทานอาหารที่ดี ลดโอกาสน้ำหนักเกิน และให้ประสบการณ์การทานอาหารที่ดีกว่า เพราะเด็กจะได้เลือกอาหารที่จะทานด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียง เนื่องจากมีความเสี่ยงในการสำลักและติดคอ หากเลือกใช้วิธีนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และฝึกวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกสำลักอาหาร 

ทำไมจึงควรให้ลูกเริ่มกินอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ว่าคุณจะเลือกให้ลูกเริ่มกินอาหารวิธีไหน ควรมองว่าการกินในช่วงนี้คือการฝึกให้ลูกชินกับการเคี้ยวและกลืนรสชาติใหม่ ๆ และสัมผัสใหม่ ๆ เนื่องจากอาหารแข็งยังไม่ใช่แหล่งอาหารหลักของลูก 

เป้าหมายหลักของคุณคือ ให้ลูกได้มีประสบการณ์การทานอาหารที่ดี และเรียนรู้ที่จะกินอาหารเองได้ ดังนั้นควรแนะนำให้ลูกกินอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะช่วยให้ลูกมีเวลาปรับตัว และยังสังเกตการแพ้อาหารบางชนิดได้ง่ายอีกด้วย 

รับรองโดย:

เกศสุภา จิระการณ์ (นักสุขภาพจิต) (1 พฤศจิกายน 2023)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน