ดาวน์โหลดแอป

ทฤษฎีลำดับขั้นของพัฒนาการตามหลักการของฟรอยด์

ทฤษฎีการเลี้ยงลูก

ทฤษฎีลำดับขั้นของพัฒนาการตามหลักการของฟรอยด์
ทฤษฎีลำดับขั้นของพัฒนาการตามหลักการของฟรอยด์

ในทฤษฎีลำดับขั้นของพัฒนาการทางเพศ ฟรอยด์อธิบายถึงผลกระทบต่อพฤติกรรมของการจัดการแรงผลักดันทางเพศในวัยเด็ก

ทฤษฎีลำดับขั้นของพัฒนาการทางเพศของฟรอยด์นั้นกล่าวถึงการแสวงหาความพึงพอใจและการมีชีวิตรอดที่เปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการด้านชีววิทยา ตั้งแต่วัยแรกเกิดซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 5 ลำดับ

ลิบิโด
แรงขับทางเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพลังงานที่เรามีมาตั้งแต่กำเนิดที่ช่วยให้เราเอาชีวิตรอดได้ หรือ ลิบิโด ตามขั้นตอนการเจริญเติบโต เพื่ออธิบายว่าการแบ่งขั้นของการพัฒนาขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของร่างกาย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการเจริญเติบโต โดยแบ่งออกเป็น คือ ปาก (oral) ทวารหนัก (anal) อวัยวะเพศ (phallic) สิ่งแวดล้อมรอบตัว (latency) และ แรงกระตุ้นของเพศ (genital) หากเราได้รับประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนในช่วงเวลาเหล่านี้ อาจจะทำให้เราเกิดการติดขัดทางพัฒนาการได้ เช่นเป็นคนกระวนกระวาย ต้องการการพึ่งพา ติดสารเสพติด หรือซึมเศร้า

เพื่อที่จะเข้าใจทฤษฎีนี้มากขึ้น เราต้องดูผลงานของฟรอยด์ด้านจิตใต้สำนึกของคน การมีจิตใต้สำนึกหมายความว่าคนเราเก็บความทรงจำและประสบการณ์ในวัยเด็กเอาไว้โดยไม่รู้ตัว และประสบการณ์เหล่านั้นมีผลต่อพฤติกรรมตอนโตของเรา

3 ด้านของจิตใจ
ฟรอยด์กล่าวว่าจิตใจของคนเรานั้นแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ซีก เปรียบเสมือนเรือดำน้ำ ระดับจิตไร้สำนึกควบคุมความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์ ระดับจิตก่อนสำนึกมีอภิอัตตาสั่งการอยู่ และอัตตานั้นถูกควบคุมโดยทั้งระดับจิตก่อนสำนึกและระดับจิตสำนึก

ความต้องการตามธรรมชาติ
เด็กเล็กจะถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการตามธรรมชาติ และต้องการการทำให้พอใจในทันที เมื่ออายุได้ราว 7 ขวบเขาจะเริ่มพัฒนาอภิอัตตา หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำให้เขาต้องการเป็นพลเมืองดีและเป็นที่พอใจสำหรับคนอื่น ส่วนอัตตานั้นจะถูกพัฒนาในช่วงวัยรุ่นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างทั้งอภิอัตตาและความต้องการตามธรรมชาติ

ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะปาก (Oral stage) อายุ 0-1 ปี
ในปีแรกของชีวิตเราค้นพบโลกใบนี้ผ่านความรู้สึกจากการใช้ปาก เช่น การดูดนมแม่จากเต้าและขวดนม ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือช่วงขั้นตอนการหย่านม

ฮานส์หย่าจากนมแม่อย่างไม่มีปัญหา แม่ของเอินรีบให้หย่านมตั้งแต่อายุ 4 เดือน ซึ่งไวเกินไป ไอด้าถูกทิ้งให้ร้องไห้คนเดียวตอนหิว 

ฮานส์โตมาเป็นคนที่แข็งแรงและพึ่งพาตัวเอง เอินมีปัญหาจากการถูกหย่านมเร็วเกินไป โตมาจึงมักจะเคี้ยวหมากฝรั่งตลอดเวลาเพื่อแทนที่ความต้องการตรงนั้น ไอด้าใช้เวลาในชีวิตส่วนมากเพื่อค้นหาความสุขด้วยปากที่เธอไม่ได้รับในวัยเด็ก เมื่อโตมาจึงมีนิสัยชอบบงการและชอบเสพติด

ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะ ทวารหนัก (Anal stage) อายุ 1-3 ปี
เป็นช่วงที่พลังขับเคลื่อนของเด็ก มุ่งไปรวมอยู่ที่ความสามารถในการควบคุมระบบขับถ่าย และเป็นช่วงที่เราหัดเข้าห้องน้ำ

พ่อแม่ของฮานส์เอ่ยชมเวลาที่เขาพยายามใช้ห้องน้ำและให้เวลาเขาในการค่อย ๆ ทำได้ด้วยตัวเองและไม่กดดัน พ่อแม่ของเอินบังคับให้เขาหัดขับถ่ายในห้องน้ำร่างกายเขายังไม่พร้อม และมักจะทำโทษหากเขาเข้าห้องน้ำไม่ทัน พ่อแม่ของไอด้าไม่สนใจที่จะสอนเธอใช้ห้องน้ำเลย

ฮานส์เติบโตมาเป็นเด็กที่บุคลิกภาพดีและมีการยอมรับการปกครองที่สมเหตุสมผล การบังคับทำให้เอินโตมามีพฤติกรรมที่อัดอั้น (anal-retentive) ที่ชอบการควบคุมและตระหนี่ รู้สึกไม่ชอบร่างกายตัวเอง และ ยอมง่ายต่อการปกครอง ไอด้าเติบโตมามีพฤติกรรมเละเทะ (anal – expulsive) เป็นคนที่ไม่มีระเบียบและไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่ชอบถูกปกครอง

ขั้นแสวงหาความสุขจากอวัยวะเพศ (phallic stage) อายุ 3-6 ปี
พลังการขับเคลื่อนของเราตอนนี้มุ่งเน้นไปที่อวัยวะเพศ เพราะเราสามารถแยกแยะระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายได้แล้ว

เด็กผู้ชายเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์แบบคู่แข่งกับคุณพ่อ เรียกว่าปมเอดิปัส (Oedipus complex) ซึ่งเป็นความรู้สึกของเด็กผู้ชายที่รักและหวงแม่จึงอยากหาทางกำจัดคุณพ่อออกไป เหมือนที่ฮานส์และเอินรู้สึกอยู่ตอนนี้ แต่ลึก ๆ แล้วเด็กทั้งสองรู้ว่าคุณพ่อแข็งแกร่งกว่าตัวเองมาก และกลัวว่าจะโดนทำโทษถ้าคุณพ่อรู้ความรู้สึกที่แท้จริงของพวกเขา ฟรอยด์เรียกอารมณ์นี้ว่าความกังวลในการถูกตอน หรือกลัวว่าจะถูกริดรอนความเป็นชาย (castration anxiety) ส่วนไอด้าตอนนี้จะเริ่มรู้สึกอิจฉาการมีอวัยวะเพศชาย เพราะเธอเชื่อว่าการมีอวัยวะเพศชายคือการมีอำนาจและความควบคุม ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอปรารถนา

พ่อของฮานส์มีส่วนร่วมในช่วงเวลานี้เสมอ เขาสามารถหาทางออกให้พลังการขับเคลื่อนของฮานส์ด้วยการเลียนแบบพ่อ เห็นพ่อเป็นตัวอย่างของการเป็นผู้ชาย เมื่อโตขึ้นเขาจึงเรียนรู้ที่จะเคารพทั้งสองเพศ

พ่อของเอินไม่ได้อยู่กับเขาในช่วงวัยนี้ เขาไม่มีแบบอย่างการเป็นผู้ชายให้เห็น และเป็นเด็กที่ติดแม่ และเริ่มไม่มั่นใจในเพศของตัวเอง ทำให้เมื่อเขาโตขึ้นเขามักใช้ความรุนแรงกับผู้หญิง และชอบแข่งขันกับผู้ชายคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ไอด้ายังไม่สามารถก้าวข้ามความอยากมีอวัยวะเพศชายเพื่อที่จะได้รู้สึกมีอำนาจ เธอจึงรู้สึกว่าตัวเองนั้นด้อยอำนาจกว่าผู้ชายเมื่อโตขึ้น

ขั้นแสวงหาความสุขจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว (Latency stage) อายุ 7-13 ปี
ในระยะนี้พลังการขับเคลื่อนนั้นได้ถูกกดทับอยู่ เนื่องจากพลังงานทางเพศถูกเปลี่ยนเป็นพัฒนาการด้านทักษะการใช้ชีวิต อภิอัตตา (superego) ของเรากำลังพัฒนา ทำให้เรามีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีบุคคลในอุดมคติที่เป็นเพศเดียวกันกับตนเอง และมีเพื่อนฝูงมากขึ้น

ฮานส์มีกิจกรรมยามว่างที่หลากหลาย เอินชอบเรียนที่โรงเรียน และไอด้ามีเพื่อนผู้หญิงใหม่เยอะขึ้น 

ในระยะนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เด็กทั้ง 3 คนเติบโตพร้อมกับทักษะที่ได้พัฒนาในช่วงนี้

ขั้นแรงขับเคลื่อนจากเพศ (genital)
เมื่อเราเข้าสู่ขั้นแรงขับเคลื่อนจากเพศ พลังการขับเคลื่อนจะเริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้งและเราเริ่มรู้สึกสนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น

ฮานส์ ไอด้า และเอินต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการทางเพศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (id) และ อภิอัตตา (superego) ความต้องการในการอยู่ในกรอบศิลธรรมและจรรยาบรรณของสังคม โดยมี อัตตา (ego) เป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่าง จิตไร้สำนึก และ อภิอัตตา เพื่อให้เราสามารถทำตามความต้องการของเราได้โดยมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับได้

สำหรับฮานส์ที่มีชีวิตวัยเด็กค่อนข้างราบรื่นนั้นโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีอัตตาที่สมดุล เขามีระเบียบวินัยในการทำงาน มีความสัมพันธ์ที่ดี และมีชีวิตคู่ที่อบอุ่นและไม่ขาดหาย เอินมีอัตตาอ่อนกว่าอภิอัตตา แปลว่าเขายอมทำตามบรรทัดฐานของสังคมและยอมอยู่ใต้อำนาจแต่โดยดี ทั้งที่ขัดต่อความต้องการของตัวเอง จึงทำให้เขามีพัฒนาการพิศดารในบางด้าน ไอด้านั้นมีอัตตาและอภิอัตตาที่อ่อนแอ เธอให้ความสำคัญกับความต้องการทางเพศของตัวเองมากกว่ากติกาของสังคมและความรู้สึกของคนอื่น เธอเป็นคนที่คิดว่าโลกหมุนรอบตัวเอง และไม่รู้สึกผิดหากทำผิดกฎหรือทำร้ายผู้อื่น

เกี่ยวกับ  ซิกมันด์ ฟรอยด์
ซิกมันด์ ชโมโล ฟรอยด์ เป็นนักประสาทวิทยาชาวออสเตรียและเป็นผู้ค้นพบจิตวิเคราะห์

ฟรอยด์สร้างทฤษฎีขึ้นมาว่าจิตไร้สำนึกนั้นจะจดจำและเก็บประสบการณ์ทั้งหมดของเราเอาไว้และมักจะปรากฏตัวขึ้นบางเวลาในรูปแบบของความฝันหรือความคิดที่ไม่ได้ผ่านการไตร่ตรอง การได้พูดคุยถึงประสบการณ์หรือความทรงจำที่เลวร้ายสามารถเป็นการปลดปล่อยให้เราพ้นจากปัญหาในจิตใจ และจะทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากขึ้น

เขาแนะนำว่า “เราไม่ควรพยายามที่จะกำจัดปัญหาอันซับซ้อนของตัวเอง แต่ควรจะทำความเข้าใจและยอมรับมันแทน เพราะมันคือสิ่งที่ชี้นำพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเราบนโลกใบนี้”

หมายเหตุ
นักจิตวิทยาหลายแขนงมองว่าทฤษฏีของฟรอยด์เกิดจากการสรุปผลโดยปราศจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์.

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน