ดาวน์โหลดแอป

การอุ้มบุญ (Surrogacy)

การตั้งครรภ์

การอุ้มบุญ (Surrogacy)

การอุ้มบุญ (Surrogacy) เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหญิงตกลงตั้งครรภ์แทนผู้อื่น โดยมักมีขั้นตอนทางการแพทย์ และขั้นตอนทางกฎหมายที่ซับซ้อน ในบางประเทศถือว่าการอุ้มบุญเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

เหตุผลในการอุ้มบุญ
คุณพ่อคุณแม่อาจพิจารณาวิธีนี้หากไม่สามารถมีลูกด้วยตนเองได้ แต่อยากได้ทายาทที่สืบสายเลือดโดยตรง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือคู่รักที่เป็นเพศเดียวกันก็อาจมีลูกโดยใช้วิธีนี้ได้ (ในต่างประเทศ)

ประเภทของการอุ้มบุญ
การอุ้มบุญมี 2 ประเภทดังนี้

ปัจจุบันการอุ้มบุญที่ถูกกฎหมายในไทยทำได้เฉพาะกรณี gestational surrogacy หรืออุ้มบุญเทียมเท่านั้น

สิ่งที่ควรพิจารณา
ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีการอุ้มบุญ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษารายละเอียดกับผู้เชี่ยวชาญ และทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอุ้มบุญก่อน เพื่อให้เข้าใจในกระบวนการและขั้นตอนของการอุ้มบุญ รวมไปถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ความสัมพันธ์กับคุณแม่อุ้มบุญ
การเลือกคุณแม่อุ้มบุญควรเป็นกระบวนการที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างดี ซึ่งทั้งพ่อแม่โดยสายเลือด แม่อุ้มบุญ ทนาย และผู้เชี่ยวชาญควรมีส่วนร่วมให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย เนื่องจากช่วงตั้งครรภ์จะเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทั้งคุณพ่อคุณแม่และแม่อุ้มบุญควรทำข้อตกลงและลงชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของทนายและผู้เชี่ยวชาญด้านการอุ้มบุญ เพื่อที่ว่าสถานการณ์ระหว่างการตั้งครรภ์​ การคลอด หรือการดูแลหลังคลอดนั้น ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้วิธีการรับมือ และจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

สุขภาพกาย และสุขภาพจิต
คุณแม่อุ้มบุญควรได้รับการคัดกรองในการตรวจโรคและอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่อาจเป็นปัญหาต่อการตั้งครรภ์ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาเรื่องความคาดหวังต่าง ๆ ต่อการใช้ชีวิต และการทานอาหารของคุณแม่อุ้มบุญตลอดช่วงเวลาการตั้งครรภ์

นอกจากนี้ควรพิจารณาให้คุณแม่อุ้มบุญมีสิทธิ์รับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต และการสนับสนุนทางจิตใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังคลอด เช่น การให้นมลูก เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตัวเองหลังจากทารกเกิดมาดูโลกแล้ว

การจัดการเรื่องค่าใช้จ่าย
ทุกคนที่มีส่วนร่วมควรรับทราบว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่การฝากครรภ์ การพบแพทย์ วิตามินบำรุงครรภ์ ค่าเสื้อผ้าสำหรับหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการทำคลอด การนอนโรงพยาบาล และการดูแลหลังคลอดก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กที่เกิดมาจะได้รับการดูแลเพียงพอต่อพัฒนาการที่สมบูรณ์จากทุกฝ่าย

ความเสี่ยง
เนื่องจากการอุ้มบุญเป็นเรื่องซับซ้อน จึงมีความเสี่ยงหลายประการที่ควรรู้

ข้อดี

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (10 ธันวาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน