ดาวน์โหลดแอป

เมื่อยล้า เหนื่อย อ่อนเพลีย

อาการคนท้อง

เมื่อยล้า เหนื่อย อ่อนเพลีย

เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะรู้สึกอ่อนเพลียในขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก

ความอ่อนเพลียกับการนอนหลับ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในเวลานี้ อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเมื่อยล้า คลื่นไส้ และอารมณ์แปรปรวน คุณแม่ทำได้เพียงพยายามพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่งโดยหาที่พักเท้ามารองขาเอาไว้ในระหว่างวัน และยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานและครอบครัว แม้ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้รู้สึกแย่ แต่คุณแม่ก็จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี คุณแม่ควรแน่ใจว่าได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ

หลังจากนี้ คุณแม่จะต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นจนอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า และท้องที่โตขึ้นก็จะทำให้การนอนหลับอย่างเต็มอิ่มยิ่งยากขึ้นไปด้วย คุณแม่อาจรู้สึกไม่สบายที่จะนอนราบกับเตียง และขณะที่กำลังหลับสบายก็อาจต้องลุกขึ้นไปเข้าห้องน้ำอีก

ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจะไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ แต่อาจทำให้คุณแม่รู้สึกยากลำบากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะก่อนที่คุณแม่จะบอกคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้

ฝันแปลกๆ
คุณแม่บางคนอาจมีความฝันที่แปลกประหลาด หรือฝันร้ายเกี่ยวกับลูกน้อย หรือการคลอดบุตร ซึ่งเป็นเรื่องปกติ การพูดคุยเรื่องนี้กับคุณพ่อ หรือคุณหมอสามารถช่วยได้ อย่างไรก็ตาม การฝันถึงเรื่องบางเรื่องไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้น การผ่อนคลายโดยใช้เทคนิคการหายใจ อาจเป็นประโยชน์ในการช่วยลดความวิตกกังวลของคุณแม่ได้

ท่านอน
หลังจากที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ การนอนหงายอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือมดลูกของคุณแม่อาจกดทับเส้นเลือดใหญ่เส้นใดเส้นหนึ่ง ซึ่งจะทำให้รู้สึกหน้ามืดได้

การนอนตะแคงข้างอาจทำให้คุณแม่รู้สึกสบายกว่า คุณแม่สามารถลองใช้หมอนหนุนหรือหมอนข้างหนุนระหว่างหัวเข่าได้เช่นกัน ในขณะที่หน้าท้องของคุณแม่จะหนักขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงวันคลอด คุณแม่อาจต้องใช้หมอนหนุนหลังด้วย เพื่อที่จะได้นอนหลับในท่าทีคล้ายกับท่านั่ง การนอนด้วยวิธีนี้บางครั้งยังสามารถช่วยลดอาการจุกเสียดท้องจากการตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

การรับมือกับอาการนอนไม่หลับระหว่างตั้งครรภ์
คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลใจจนเกินไป เพราะการนอนไม่หลับไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์พยายามงีบหลับระหว่างวันหากทำได้ และเข้านอนแต่หัวค่ำทุกวัน ควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมในช่วงเย็น เพราะคาเฟอีนที่เหลืออยู่ในร่างกายอาจทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น

พยายามผ่อนคลายก่อนเข้านอน เพื่อที่คุณแม่จะไม่ต้องตื่นในเวลากลางคืน เทคนิคการผ่อนคลายอาจช่วยได้ ในชั้นเรียนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจสอนวิธีการดังกล่าว หรือคุณแม่สามารถศึกษาได้จากการยืมซีดี หรือดีวีดีเรื่องวิธีการผ่อนคลายจากห้องสมุด

คุณแม่สามารถเข้าร่วมชั้นเรียนโยคะ หรือพิลาทิสสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ควรแน่ใจว่าผู้สอนทราบว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยน้อยลง ดังนั้นลองทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินเบา ๆ หลังรับประทานอาหารมื้อกลางวัน หรือว่ายน้ำในระหว่างวัน หากการนอนไม่หลับยังคงรบกวนคุณแม่อยู่ควรคุยกับคุณพ่อ ปรึกษาเพื่อน หรือคุณหมอ

ทำไมการตั้งครรภ์จึงทำให้นอนไม่หลับ?
บางครั้งอาการนอนไม่หลับอาจมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ และอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้าได้ หากคุณแม่มีอาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้ถึงโรคนี้ เช่น รู้สึกสิ้นหวัง และหมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ ควรปรึกษาคุณหมอ มีการรักษาหลายวิธีที่สามารถช่วยคุณแม่ได้

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (2 กุมภาพันธ์ 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน