ดาวน์โหลดแอป

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดหลักของไวกอตสกี้

ทฤษฎีการเลี้ยงลูก

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดหลักของไวกอตสกี้
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดหลักของไวกอตสกี้

การมอบความช่วยเหลือให้เด็ก ๆ ในระดับที่เหมาะสมและในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะนั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง ในฐานะผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ควรรู้แนวทางในการสนับสนุนพัฒนาการของลูกน้อยว่าจะทำอย่างไร และทำเมื่อไหร่ดี

ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี้
ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี้ระบุว่าชุมชนและภาษานั้นเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ในขณะที่ ฌอง เพียเจต์ สรุปว่าการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กนั้นเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นตอน ไวกอตสกี้ไม่ยอมรับทฤษฎีนี้และเชื่อว่าเด็กแต่ละคนพัฒนาตามลำดับขั้นตอนของตัวเองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไวกอตสกี้ประกาศว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับพื้นฐานทางความคิด 4 ประการ  ซึ่งก็คือ ความสนใจ ความรู้สึก การรับรู้ และความทรงจำ สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราสามารถนำพื้นฐานทั้ง 4 รูปแบบมาใช้เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ความคิดขั้นที่สูงขึ้น

พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ หรือ (Zone of Proximal Development)
การพัฒนานี้มักจะเกิดขึ้นใน “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ” หรือ (Zone of Proximal Development) โดยความสามารถลำดับแรกของมนุษย์ คือสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ลำดับที่สองจึงเป็น “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ” ซึ่งรวมสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เพื่อน เทคโนโลยี หรือสิ่งที่ไวกอตสกี้เรียกว่าผู้ที่รู้มากกว่านั่นเอง ลำดับสุดท้ายก็คือสิ่งที่เรายังไม่มีความสามารถหรือพัฒนาการที่ทำได้ในตอนนี้

ถ้าจะให้นึกภาพ ลองมานึกถึงฝาแฝดชายหญิงสองคนที่ถูกเลี้ยงดูในสังคมที่คาดหวังว่าผู้ชายมีหน้าที่เรียนเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ ส่วนผู้หญิงก็ถูกคาดหวังให้ทำตัวสวยงามเพียงเท่านั้น เมื่อตอนฝาแฝดคู่นี้อายุ 10 เดือน ทั้งสองถือว่าอยู่ในช่วงวัย “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ” ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในการหัดยืนด้วยตัวเอง ผู้ที่รู้มากกว่าในที่นี้ก็คือคุณพ่อ ที่จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการฝึกซ้อมให้เด็กผู้ชาย เด็กชายได้รับการสนับสนุนให้สำรวจอุปกรณ์การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และในที่สุดก็สามารถคว้าและยืนด้วยตัวเองได้ แล้วในไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเด็กชายก็สามารถเดินเกาะไปตามทางได้ และสามารถยืนได้ด้วยตัวเองในเวลาเพียงไม่กี่วัน ในขณะที่แฝดผู้หญิง ถึงแม้จะมีศักยภาพที่จะยืนได้เช่นกัน แต่กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ

เมื่อมาเทียบเด็กทั้งสอง จะเห็นได้ว่าในระหว่างที่เด็กผู้หญิงกำลังพยายามที่จะยืนขึ้น เด็กผู้ชายนั้นได้ก้าวไปขั้นต่อไปแล้ว เขาเรียนรู้ที่จะทรงตัวบนขาและกำลังเริ่มที่จะฝึกเดิน ท้ายที่สุดแล้วทั้งสองจะได้เรียนรู้วิธีการเดินเหมือนกัน แต่ไวกอตสกี้เชื่อว่าเด็กผู้ชายจะมีทักษะมากกว่า หลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับการเรียนรู้และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่สูงขึ้นได้ และการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่นั้น ต้องเป็นการได้เรียนรู้ฝึกฝนจากผู้ฝึกสอนที่เชี่ยวชาญ เพราะเหตุนี้ไวกอตสกี้จึงเชื่อว่าในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ การเรียนรู้สามารถนำหน้าพัฒนาการได้ หมายความว่าเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ที่อยู่เหนือกว่าวุฒิภาวะตามธรรมชาติของตนเองได้ 

คำพูดความคิดในหัว
ไวกอตสกี้ยังสร้างการเชื่อมต่อที่ชัดเจนระหว่างวาจาและความคิดไว้ว่า “คำพูดความคิดในหัว” นั้นได้รับอิทธิพลมาจากการพูดสนทนากับบุคคลภายนอก ซึ่งถูกซึมซับกลายมาเป็นความคิดภายในของตัวเอง
 แปลว่าความคิดภายในของเรานั้นถูกพัฒนามาจากบทสนทนาภายนอกนั่นเอง เพราะฉะนั้นเด็กเล็กที่ยังไม่ได้พัฒนาผ่านกระบวนการนึกคิดนี้จะยังคงคิดเป็นเสียงดัง’ ออกมาอยู่ ซึ่งก็คือการพูดทุกอย่างออกมา เพราะยังคิดเองในหัวไม่เป็น หากผ่านกระบวนการนี้แล้ว เด็ก ๆ จะสามารถแยกความคิดในหัวออกจากความคิดที่เปล่งออกเป็นคำพูดได้

เลฟ ไวกอตสกี้ เสียชีวิตเมื่อปี 2477 ในวัย 37 ปี  ด้วยโรควัณโรค ถึงแม้จะอายุน้อยแต่เขาก็เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20 เขาทิ้งคำแนะนำไว้ให้นักการศึกษารุ่นหลังว่าการฝึกให้นักเรียนหัดพูดคุยกับคนอื่นนั้น เรากำลังจัดกรอบให้เขาคิดด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน