ดาวน์โหลดแอป

น้ำหนักและส่วนสูง

สุขภาพของลูก

น้ำหนักและส่วนสูง

น้ำหนักตัวของทารกหลังคลอดมักจะลดลง 5 – 7% โดยทารกจะกลับมามีน้ำหนักเท่ากับเมื่อแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์แรก คุณแม่ควรหมั่นตรวจสอบน้ำหนักของลูกเป็นประจำในช่วงเดือนแรก หากลูกมีน้ำหนักลดลงมาก หรือน้ำหนักไม่กลับมาเท่ากับตอนแรกเกิด ควรรีบปรึกษาแพทย์

ควรชั่งน้ำหนักของลูกบ่อยแค่ไหน?
หลังจาก 2 สัปดาห์แรก คุณแม่ควรชั่งน้ำหนักของลูกตามช่วงอายุต่อไปนี้:

น้ำหนักตัวที่เหมาะสมของลูก
โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะมีหนังสือเกี่ยวกับแผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกแจกให้กับคุณแม่ ซึ่งกุมารแพทย์จะบันทึกลงในสมุดเล่มนี้เพื่อติดตามน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก  แผนภูมิในหนังสือจะมีรูปแบบของการเจริญเติบโตของเด็กที่มีสุขภาพดี และมีการติดตามตรวจเช็คสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่ได้รับนมแม่หรือนมผง หรือได้รับนมทั้ง 2  ชนิดควบคู่กันไป เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะมีแผนภูมิที่แตกต่างกัน เพราะเด็กผู้ชายมักจะมีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าเล็กน้อย และรูปแบบการเติบโตของพวกเขานั้นก็แตกต่างกัน

แผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกคืออะไร?
แผนภูมิการเจริญเติบโตของทารกมักจะคำนวณโดยใช้มาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก (WHO)  ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตตามปกติของทารกในช่วง 5 ปีแรก แผนภูมิการเจริญเติบโตนี้จะช่วยให้กุมารแพทย์สามารถเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของลูกน้อยของคุณแม่กับเด็ก ๆ คนอื่นที่มีอายุเท่ากันได้

ควรทำอย่างไรหากไม่มีแผนภูมิการเจริญเติบโต?
คุณแม่สามารถเข้าคลิกเข้าไปที่ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก จากสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อดูตัวอย่างแผนภูมิน้ำหนักและส่วนสูงของทารกในประเทศไทยได้

วิธีการอ่านแผนภูมิการเจริญเติบโต

แผนภูมิการเจริญเติบโตจะแสดงน้ำหนักและส่วนสูงเป็น “เปอร์เซ็นไทล์” ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์อันดับที่  50 จะอยู่ตรงกลางระหว่าง 50% ของทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า และ 50% ของทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า ส่วนทารกที่อยู่ในเปอร์เซ็นไทล์อันดับที่ 5 จะมีน้ำหนักน้อยกว่า 95% ของเด็กที่มีอายุเท่ากัน ทารกที่อยู่ในเปอร์เซ็นไทล์อันดับที่ 90 จะมีน้ำหนักมากกว่า 90% ของทารกคนอื่น ๆ ที่อายุเท่ากัน

น้ำหนักและส่วนสูงของลูกอาจไม่ตรงตามเส้นกลางของค่าเฉลี่ย เนื่องจากการวัดนั้นอาจขึ้นหรือลงตามเส้นศูนย์กลางหนึ่งเส้น แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเขาอาจจะข้ามเส้นศูนย์กลาง 2 เส้น

การเพิ่มของน้ำหนักและส่วนสูง
โดยปกติแล้วน้ำหนักของทารกส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นมากในช่วง 6 – 9 เดือนแรก  อัตราการเติบโตของพวกเขาเริ่มจะช้าลงเมื่อพวกเขากลายเป็นเด็กวัยหัดเดินและเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น หากเด็กมีอาการป่วย น้ำหนักตัวของเด็กอาจเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ภายใน 2 – 3 สัปดาห์ และเมื่อลูกอายุครบ 2 ขวบ กุมารแพทย์อาจใช้น้ำหนักและส่วนสูงของลูกในการคำนวณดัชนีมวลกาย  (BMI) และทำเครื่องหมายไว้ในแผนภูมิ ซึ่งนี่เป็นวิธีการตรวจสอบว่าน้ำหนักของเด็กเป็นไปตามปกติหรือไม่

ควรทำอย่างไรหากลูกมีน้ำหนักไม่เพียงพอ?
หากการเพิ่มน้ำหนักของลูกไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ คุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ควบคุมปริมาณอาหารของลูกตามสมควร ทารกแรกเกิดต้องการนมในปริมาณที่เพียงพอเพื่อการพัฒนาและเพิ่มน้ำหนัก แต่เมื่ออายุครบ 2 ขวบ การดื่มนมหรือน้ำผลไม้มากเกินไปอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่ได้รับอาหารอย่างเหมาะสม เพราะพวกเขาไม่ได้รับสารอาหารที่สำคัญจากอาหารทั่วไป

หากคุณแม่ไม่แน่ใจ หรือคิดว่าพัฒนาการของลูกไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ ควรพาลูกไปปรึกษากับกุมารแพทย์

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (7 มีนาคม 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน