ดาวน์โหลดแอป

อาหารสำหรับเด็กเล็ก

สุขภาพของลูก

อาหารสำหรับเด็กเล็ก

เด็กเล็กและเด็กวัยหัดเดินควรรับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อพัฒนาการที่ดี โดยเริ่มด้วยนมแม่หรือนมผงสูตรสำหรับเด็กเล็ก หลังจากนั้นพวกเขาควรได้รับผัก ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากนม ปลา และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ สิ่งที่เด็กเล็กยังไม่ควรรับประทานคือน้ำตาล ของขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม น้ำผลไม้ หรืออาหารแปรรูป

นมและผลิตภัณฑ์จากนม:

ข้อควรระวัง
หากเด็กเล็กได้รับนมมากเกินไปพวกเขาอาจไม่ได้รับประทานอาหารอื่น ๆ อย่างเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ เด็กเหล่านี้จะมีแนวโน้มที่จะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กได้

ผักและผลไม้
ผักและผลไม้มีวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารจำนวนมาก ควรให้เด็ก ๆ รับประทานตั้งแต่อายุยังน้อย คุณแม่ควรมีผักและผลไม้รวมอยู่ในอาหารของลูกทุก ๆ มื้อ ในผักและผลไม้แต่ละชนิดมีวิตามินและแร่ธาตุแตกต่างกัน ยิ่งลูกของคุณแม่ได้รับประทานอาหารที่หลากหลายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีกับเขามากเท่านั้น

คาร์โบไฮเดรตและอาหารจำพวกแป้ง
คาร์โบไฮเดรตและอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว  ขนมปัง มันฝรั่ง มันหวาน โจ๊ก พาสต้าและซาลาเปา เป็นอาหารที่ให้พลังงาน สารอาหารและใยอาหาร ส่วนธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ให้คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าธัญพืชทั่วไป แต่ไม่เหมาะที่จะให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีรับประทาน เพราะธัญพืชไม่ขัดสีมีใยอาหารสูง และอาจทำให้ลูกอิ่มก่อนที่จะได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ หลังจากลูกอายุเกิน 2 ขวบแล้ว คุณแม่สามารถค่อย ๆ เปลี่ยนให้ลูกรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีหรือโฮลเกรนได้

โปรตีนและธาตุเหล็ก
เด็กเล็กต้องการโปรตีนและธาตุเหล็กเพื่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการ ธาตุเหล็กนั้นหาได้จากในอาหาร 2 ประเภทคือ:

พยายามให้ลูกรับประทานถั่ว ปลา ไข่ หรือเนื้อไม่ติดมัน (เนื้อไก่นั้นดีต่อสุขภาพมากกว่าเนื้อแดงจากหมูหรือวัว) วันละ 1 – 2 ส่วนทุกวัน หากลูกไม่ยอมรับประทานเนื้อสัตว์หรือปลา คุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กอื่นๆ  เช่น ผักสีเขียวเข้ม ถั่วแดง และถั่วฝักต่าง ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ถึงแม้ว่าในถั่วจะมีโปรตีนสูง แต่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีไม่ควรรับประทานถั่วเต็มเมล็ด เช่น ถั่วลิสง เพราะอาจทำให้เด็กสำลักหรือติดคอได้

ไขมันสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
เด็กเล็ก ๆ ที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีต้องการพลังงานจากไขมัน นอกจากนี้ ยังมีวิตามินบางชนิดที่พบในไขมันเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่อาหาร เช่น นม โยเกิร์ต และไขมันปลา เช่น ปลาแมคเคอเรล(ปลาทู) หรือปลาแซลมอนมีความสำคัญมาก เมื่อลูกอายุ 2 ปี คุณแม่สามารถค่อย ๆ แนะนำให้ลูกลองรับประทานผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และลดไขมันในอาหารอื่น ๆ ลง และควรพิจารณาดูปริมาณไขมันอิ่มตัวในอาหารที่ครอบครัวรับประทาน วิธีลดไขมันอิ่มตัวง่าย ๆ ที่บ้านทำได้โดย:

น้ำตาล
สิ่งสำคัญคือต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลที่เติมลงในอาหารให้น้อยที่สุด น้ำตาลสามารถพบได้ในน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขนมเค้ก และแยม ทางที่ดีควรให้เด็กวัยหัดเดินดื่มน้ำเปล่าหรือนม นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถให้ลูกดื่มน้ำผลไม้เจือจาง (น้ำผลไม้ 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน) โดยให้ดื่มพร้อมกับมื้ออาหารเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุ และการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ฟันของลูกมีสุขภาพที่ดี

เกลือ
ไม่จำเป็นต้องใส่เกลือเพิ่มลงในอาหารของลูก อาหารส่วนใหญ่มีเกลือเพียงพออยู่แล้ว การได้รับเกลือมากเกินไปอาจทำให้ลูกได้รสเค็ม และอาจมีส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเมื่อเขาโตขึ้น  ครอบครัวและตัวคุณแม่เองก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน หากสามารถค่อย ๆ ลดปริมาณเกลือในการปรุงอาหารลงได้ พยายามจำกัดปริมาณอาหารรสเค็มที่ลูกรับประทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป และของขบเคี้ยวจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่มักจะมีเกลือเป็นส่วนผสมในระดับที่สูงมากจนไม่ดีต่อสุขภาพ คุณแม่อาจเปลี่ยนมาลองทำอาหารที่บ้านเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าไม่มีการเติมเกลือมากจนเกินไป

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (4 มีนาคม 2020)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน