ดาวน์โหลดแอป

แนวคิดการพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม

ทฤษฎีการเลี้ยงลูก

แนวคิดการพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม
แนวคิดการพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม

แม้แต่คู่ฝาแฝดยังมีอุปนิสัยและบุคลิกที่ต่างกัน แนวคิดพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมอธิบายความลึกซึ้งและหลากหลายแง่มุมของพัฒนาการเด็ก ในการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่

แนวคิดพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมคือการให้ความสำคัญในทุก ๆ ด้านของชีวิตเด็ก ซึ่งหลาย ๆ ด้านนั้นผลการเรียนไม่สามารถวัดได้ นอกจากความอยากรู้อยากเห็นและสติปัญญาแล้ว เด็กอาจยังต้องการที่จะพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ ความชอบ ความหลงใหล ความอดทน สัญชาตญาณ ความมั่นใจ การเอื้อเฟื้อ การเอาใจใส่ อารมณ์ขัน และอุปนิสัยอีกหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย

ทฤษฎีการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม
ทฤษฎีการพัฒนาเด็กแบบองค์รวมของ อีดิธ แอคเคอร์แมนน์ ระบุว่าแรงกระตุ้นทางธรรมชาติที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเราจากเด็กสู่ผู้ใหญ่นั้นมีอยู่ 4 ข้อ : ตัวของฉัน พวกเรา โลกใบนี้ และสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ แรงกระตุ้นแต่ละแบบสามารถแบ่งได้เป็น 2 หมวดหมู่

เราจะมาดูทฤษฎีนี้จากมุมมองของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อที่จะเข้าใจหลักการได้ง่ายขึ้น

ตัวของฉัน
ตัวของฉัน มาจากการเรียนรู้การใช้ร่างกายและหัดใช้ความคิดความอ่าน ความสามารถในการควบคุมร่างกายจะทำให้ฉันรู้จักโลกภายนอกมากขึ้น มันทำให้ฉันรู้ว่าตอนนี้ฉันอยู่ที่ไหนและฉันเป็นใคร

การใช้ร่างกายของฉัน เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการหัด เดิน พูด ฟัง และพัฒนาอุปนิสัยที่ดี  หลังจากนั้นไม่นานฉันสามารถทำให้ผู้ใหญ่ประทับใจกับคำพูดที่ชัดเจน ท่าทางที่สง่างาม และความสามารถทางกายภาพอื่น ๆ

การรู้จักตัวเอง ทำให้ฉันมีส่วนร่วมในบ้านและมีตัวตนบนโลกใบนี้ มันทำให้ฉันรู้ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และความสามารถพิเศษของตัวเอง จากการรู้จักตัวเองดีพอ ฉันเข้าใจความคิดของตัวเองและสร้างเอกลักษณ์ที่ฉันภูมิใจได้

พวกเรา
พวกเรา หมายถึงวิธีการที่ฉันสร้างสายใยความสัมพันธ์กับ เพื่อน ครอบครัว คนแปลกหน้า และทำความเข้าใจในความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของพวกเขา

การสร้างสายใยความสัมพันธ์ การที่ฉันแสวงหาความรัก ความสนใจ และความนับถือจากพ่อและแม่เมื่อตอนที่ฉันเป็นเด็ก แต่ฉันก็ยังมีความต้องการที่จะเข้าสังคมกับคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหมายความว่าฉันต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปัน และใส่ใจคนอื่นเพื่อที่จะเป็นที่ยอมรับ วันหนึ่งฉันอาจจะต้องการเป็นสมาชิกที่น่าเคารพของกลุ่มเพื่อน แต่ก็ยังคงความเป็นตัวของตัวเองอยู่

การเข้าใจคนอื่น ฉันต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อน ๆ และอารมณ์ของพวกเขา ความตั้งใจ วิธีการคิด และพฤติกรรมต่างก็เป็นสิ่งที่ฉันสนใจ ฉันอยากเรียนรู้ที่จะก้าวออกจากมุมมองที่จำกัดของตัวเอง และนำเอามุมมองของคนอื่น ๆ มาช่วยสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นเกี่ยวกับศีลธรรมและปัญหาของสังคม

การเข้าใจโลก
การเข้าใจโลก 
คือการเข้าใจความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เพราะแบบนี้เราถึงต้องเล่น และการสำรวจสร้างความเข้าใจถึงเหตุและผลของจักรวาลนี้มากขึ้น ผู้ใหญ่เรียกมันว่า การสำรวจและการสืบค้น แต่พวกเราเรียกมันว่าการเล่น และมันคือสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้ บางทีมันอาจจะเลอะเทอะไปบ้าง แต่การเล่นทำให้ฉันตระหนักว่าบางอย่างเปลี่ยนแปลงได้ และบางอย่างกลับเปลี่ยนแปลงไม่ได้ อีกนัยหนึ่งก็คือฉันได้เรียนรู้กลไกของการทำงานของสิ่งที่เกิดขึ้น อีกหน่อยฉันอาจจะได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เล่นกับความคิดและทฤษฎีอันยิ่งใหญ่ แล้วมาอธิบายวิธีการทำงานของโลกใบนี้ให้คุณพ่อคุณแม่ฟังก็ได้

ฉันค้นหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา เด็ก ๆ แบบพวกเราไม่อยากค้นพบแค่ว่าบางสิ่งบางอย่างมันทำงานยังไง แต่เราอยากได้ความสม่ำเสมอ แม้มันจะมีน้อยนิดก็ตาม เพื่อที่จะเข้าใจโลกใบนี้มากขึ้น พวกเรากลั่นกรอง แปลความหมาย และสร้างประสบการณ์ที่ได้เจอ ขึ้นมาใหม่ในจินตนาการ ให้เป็นแบบที่ฉันเข้าได้ ในแบบของตัวเอง (mental model) ฉันคิดว่าผู้ใหญ่น่าจะเรียกมันว่า โครงสร้างทางความคิด (schema) ความต้องการความเป็นระเบียบทำให้ฉันจัดการจัดระเบียบข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียนรู้มาใหม่ในหัว สร้างบทสรุปกฎกติกาของสังคม และเข้าใจการใช้กลไกของกฎทางธรรมชาติในชีวิตจริง

สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์
สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ คือการที่ฉันสามารถจินตนาการเหตุการณ์ที่หลากหลายได้ในหัว เมื่อคิดอะไรได้ก็สามารถรังสรรค์ความคิดออกมาเป็นการกระทำและสิ่งประดิษฐ์ได้

จินตนาการ คือความสำเร็จขั้นสูงสุดของมนุษยชาติ หากไม่มีจิตนาการ นวัตกรรมใหม่ ๆ ก็คงจะเกิดขึ้นจากความบังเอิญเพียงเท่านั้น เพราะแบบนี้ฉันถึงต้องการโลกในจินตนาการ และการเล่นสมมุติเยอะ ๆ วิธีเหล่านี้ทำให้ฉันเรียนรู้การคิดนอกกรอบ ฉันสามารถแสดงความคิดและจินตนาการผ่านวิธีการประดิษฐ์รังสรรค์ที่มากมายหลากหลายให้เป็นรูปธรรมได้

ฉันสามารถสร้างบรรยากาศด้วยเสียงของฉัน สร้างไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมาในหัว และวาดความคิดออกมาเป็นภาพด้วยมือทั้งสองข้าง ถ้าฉันมีพื้นที่เป็นของตัวเอง ฉันก็จะสร้างมุมที่นั่งสบายใต้โต๊ะกินข้าว หรือวันหนึ่งหากฉันโตขึ้น ฉันอาจจะออกแบบบ้านทั้งหลังก็ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม
อีดิธ แอคเคอร์แมนน์ เกิดที่สวิซเซอร์แลนด์ในปี 2489 หลังเรียนจบเธอก็ได้กลายเป็นลูกศิษย์ของฌอง เพียเจต์ 
เมื่อยังอยู่ที่ห้องปฏิบัติการสื่อที่ MIT (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเซตส์) เธอได้ใช้เวลาส่วนมากในการสำรวจปฎิสัมพันธ์ระหว่างการเล่น การเรียนรู้ และการออกแบบ

การพัฒนาเด็กแบบองค์รวม หรือที่เรียกว่า การศึกษาที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบครบทุกมิติ (holistic education) มองเด็กทุกคนในทุกด้านของชีวิตและศักยภาพของเขา ว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความสามารถและความสนใจเป็นของตัวเอง และบางมิติก็ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากการถูกเลี้ยงดูเลยแม้แต่น้อย บางคนเรียกองค์รวมนี้ว่า จิตใจ ร่างกาย และวิญญาณ นักการศึกษาชาวสวิส Pestalozzi เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มือ หัวใจ และสมอง

ถึงจะอย่างนั้นก็ตาม คนส่วนมากยังพยายามที่จะสรุปตัวเด็กออกมาเป็น 4 อย่าง 8 อย่าง อยู่ เช่นสังคม อารมณ์ และอื่น ๆ แต่การแบ่งแยกนี้ให้ความเคารพความเป็นองค์รวมของเด็กจริง ๆ หรือไม่ มันสามารถระบุอารมณ์ขันของเด็กได้ไหม การเห็นคุณค่าและชื่นชมทางศิลปะ หรือความสามารถในการเอาใจใส่ผู้อื่น ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ทฤษฎีของแอคเคอร์แมนน์เป็นมุมมองที่คลอบคลุมที่สุด

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน