คุณแม่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคตให้ลูกได้อย่างไร
พัฒนาการเด็ก

ความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกจะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของเขากับผู้อื่นต่อไปในอนาคต
ทฤษฎีความผูกพัน
ทฤษฎีความผูกพันระบุว่าความสัมพันธ์ของลูกและผู้ดูแลในขวบปีแรกของชีวิต มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเขาเป็นอย่างมาก ถ้าหากความผูกพันนั้นแนบแน่น มั่นคง เขาก็จะรู้สึกปลอดภัยที่จะเรียนรู้ ผจญภัย และสำรวจโลก เนื่องจากเขารับรู้ได้เขามีคนดุแลที่ปลอดภัย ซึ่งเขาจะสามารถย้อนกลับไปหาได้ตลอดเวลา ถ้าหากความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่ กับลูกนั้นอ่อนแอ เขาจะรู้สึกไม่มั่นคง กลัวที่จะออกไปเรียนรู้ หรือสำรวจโลก โลกจะดูน่ากลัวมากกว่าความเป็นจริง เนื่องจากเขาไม่แน่ใจว่าจะสามารถย้อนกลับหาที่ที่ปลอดภัยได้อีกหรือไม่
ประโยชน์ของความผูกพันที่มั่นคง
ผู้ที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น มักจะมีความไว้วางใจกับสิ่งรอบตัว และวางใจในผู้อื่นได้มากกว่า สามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นได้ดี และประสบความสำเร็จ มีความสุขในชีวิตได้ง่ายมากขึ้น
3 รูปแบบของความผูกพันที่ไม่มั่นคง
ผู้ที่มีความผูกพันแบบไม่มั่นคงมักจะไม่ไว้วางใจคนอื่น ๆ ขาดทักษะทางสังคม และมีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์
รูปแบบของความผูกพันที่ไม่มั่นคงมี 3 ประเภทดังนี้
- วิตกกังวล / ลังเล ไม่กล้าตัดสินใจ
- วิตกกังวล / หนีปัญหา
- วิตกกังวล / ไม่เป็นระเบียบ
การตอบสนองต่อความวิตกกังวล หรือความเจ็บปวดของ 2 ชนิดแรกจะมีรูปแบบที่ชัดเจน คืออาการไม่กล้าตัดสินใจ หรือหนีปัญหา ในขณะที่แบบสุดท้ายนั้นจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน คาดเดาไม่ได้
ปัญหาของความผูกพันที่ไม่มั่นคง
นอกเหนือจากปัญหาความไม่ไว้วางใจต่อผู้อื่น และปัญหาความสัมพันธ์แล้ว ผู้ที่มีรูปแบบของความผูกพันที่ไม่มั่นคง อาจมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น
ช่วงขวบปีแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาที่ทารกยังเด็กเกินไปที่จะสื่อสารความวิตกกังวลต่าง ๆ ไปสู่ผู้อื่นได้ และส่งผลให้เกิดความเครียดในระดับสูง ต่อมหมวกไต (อวัยวะที่นั่งอยู่ด้านบนของไต) ผลิตฮอร์โมนความเครียด ซึ่งก็คืออะดรีนาลีน และคอร์ติซอลออกมามากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นความดันโลหิตสูงขึ้น ทารกจะตื่นตัว และตื่นเต้น หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งเรียกว่าอาจทำให้เกิดความเครียดจากสะสม ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย จะมีผลทำให้พัฒนาการของสมองลดลง และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ในเด็กความเครียดที่เป็นพิษสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของเขาในหลายทศวรรษต่อมา
การประเมินความผูกพัน
ด้วยการจำลองสถานการณ์เพื่อการทดสอบรูปแบบความผูกพัน เราจึงสามารถประเมินรูปแบบความผูกพันของทารกวัยแก่กว่า 1 ขวบ โดยทำปล่อยให้เด็กวัย 1 ขวบได้เล่นกับแม่ของพวกเขาภายในเวลาจำกัดไม่กี่นาที หลังจากนั้นเด็ก ๆ จะถูกทิ้งไว้ตามลำพัง ช่วงเวลาที่สำคัญก็คือ ปฏิกิริยาของเด็ก ๆ เมื่อคุณแม่ของพวกเขากลับมา เด็ก ๆ ที่มีรูปแบบความผูกพันที่มั่นคงมักกอดแม่ของพวกเขาไว้ก่อน แล้วจึงสามารถสงบลงและกลับไปเล่นต่อได้ แต่เด็ก ๆ ที่มีรูปแบบความความผูกพันที่ไม่มั่นคง ก็อาจเกิดความสับสน และหลีกหนีปัญหา ไม่สนใจแม่ หรือทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็ก ๆ บางคนอาจไม่สามารถหยุดร้องไห้ได้ หรือปฏิเสธที่จะเล่นต่อ
ผลกระทบในระยะยาว
ผลกระทบในระยะยาวของการมีความผูกพันที่มั่นคงในช่วงขวบปีแรก นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมินนิโซตาสามารถการใช้ทฤษฎีนี้เพื่อคาดการณ์ได้ตั้งแต่ตอนอายุ 3 ว่าเด็ก ๆ พวกนี้อาจจะออกจากโรงเรียนมัธยมปลายกลางคัน โดยที่มีความแม่นยำถึง 77%
วิธีการสร้างความผูกพันที่มั่นคง
คุณแม่ คุณพ่อ หรือผู้ดูแลสามารถช่วยกันสร้างรูปแบบของความผูกพันที่มั่นคงที่ดีได้ โดยการตอบสนองต่อความต้องการของลูก เมื่อเขาเรียกร้อง ตอบรับความต้องการของเขาเสมอเพื่อให้เขาแน่ใจว่าคุณแม่อยู่ที่นั่นเพื่อรองรับความต้องการทางร่างกายและอารมณ์ของเขา