ดาวน์โหลดแอป

อาการคัน ระคายเคืองผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์

คุณแม่

อาการคัน ระคายเคืองผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์

ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการคันเกิดขึ้น อาการระคายเคืองที่ผิวหนังในระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติของคุณแม่ส่วนใหญ่ 

การระคายเคืองที่ผิวหนังมีแนวโน้มที่จะเกิดในประมาณสัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์ เมื่อคุณแม่เริ่มมีอาการแล้ว ก็จะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับท้องของคุณแม่ที่ยังคงเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ ผิวหนังแห้งและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังมากขึ้นเช่นกัน

การรักษา
คุณแม่อาจไม่สามารถป้องกันการเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ทั้งหมด แต่เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิวหนังลงได้

ไม่เกา: พยายามหลีกเลี่ยงการเกาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากการเกาอาจทำให้ผิวหหนังของคุณแม่ระคายเคืองมากขึ้น และอาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้

เพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิว: ทาครีมหรือโลชั่นเบา ๆ ที่อ่อนโยนและไม่มีน้ำหอมหลังจากอาบน้ำ เก็บโลชั่นไว้ในตู้เย็นเพื่อให้ผิวรู้สึกเย็นในขณะทา ครีมที่มีส่วนผสมของ ยูเรีย 8-10% มักได้ผลดี

เพิ่มความชุ่มชื้นด้วยน้ำมันที่มีวิตามินอี: นี่เป็นวิธีการบรรเทาอาการระคายเคืองผิวหนังที่ดี และเหมาะสำหรับการบรรเทาอาการเจ็บหัวนมหลังคลอดอีกด้วย

ประคบเย็น: ใช้ถุงประคบเย็นบริเวณที่คันเป็นเวลา 5 – 10 นาทีหรือจนกว่าอาการคันจะจางหายไป

อยู่ในที่เย็นสบาย: หลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกในช่วงเวลาที่อากาศร้อน เพราะความร้อนอาจทำให้อาการคันรุนแรงขึ้น สวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย เสื้อผ้าฝ้ายที่ละเอียดและเรียบง่ายจะช่วยให้ผิวของคุณแม่ไม่ระคายเคือง

ลดความเครียด: หาวิธีผ่อนคลายเพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้อาการคันแย่ลง

ทายา: ถ้าหากแพทย์ของคุณแม่สั่งยาเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง ให้ใช้ยานั้นตามคำแนะนำก่อน แล้วจึงทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้ผิวทั่วร่างกายทีหลัง รวมถึงผิวบริเวณที่ทายาด้วย

คุณมีผื่นพิษหรือไม่?
อาการผื่นคันที่หน้าท้องของคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจเป็นเพราะผื่นพิษ PUPPP (Pruritic Urticarial Papules and Plaques of Pregnancy) ซึ่งเป็นอาการเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่น่ารำคาญ แต่สามารถรักษาได้ ซึ่งพบได้ 1 ในทุก ๆ 150 รายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 

ผื่นคันแบบไหนควรปรึกษาแพทย์?
ถ้าหากคุณแม่มีอาการผื่นคัน หรือคันที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าอย่างรุนแรง หรือมีอาการคันที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายซึ่งไม่เกี่ยวกับผิวแห้งหรือผิวบอบบาง

รับรองโดย:

พญ.วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ (สูตินรีแพทย์) (3 กรกฎาคม 2019)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน

เรตติ้ง 4.9 จากผู้ใช้งานกว่า 10,000+ คน