ตรวจฮอร์โมน AMH ตัวช่วยประเมินความพร้อมในการตั้งครรภ์
การตรวจฮอร์โมน AMH ถือเป็นการตรวจประเมินสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve) หรือจำนวนไข่ที่ยังสามารถใช้ได้ที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

การตรวจฮอร์โมน AMH ถือเป็นการตรวจประเมินสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve) หรือจำนวนไข่ที่ยังสามารถใช้ได้ที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบัน
หลายท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่ออายุมากขึ้นโอกาสในการมีเจ้าตัวเล็กก็ยิ่งน้อยลง เนื่องจากคุณภาพและปริมาณของไข่ลดลง แต่ปัจจุบันคุณแม่สามารถตรวจวัดภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเองได้ง่ายขึ้นด้วยการตรวจระดับฮอร์โมนด้วยกาารตรวจ AMH ซึ่งเป็นการทดสอบที่ช่วยประเมินความพร้อมเพื่อวางแผนเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์
การตรวจ AMH คืออะไร? ทำไมผู้หญิงควรรู้จัก
AMH (Anti-Müllerian Hormone) คือฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญของ “ปริมาณไข่ที่ยังเหลืออยู่” ในร่างกาย หรือ ‘คะแนนภาวะเจริญพันธุ์’ ของคุณผู้หญิงนั่นเอง
ควรตรวจ AMH เมื่อไร?
หากคุณใช้แอป ‘Mali Fertility’ แอปจะช่วยแจ้งเตือนเมื่อประจำเดือนมาวันแรก
โดยคุณสามารถนัดหมายแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจเลือดใน วันที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน เนื่องจากช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาทองสำหรับการตรวจฮอร์โมนสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ AMH, FSH, LH และ Estradiol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินภาวะเจริญพันธุ์และการทำงานของรังไข่
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะเจริญพันธุ์ เพื่อนัดตรวจฮอร์โมน AMH สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและจองคิวได้ที่นี่
การตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?
การตรวจฮอร์โมน AMH ถือเป็นการตรวจประเมินสมรรถภาพของรังไข่ (Ovarian Reserve) หรือจำนวนไข่ที่ยังสามารถใช้ได้ที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบัน ช่วยให้คุณผู้หญิงรู้ว่าตัวเองมีโอกาสตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน และช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตรได้อย่างรอบคอบ
นอกจากนี้ การตรวจฮอร์โมน AMH ยังสามารถวัดได้ว่าในรังไข่มีฟองไข่จำนวนเท่าไหร่ที่สามารถเก็บได้ในสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) อีกทั้งยังช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยการเข้าสู่ช่วงวัยทองก่อนวัยอันควร หรือวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิงได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับการตรวจอื่น ๆ การแปลผล AMH จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่นเพิ่มเติม ดังนั้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะเจริญพันธุ์จะช่วยให้คุณเข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเองอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หากต้องการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญและรับคำแนะนำฟรี สามารถจองนัดหมายได้ที่นี่
แม้อายุจะยังคงเป็นตัวบ่งชี้โอกาสการตั้งครรภ์ที่สำคัญที่สุด แต่ความจริงแล้วผู้หญิงประมาณ 1 ใน 10 คน อาจสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์เร็วกว่าที่คาดไว้แม้จะมีรอบเดือนสม่ำเสมอ ดังนั้น ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัย 20 ปลาย ๆ ถึง 30 ต้น ๆ ควรเริ่มต้นวางแผนครอบครัวตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจฮอร์โมน AMH เพื่อประเมินจำนวนไข่ที่เหลืออยู่ ซึ่งจะช่วยจะให้คุณวางแผนอนาคตได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะต้องการมีลูกเร็ว หรือเก็บไข่ไว้ใช้ในอนาคตก็ตาม
ข้อดีของการตรวจ AMH ที่ควรรู้
การตรวจฮอร์โมน AMH เป็นหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้หญิงที่อยากรู้สถานะภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเอง เพราะมีข้อดีหลายอย่าง ดังนี้:
- เหมาะสำหรับผู้หญิงอายุ 20–30 ปีต้น ๆ ที่ควรวางแผนครอบครัวล่วงหน้า
- สะดวกและประหยัดกว่า การตรวจแบบอื่น เช่น การตรวจไข่ด้วยอัลตราซาวด์ (Egg Check) เนื่องจากการตรวจ AMH ใช้แค่การเจาะเลือด และสามารถตรวจได้ทุกวันในรอบเดือน โดยไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาเฉพาะ
- ช่วยให้สามารถคาดการณ์จำนวนไข่ ที่น่าจะเก็บได้ในรอบของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วางแผนการกระตุ้นไข่ได้แม่นยำมากขึ้น
- ช่วยตรวจพบภาวะเสี่ยงหมดประจำเดือนก่อนวัย ซึ่งช่วยให้ผู้หญิงที่อาจสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ ได้วางแผนล่วงหน้าได้ทันเวลา
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับผลตรวจ AMH
แม้ว่าการตรวจ AMH จะมีประโยชน์ในการช่วยระบุผู้หญิงที่อาจสูญเสียภาวะเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ แต่ก็มีข้อจำกัดที่ควรเข้าใจไว้เช่นกัน โดยการตรวจ AMH ไม่สามารถบอกได้ว่าใครมีภาวะเจริญพันธุ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือมีโอกาสตั้งครรภ์ง่ายกว่าคนทั่วไป อีกทั้งไม่เหมาะสำหรับการประเมินรังไข่สำรองในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCO) เนื่องจากผู้ที่มีภาวะดังกล่าวมักมีระดับ AMH สูงผิดปกติอยู่แล้ว
การตรวจ AMH ช่วยบอกถึงปริมาณไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ของผู้หญิง โดยเปรียบเทียบกับผู้หญิงคนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน แต่ไม่ใช่ตัวชี้วัด “คุณภาพ” ของไข่ ดังนั้น แม้ระดับ AMH จะสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าไข่ทุกใบจะมีคุณภาพดีพอสำหรับการตั้งครรภ์เสมอไป
นอกจากนี้ การรู้ค่าของ AMH ยังมีประโยชน์มากในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เพราะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่าสามารถเก็บไข่ได้กี่ใบ และต้องใช้ปริมาณยากระตุ้นไข่มากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป หากระดับ AMH สูง มักจะต้องใช้ยากระตุ้นน้อยลง และอาจสามารถเก็บไข่ได้มากกว่า
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับการตรวจภาวะเจริญพันธุ์อื่น ๆ ผลตรวจ AMH ไม่สามารถให้คำตอบแบบแน่ชัดว่าจะตั้งครรภ์ได้หรือไม่ โดยทั่วไปแพทย์จะนำผล AMH ไปเทียบกับกราฟมาตรฐาน ซึ่งแสดงช่วงระดับตั้งแต่ “ปกติ” ไปจนถึง “ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย” โดยใช้ประกอบการประเมินร่วมกับปัจจัยด้านอื่น ๆ เพื่อประเมินแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
โอกาสในการเก็บไข่ได้มากกว่า 6 ใบ
80% – อยู่ในระดับสูงกว่าค่ามาตรฐานตามอายุ
บ่งบอกว่าคุณมีจำนวนไข่ตั้งต้น (Ovarian Reserve) อยู่ในระดับปกติ และมีโอกาสสูงที่จะสามารถเก็บไข่ได้มากกว่า 6 ใบภายหลังจากเข้าสู่กระบวนการกระตุ้นไข่เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก (IVF)
50% – อยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานเล็กน้อยตามอายุ
ยังถือว่าอยู่ในช่วงค่ามาตรฐาน แต่ควรเริ่มพิจารณาดำเนินการวางแผนรักษาโดยเร็ว เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์
20% – อยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานตามอายุ
มีแนวโน้มว่าปริมาณไข่ตั้งต้น ในรังไข่ลดลง และมีโอกาสเพียง 20% ที่จะสามารถเก็บไข่ได้มากกว่า 6 ใบภายหลังเข้าสู่กระบวนการ IVF ในระดับนี้ควรรีบขอคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมโดยไม่ควรชะลอ
อายุยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ
ทั้งนี้ อายุยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดในการวางแผนมีบุตร แม้ว่าการตรวจ AMH จะช่วยชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงบางคนอาจมีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับอายุของตนเอง แต่ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ว่าผล AMH ที่ “ดี” จะหมายถึงมีภาวะเจริญพันธุ์ที่สูงกว่าคนในวัยเดียวกัน ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรวางแผนครอบครัวก่อนอายุ 40 ปี เพราะโอกาสในการตั้งครรภ์จะลดลงอย่างมากหลังจากนั้น
นอกจากนี้ แม้ผลตรวจ AMH จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีปัญหาเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ เนื่องจากปัจจัยด้านสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัญหาท่อนำไข่หรือภาวะฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ก็อาจส่งผลต่อการมีลูกได้
การตรวจ AMH ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คุณมีข้อมูลไว้ตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวมีลูกในอนาคต การพิจารณาเก็บไข่ไว้ล่วงหน้า หรือเพื่อความสบายใจ ยิ่งตรวจเร็ว ก็ยิ่งรู้และสามารถวางแผนได้เร็วขึ้นเพื่อครอบครัวในอนาคต
แพ็กเกจพิเศษสำหรับผู้ใช้งานแอป Mali ที่ Beyond IVF
แพ็กเกจตรวจภาวะรังไข่เสื่อม
แพ็กเกจตรวจภาวะเจริญพันธุ์สำหรับคู่รัก

ยังไม่แน่ใจว่าควรตรวจภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่?
เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของ Beyond IVF แล้วจองการตรวจได้เลยวันนี้ 👉https://bit.ly/malixBeyondIVF